รีเซต

สหรัฐฯ มุ่งศึกษาเพื่อป้องกันและรักษา 'อาการป่วยระยะยาว' จากเชื้อโควิด-19

สหรัฐฯ  มุ่งศึกษาเพื่อป้องกันและรักษา 'อาการป่วยระยะยาว' จากเชื้อโควิด-19
Xinhua
25 กุมภาพันธ์ 2564 ( 13:45 )
59
สหรัฐฯ  มุ่งศึกษาเพื่อป้องกันและรักษา 'อาการป่วยระยะยาว' จากเชื้อโควิด-19

วอชิงตัน, 25 ก.พ. (ซินหัว) -- สหรัฐฯ ได้ริเริ่มโครงการใหม่เพื่อศึกษาผลกระทบระยะยาวของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) และวิธีการป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคดังกล่าว ที่ยังคงไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่แม้ติดเชื้อมานานแล้ว

 

สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NIH) ประกาศโครงการใหม่นี้ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (22 ก.พ.) โดยมุ่งศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่เชื้อไวรัสดังกล่าวอาจนำไปสู่การระบาดเป็นวงกว้างและการมีอาการป่วยต่างๆ เป็นระยะเวลานาน พร้อมทั้งมุ่งพัฒนาวิธีการรักษาหรือป้องกันภาวะเหล่านี้มีผู้ป่วยจำนวนมากที่หายจากอาการป่วยระยะเริ่มแรกของโรคโควิด-19 แล้ว แต่ยังคงไม่หายจากอาการร่วมต่างๆ ของโรคร้ายนี้สถาบันฯ ระบุว่า "อาการระยะยาวจากเชื้อโควิด-19" หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "ลองโควิด" (Long COVID) อาจรวมถึงความเหนื่อยล้า การหายใจถี่ ภาวะสมองล้า ปัญหาการนอนหลับ การมีไข้ อาการของระบบทางเดินอาหาร ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า ซึ่งอาจกินเวลานานหลายเดือน และอาจมีอาการตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงก่อให้เกิดความเสียหายในผู้ป่วยบางราย จะมีอาการใหม่ๆ เกิดขึ้นหลังจากติดเชื้อหรือหลังแสดงอาการป่วยฟรานซิส คอลลินส์ ผู้อำนวยการสถาบันฯ กล่าว "ขณะที่เรื่องนี้ยังอยู่ระหว่างสรุปผล เราสามารถเรียกอาการเหล่านี้รวมๆ ว่าเป็นผลสืบเนื่องภายหลังโดยฉับพลันของการติดเชื้อไวรัสฯ (Post-Acute Sequelae of SARS-CoV-2 infection)"เขากล่าว "เรายังไม่ทราบขอบเขตของปัญหานี้ แต่เมื่อพิจารณาจากจำนวนคนทุกวัยที่เคยติดเชื้อหรือมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 แล้ว คาดว่าผลกระทบทางสาธารณสุขนั้นอาจจะมีมาก"การศึกษาใหม่นี้มุ่งหาคำตอบหลายประการ เช่น จำนวนผู้ที่ยังไม่หายจากอาการต่างๆ ของโรคโควิด-19 หลังจากติดเชื้อไวรัสฯ แบบเฉียบพลัน, สาเหตุทางชีววิทยาที่อยู่เบื้องหลังอาการที่ยืดเยื้อเหล่านี้, สาเหตุที่บางคนเสี่ยงต่อการเกิดอาการเหล่านี้มากกว่าคนอื่น และคำถามที่ว่าการติดเชื้อไวรัสฯ กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะอื่นๆ หรือไม่ผลการศึกษาระดับโลกขนานที่สุดเกี่ยวกับการเกิด "อาการระยะยาวจากเชื้อโควิด-19" (Long COVID syndrome) ซึ่งเผยแพร่ในเดือนมกราคมแสดงให้เห็นว่า เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ที่เรียกตัวเองว่า "ลอง ฮอว์เลอร์ (long-hauler)" หรือผู้ที่ประสบกับอาการปริศนาต่างๆ หลังได้รับเชื้อไวรัสฯ กว่า 3,700 รายใน 56 ประเทศ ไม่สามารถทำงานแบบเต็มเวลาได้ อยู่นานถึง 6 เดือน หลังป่วยโควิด-19 และเกิดอาการต่างๆ เป็นเวลายาวนานทั้งนี้ มีผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มนี้เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ดูเหมือนว่าจะฟื้นตัวจากอาการป่วยระยะสั้นของลองโควิดแล้ว อย่างไรก็ดี ยังคงต้องดูในระยะยาวว่าพวกเขาฟื้นตัวเต็มที่แล้วหรือไม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง