รีเซต

เงินเฟ้อ คืออะไร? ผลกระทบของเงินเฟ้อ ต้องรับมืออย่างไร?

เงินเฟ้อ คืออะไร? ผลกระทบของเงินเฟ้อ ต้องรับมืออย่างไร?
TeaC
17 มิถุนายน 2565 ( 12:16 )
5.6K

ข่าววันนี้ รู้หรือไม่? เงินเฟ้อ คือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับประชาชนอย่างเรา ๆ อย่างมาก และรู้หรือไม่? ในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้คือใครบ้าง วันนี้จะพาไปหาคำตอบ สาเหตุ เงินเฟ้อ ผลทบที่เกิดขึ้น และต้องรับมืออย่างไร? 

เงินเฟ้อ คืออะไร?

โดยปัจจุบันนี้ เงินเฟ้อ (Inflation)  ได้ถูกพูดถึมากขึ้น และมีกระแสข่าวถึงการคาดการณณ์ต่าง ๆ นานา หากเงินเฟ้อสูงขึ้น รวมทั้งสถานการณ์วิกฤตรัสเซียยูเครน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อด้วยเช่นกัน ซึ่งความหมายของอัตราเงินเฟ้อ ที่จะให้ศึกษาและทำความเข้าใจ ประกอบด้วยเรื่องที่ต้องรู้ ดังนี้

  • เงินเฟ้อคืออะไร?
  • สาเหตุ เงินเฟ้อ คืออะไร?
  • เงินเฟ้อ เงินฝืด คืออะไร? ต่างกันอย่างไร?
  • ผลกระทบจากเงินเฟ้อ ที่ต้องรับมือ

 

เงินเฟ้อคืออะไร?


สำหรับ เงินเฟ้อในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องดังกล่าวมีอยู่ 2 แห่งด้วยกัน นั่นคือ ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงพาณิชย์ เพื่อดำเนินการตรึงภาวะเงินเฟ้อ ดูแลราคาสินค้าและบริการ และออกนโยบายเพื่อป้องกันราคาสินค้าที่สูงขึ้น โดยแบ่งการดูแลดังนี้


กระทรวงพาณิชย์ ดูแลราคาสินค้าและบริการไม่ให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาสหรือเอาเปรียบผู้บริโภค หรือตรึงราคาไว้ในช่วงที่สินค้าขาดแคลนระยะสั้น ยังทำหน้าที่ติดตามรวบรวมข้อมูลราคาสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคซื้อเป็นประจำทุกวันจากตลาดและแหล่งจำหน่ายต่าง ๆ ทั่วประเทศ นำมาคำนวณจัดทำเป็นดัชนีที่เรียกว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบภาวะเงินเฟ้อสามารถวัดได้จากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีดังกล่าว ซึ่งเรียกตัวชี้วัดนี้ว่า อัตราเงินเฟ้อ


ขณะที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีหน้าที่ดำเนินนโยบายการเงินผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำและไม่ผันผวน ซึ่งเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว และความกินดีอยู่ดีของประชาชน

 

สาเหตุ เงินเฟ้อ คืออะไร?

  1. ประชาชนต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น เรียกว่า Demand – Pull Inflation ประกอบกับสินค้าและบริการนั้น ๆ ในตลาดมีไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ขายปรับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น

  2. ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น เรียกว่า Cost – Push Inflation กล่าวคือ หากผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้จะทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้นด้วย

 

เงินเฟ้อ เงินฝืด คืออะไร? ต่างกันอย่างไร?

ทั้งนี้ เมื่อรู้ความหมายของเงินเฟ้อแล้ว ตรงกันข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืด เกิดขึ้นเมื่อระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุหลายประการ เช่น ความต้องการซื้อสินค้าและบริการของประชาชนลดลง หรือ ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ มีไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งอาจทำให้ราคาสินค้าปรับลดลง ผู้ผลิตก็อาจไม่ต้องการผลิตสินค้าและบริการในปริมาณเท่าเดิม ทำให้ลดกำลังการผลิตลง และส่งผลให้เศรษฐกิจซบเซาในที่สุด


จะเห็นได้ว่า ทั้งภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด เกิดจากการเคลื่อนไหวขึ้นลงของเศรษฐกิจตามวัฏจักร แต่หากมีความรุนแรงและยืดเยื้อ ก็ล้วนส่งผลเสียต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและความกินดีอยู่ดีของประชาชนด้วยกันทั้งสิ้น

 

ผลกระทบจากเงินเฟ้อ ที่ต้องรับมือ

ทั้งนี้ ภาวะเงินเฟ้อ ไม่ได้ส่งผลกระทบหรือมีความเกี่ยวข้องกับตัวเราเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบหลากหลายด้าน ที่ต้องรับมือ

  1. ผลต่อประชาชนทั่วไป
  2. ผลต่อผู้ประกอบการ นักธุรกิจ
  3. ผลต่อประเทศ

 

1. เงินเฟ้อกับผลกระทบผลต่อประชาชนทั่วไป

  • รายจ่ายหรือภาระค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้ประชาชนมีอำนาจซื้อน้อยลง มีความสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง และอาจท าให้รายได้ที่มีหรือเงินที่หามาได้ไม่ เพียงพอกับการยังชีพ


  • อัตราเงินเฟ้อยิ่งสูง จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง จะมีค่าลดลงไป เนื่องจากดอกเบี้ยที่เราได้รับเอาไปใช้ซื้อของได้น้อยลง


ยกตัวอย่าง

  • เมื่อก่อนซื้อก๋วยเตี๋ยว โดยใช้เงิน 40 บาท ได้ก๋วยเตี๋ยว 2 ชาม
  • แต่ปัจจุบัน เราใช้เงิน 40 บาท ต่ได้ก๋วยเตี๋ยวแค่ 1 ชาม

2. เงินเฟ้อกับผลกระทบผลต่อผู้ประกอบการ นักธุรกิจ

  • เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้น ยอดขายก็จะลดลง ในขณะเดียวกัน ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้นด้วย ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจบางรายอาจตัดสินใจชะลอการผลิต ลดการลงทุนและการจ้างงาน ทำให้คนตกงานมากขึ้น

  • ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศลดลง เนื่องจากราคาสินค้าส่งออกของเราจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาสินค้าออกของประเทศอื่น ๆ


3. เงินเฟ้อกับผลกระทบต่อประเทศ

  • ในภาวะที่ประชาชนซื้อของน้อยลง ธุรกิจไม่สามารถขายของได้ การลงทุนเพื่อผลิตสินค้าก็จะชะลอออกไป ทำให้การพัฒนาศักยภาพการผลิตของประเทศในระยะยาวอาจชะลอลงตามไปด้วย


  • ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงจนทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบนาน ๆ ประชาชนก็จะหันไปเก็งก าไรในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง สะสมปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆ (asset price bubble) และความไม่สมดุลในภาคการเงินของประเทศได้ เช่น หนี้ครัวเรือน

 

4. วิธีการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ 

สำหรับวิธีการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงพาณิชย์ ธปท. จะใช้เครื่องมือนโยบายการเงิน ดูแลคาดการเงินเฟ้อ โดยมีคณะกรรมการนโยบายการเงิน ดูแลรักษาระดับของเงินเฟ้อผ่านเครื่องมือ 3 ประเภท ได้แก่

  1. การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงิน (Reserve Requirement)
  2. การทำธุรกรรมปรับสภาพคล่องผ่านการตลาดการเงิน (Open Market Operations)
  3. หน้าต่างปรับสภาพคล่อง ณ สิ้นวัน (Standing Facilities)

 

อย่างไรก็ตาม ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เงินเฟ้เพิ่มขึ้น 5.28% สูงสุดในรอบ 13 ปี ทำให้สินค้า 260 รายการมีการปรับราคาขึ้น ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นในเดือนมีนาคม มีการคาดการณ์ว่า เงินเฟ้อในปี 2565 ยังคงมีความเสี่ยง สิ่งที่ต้องรับมือคือการจับจ่ายอย่างประหยัด และการวางแผนการใช้จ่ายอย่างรัดกุม

 

ข้อมูล : ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง