'อุโมงค์ส่งน้ำใต้ดิน' 2,000 ปี ภูมิปัญญาคนโบราณในซินเจียง
ถูหลู่ฟาน, 4 ก.ย. (ซินหัว) -- พาไปชมระบบชลประทานใต้ดินที่เมืองถูหลู่ฟานในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีน ที่เรียกว่า "คานัต" (Qanats) โดยมีลักษณะเป็นอุโมงค์ส่งน้ำอยู่ใต้ดิน และขุดรูคล้ายบ่อน้ำไว้ตามผิวดินด้านบน ถือเป็นภูมิปัญญาทางวิศวกรรมอันล้ำค่าของคนสมัยโบราณ และถึงแม้จะถูกแทนที่ด้วยระบบชลประทานสมัยใหม่แล้ว แต่สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ก็ยังนำพาผลประโยชน์มาให้คนในท้องถิ่น ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ระบบคานัตของซินเจียงมีความเก่าแก่ราว 2,000 ปี และเป็นหนึ่งใน 3 โครงการวิศวกรรมขนาดใหญ่ในยุคโบราณของจีน ร่วมกับกำแพงเมืองจีน และคลองต้าอวิ้นเหอ หรือ คลองขุดปักกิ่ง-หางโจวในสมัยราชวงศ์สุยเนื่องจากถูหลู่ฟานมีอากาศร้อนแทบทั้งปีและมีฝนตกน้อย ทางน้ำและบ่อน้ำเช่นนี้จึงช่วยปกป้องแหล่งน้ำจากแสงแดดและความแห้งแล้งได้ดียิ่งขึ้นผลการสำรวจระดับประเทศชี้ว่า ซินเจียงมีทางขนส่งน้ำใต้ดินโบราณเช่นนี้ราว 1,500 สาย โดยกว่า 1,100 สายอยู่ในถูหลู่ฟาน และปัจจุบันมีแหล่งท่องเที่ยว 4 แห่งของเมืองที่ใช้ระบบส่งน้ำใต้ดินเป็นจุดขาย โดยมีการจัดแสดงโครงสร้างและแผนผังของทางส่งน้ำ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย ซึ่งได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวจำนวนมาก