รีเซต

รวมอาการ #ท้องทิพย์ ท้องที่ไม่ได้ท้องจริง

รวมอาการ #ท้องทิพย์ ท้องที่ไม่ได้ท้องจริง
Ingonn
23 พฤษภาคม 2564 ( 14:06 )
537

จากกรณีเรื่องท้องอลเวง ของน.ส.กรกนก เพิ่มหิรัญ ภรรยาและนายเกรียงไกร สุภีทรัพย์ สามี ออกมาขอโทษสังคมหลังกุเรื่อง #ท้องทิพย์ อ้างว่าท้องลูกแฝดชายหญิงแต่ไม่ได้ตั้งท้องจริง เพราะภรรยาเคยท้องแล้วแต่แท้งลูกไป จนกลัวสามีไม่รักเหมือนเดิม จนโกหกเป็นเรื่องราวใหญ่โตและเป็นที่ฮือฮาหลังไปออกรายการโหนกระแส ทำให้ 2 โรงพยาบาลเสียชื่อเสียงหนัก เตรียมแถลงข่าวขอโทษในวันที่ 24 พ.ค.นี้ ส่วนแพทย์ที่ถูกกล่าวหาเตรียมดำเนินคดีแจ้งความเท็จ

 

 

วันนี้ TrueID จึงอยากชวนคุณผู้หญิงทุกคนมาสำรวจร่างกายตัวเองให้พร้อมก่อนเกิดอาการท้องทิพย์ ท้องที่ไม่ได้ท้องโดยไม่รู้ตัว

 

 


ท้องทิพย์ คืออะไร


ท้องทิพย์ คือ การที่คุณแม่บางคนคิดว่าตัวเองตั้งครรภ์ พอไปหาหมอตรวจเข้าจริงๆ พบว่าไม่เกิดการตั้งครรภ์ ซึ่งเรียกอาการเหล่านี้ว่า โรคท้องลมหรือท้องหลอก สามารถเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติ

 

 

อาการโรคท้องลมหรือท้องหลอก


เกิดขึ้นเมื่อคุณผู้หญิงคิดว่าตัวเองตั้งครรภ์ มีอาการคล้ายคนแพ้ท้อง เป็นอาการคลื่นไส้อาเจียน เต้านมคัดตึง ประจำเดือนขาดหาย หรือแม้แต่ท้องขยายโตขึ้น แต่เมื่อไปฝากครรภ์ ภายหลังการตรวจแพทย์กลับแจ้งว่ามีการตั้งครรภ์จริง แต่ไม่มีตัวเด็ก หรือที่เรียกว่า ภาวะไข่ฝ่อ (Blighted ovum) หรือท้องลม จัดเป็นความผิดปกติของการตั้งครรภ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้การตั้งครรภ์ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนถึงครบกำหนดคลอด ทารกไม่เจริญเติบโตต่อ คุณผู้หญิงบางรายไม่แสดงตัวเด็กให้เห็นเลย ในขณะที่บางรายเห็นตัวเด็ก แต่ถ้าตรวจซ้ำจะเห็นตัวเด็กเล็กลงและเสียชีวิตค้างในถุงน้ำคร่ำ คุณแม่ที่มีภาวะนี้ส่วนมากจะมีเลือดออกและแท้งออกมาในที่สุด แต่บางรายก็ค้างอยู่นานถ้าไม่ตรวจก็อาจจะไม่รู้ 

 

 

สาเหตุโรคท้องลมและโรคท้องหลอก


สาเหตุที่พบบ่อยมาจาก ไข่หรืออสุจิที่มาผสมกันไม่แข็งแรงพอ หรือมีคุณภาพไม่ดีพอทำให้ไม่สามารถพัฒนาการต่อไปได้ นอกจากนั้นฮอร์โมน อาการทางจิต ร่วมกันส่งผลต่อร่างกายและอารมณ์ทำให้ผู้หญิงบางคนคิดว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ ซึ่งฮอร์โมนเป็นตัวกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงร่างกายให้ดูคล้ายแม่ตั้งครรภ์มากขึ้น

 

ส่วนสาเหตุที่ท้องโตขึ้นเป็นเพราะรับประทานอาหารมาก น้ำหนักเพิ่มขึ้น มีแก๊สสะสมในลำไส้ ความเครียดในสมองส่วนที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนการตั้งครรภ์ก็มีส่วนเช่นกัน
          
            

 


วิธีการรักษา


ตรวจสอบการตั้งครรภ์ โดยทดสอบทางเลือดและปัสสาวะ รวมถึงการตรวจภายในและตรวจอัลตราซาวด์เพื่อยืนยัน ซึ่งการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อพิสูจน์ว่าไม่มีเสียงหัวใจเต้นหรือตัวของทารก จะเป็นการยืนยันได้อย่างชัดเจนและมั่นใจว่าไม่มีเด็กอยู่ในท้องจริงๆ

 

หากเกิดภาวะท้องลมแล้ว แพทย์จะต้องขูดมดลูกเอาถุงน้ำคร่ำที่ผิดปกตินี้ออกให้หมด และให้คุณแม่รักษาตัวในโรงพยาบาลจนกว่าอาการจะดีขึ้น


ซึ่งยังไม่มียาหรือวิธีการรักษาการที่จะป้องกันภาวะนี้ แต่วิธีที่ดีที่สุดคือการดูแลรักษาตัวเอง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเหมาะสม ดูแลสภาพจิตใจไม่ให้เกิดความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ 

 

 

 

ขณะเดียวกันหากคุณผู้หญิงเกิดอาการตั้งครรภ์จริง จะมีอาการที่ส่งผลต่อร่างกายที่เปลี่ยนไป โดยผู้หญิงแต่ละคนอาจมีอาการคนท้องแตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะคาดเดาได้หลังจากประจำเดือนขาดไป รวมถึงการสังเกตอาการเหล่านี้ที่อาจเกิดขึ้นตามมา

 

 

 

สัญญาณเบื้องต้นที่บอกว่าตั้งครรภ์จริง

 

1.มีความรู้สึกไวต่อกลิ่นต่าง ๆ - หญิงที่เพิ่งตั้งครรภ์จะมีความไวต่อการรับกลิ่น โดยเฉพาะกลิ่นของอาหาร ซึ่งคาดว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ ทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อยากอาเจียนได้ง่ายเมื่อได้กลิ่นต่าง ๆ มากระตุ้น

 


2.คลื่นไส้ - เป็นอาการที่พบได้บ่อย บางครั้งอาจรู้สึกอยากอาเจียนร่วมด้วย แต่ในบางรายก็อาจไม่พบอาการนี้ในช่วงแรกจนกระทั่งเข้าสู่การตั้งครรภ์ในเดือนแรกหรือเดือนที่ 2 บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ได้ตั้งแต่ช่วง 2-3 สัปดาห์แรก อาการคลื่นไส้นี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดวัน

 


3.ท้องอืด ท้องเฟ้อ - การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในขณะตั้งครรภ์ช่วงแรกอาจส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยขึ้นได้คล้าย ๆ กับช่วงก่อนประจำเดือนมา ช่วงนี้บางคนอาจรู้สึกเสื้อผ้าแน่นมากขึ้น

 


4.เจ็บหน้าอก - ผู้หญิงที่เริ่มตั้งครรภ์อาจมีอาการเจ็บหน้าอก หน้าอกมีการขยายขึ้นคล้ายกับในช่วงประจำเดือนมา เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงการตั้งครรภ์

 


5.ปัสสาวะบ่อย - การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกาย ทำให้อัตราการไหลของเลือดเพิ่มขึ้นและไหลผ่านไปยังไตมากขึ้นเช่นกัน กระเพาะปัสสาวะจึงรับน้ำมามากตามไปด้วย ผู้หญิงตั้งครรภ์จึงรู้สึกอยากเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าปกติ สาเหตุนี้จะต่างกับการปัสสาวะบ่อยในระยะหลังซึ่งมาจากขนาดมดลูกที่ใหญ่ขึ้นแล้วไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ

 


6.เพลียและเหนื่อยง่าย - สาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้ผู้หญิงหลายคนจะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หมดเรี่ยวแรงน่าจะมาจากระดับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนอนมีระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงเกิดอาการแพ้ท้อง พักผ่อนน้อย ลุกขึ้นมาปัสสาวะกลางดึกบ่อย คนตั้งครรภ์จึงอ่อนเพลียได้ง่าย

 


7.อารมณ์แปรปรวนง่าย - ในช่วงการตั้งครรภ์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายที่มีผลต่อสารสื่อประสาทในสมองต่อการกระตุ้นจากสิ่งต่าง ๆ จึงทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย เช่น อารมณ์ดี เสียใจ หดหู่ กังวล ซึ่งการแสดงออกทางอารมณ์ในแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป บางคนก็ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ ในขณะที่บางคนที่เคยมีประสบการณ์การตั้งครรภ์อาจรับมือกับปัญหานี้ได้ดีกว่า

 

 


นอกจากนั้นยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่คุณผู้หญิงต้องเฝ้าระวังคือ การท้องนอกมดลูก เป็นการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติอีกรูปแบบที่ควรเฝ้าระวัง

 

 

 

การท้องนอกมดลูก 


เป็นการตั้งครรภ์ที่ตัวอ่อนไม่ได้ฝังตัวอยู่ในโพรงมดลูก แต่ไปฝังตัวในตำแหน่งที่ผิดปกตินอกโพรงมดลูก พอมีการเจริญเติบโตขยายขนาดของตัวอ่อน อวัยวะไม่สามารถขยายตัวรองรับขนาดของตัวอ่อนที่ใหญ่ขึ้นได้ ส่วนมากพบที่ท่อนำไข่อาการมักเกิดหลังจากที่ตั้งครรภ์ประมาณ 7 สัปดาห์ โดยปกติแล้วรังไข่จะผลิตไข่ และปล่อยให้ไข่เดินทางผ่านท่อนำไข่ จากนั้นก็ปฏิสนธิกับอสุจิ และเคลื่อนตัวมาที่มดลูก แต่กรณีของการท้องนอกมดลูก คือ ไข่ได้รับการปฏิสนธิแต่ไม่เคลื่อนลงมาฝังตัวที่มดลูกเลยค้างอยู่ที่บริเวณท่อนำไข่ 

 

 

อาการของการท้องนอกมดลูก

 

  • ปวดท้องเฉียบพลัน

 

  • มีเลือดออกที่อวัยวะเพศหรือทางช่องคลอด

 

  • เวียนศีรษะ

 

  • ความดันต่ำ

 


ในภาวะท้องนอกมดลูกระยะแรกอาจไม่พบอาการใดๆ เมื่อการตั้งครรภ์ดำเนินการต่อไป อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ อาการเจ็บที่ท้องหรือท้องน้อย ซึ่งมักพบในผู้ป่วยเกือบทุกคน ในกรณีที่มีเลือดออกในช่องท้องจำนวนมากอาจระคายเคืองต่อกระบังลม ทำให้มีการปวดร้าวไปที่หัวไหล่ได้ ผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม ซึ่งมักพบในระยะที่มีการแตกของท่อนำไข่แล้ว อาการแสดงอาจพบได้ตั้งแต่ตรวจไม่พบอะไร จนถึงผู้ป่วยมาด้วยภาวะช็อกจากการเสียเลือด

 



วิธีการรักษา


การท้องนอกมดลูกสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องอาศัยการผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและอายุครรภ์ของแต่ละคน 

 

 

ผู้หญิงที่ท้องนอกมดลูกมาก่อนก็สามารถมีลูกที่แข็งแรงได้ในอนาคตเหมือนคนอื่นทั่วไปแม้ว่าจะเหลือท่อนำไข่ข้างเดียวก็ตาม หากสาเหตุที่คุณท้องนอกมดลูกเกิดจากความเจ็บป่วยหรือการติดเชื้อแล้วแพทย์ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้

 

 

ดังนั้นหากคิดว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์นอกมดลูกคุณควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที หากปล่อยรอไว้จนกระทั้งอวัยวะภายในมีการฉีกขาดอาจมีอันตรายถึงชีวิต แพทย์ต้องใช้การผ่าตัดฉุกเฉินเพื่อรักษาอาการท้องนอกมดลูก

 

 

 

 

ข้อมูลจาก โรงพยาบาลเปาโล , ศิริราชพยาบาล , huggies

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง