รีเซต

วัดเอี่ยมวรนุช โล่ง! มติ EIA ยืนยันไม่มีการ "เวนคืนที่ดิน" รื้อวิหารหลวงปู่ทวด สร้างรถไฟฟ้า

วัดเอี่ยมวรนุช โล่ง! มติ EIA ยืนยันไม่มีการ "เวนคืนที่ดิน" รื้อวิหารหลวงปู่ทวด สร้างรถไฟฟ้า
TNN ช่อง16
5 มีนาคม 2564 ( 05:07 )
180
วัดเอี่ยมวรนุช โล่ง! มติ EIA ยืนยันไม่มีการ "เวนคืนที่ดิน" รื้อวิหารหลวงปู่ทวด สร้างรถไฟฟ้า

วันนี้ (5 มี.ค.64) มติรายงานการประเมิณผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ดังกล่าว ที่ไม่มีการเวนคืนที่วัด หมายความว่า ทั้งวิหารหลวงปู่ทวด สถานโบราณสำคัญ จะไม่ถูกทุบทิ้งไป ทุกอย่างจะยังอยู่เหมือนเดิม แต่หากจะใช้พื้นที่ในวัด ก็จะใช้เพื่อเป็นจุดวางพักสิ่งของก่อสร้างทางขึ้นลง เมื่อเสร็จ ก็คืนที่ให้วัด


พระมหาสร้อยสิทธิเมธี เลขานุการวัดเอี่ยมวรนุช เล่าถึงที่มาประเด็นดรามารื้อวัดในโลกออนไลน์ว่า เมื่อปี 2556 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้มีการพูดคุยปากเปล่ากับเจ้าอาวาส โดยไม่มีลายลักษณ์อักษร ว่า จะขอใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของวัดเพื่อทำการก่อสร้างทางขึ้นลงสถานีรถไฟฟ้าบางขุนพรหม ซึ่งเวลานั้น เจ้าอาวาสอนุญาตให้ใช้พื้นที่ ประตูทาวเข้าวัด และศาลา 2 หลัง บริเวณหน้าโบสถ์ เมื่อทำเสร็จ ก็ให้ รฟม.คืนพื้นที่ให้วัด

จากนั้นเรื่องก็เงียบไป จนกระทั่ง กลางเดือนกุมภาพันธ์ ปีนี้ รฟม.เริ่มติดต่อมา และส่งเอกสารมาต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพื่อขอปักหมุดพื้นที่ใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งนอกจากจะมีพื้นที่เคยคุยกันแล้ว ยังลุกลามไปถึง เจดีย์ขาว อายุเกือบร้อยปี และวิหารหลวงปู่ทวด รวมทั้งพื้นที่ผลประโยชน์ของวัด ซึ่งไม่ตรงตามข้อตกลงเคยพูดไว้เมื่อปี 56 ทำให้วัดไม่สบายใจ


พระมหาสร้อยสิทธิเมธี เลขานุการของวัด กล่าวว่า รฟม.ขอใช้พื้นที่บริเวณวัด หน้าวัด เพือตั้งสายงาน โดยมีศาลา 2 หลัง ที่อยู่บริเวณหน้าโบสถ์ ซึ่งเจ้าอาวาสอนุเคราะห์ให้ใช้พื้นที่เพื่อลดความเดือดร้านของญาติโยมรอบข้าง เมื่อใช้เสร็จก็เวียนกลับมาเหมือนเดิมตามที่มีอยู่


ล่าสุด นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เข้ามาคอมเม้นท์ ชี้แจงในเพจเฟซบุ๊กวัดแล้วว่า ได้ตรวจสอบกับทาง รฟม.แล้ว และพบว่าพื้นที่ก่อสร้างจะไม่กระทบวิหารหลวงปู่ทวด พอวัดทราบเรื่อง ต่างรู้สึกโล่งใจที่วิหาร จะไม่ถูกทุบทิ้ง เพราะหากจะใช้พื้นที่จริงๆ ทางวีดสามารถให้ได้เฉพาะตามข้อตกลงตอนแรก คือ ประตูทาวเข้าวัด และศาลา 2 หลัง บริเวณหน้าโบสถ์


ขณะที่ พระมหาสร้อยสิทธิเมธี ระบุว่า ดีใจที่มีมติเดิมเมื่อปี 2556 ซึ่งทางเจ้าอาวาสได้อนุญาตให้ใช้ เพียงแต่หลังมีการดำเนินการแล้วเสร็จก็ขอให้คืนพื้นที่ให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม


นอกจากนี้ ยังมีการเปิดเผยรายงานการประเมิณผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ จากนายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ในรายงานดังกล่าว ที่ผ่านมติ ครม.เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562 พบว่า ทางขึ้นลงสถานีบางขุนพรหม ที่มี 4 ทาง คือ หมายเลข 1 จะอยู่บริเวณพื้นที่หน้าวัดเอี่ยมวรนุช ใกล้สี่แยกวิสุทธิกษัตริย์ หมายเลข  2 บริเวณพื้นที่ปั๊มปตท.ตรงข้ามวัดสามพระยา หมายเลข 3 บริเวณพื้นที่โรงพิมพ์ศรีหงส์ และ หมายเลข 4 บริเวณพื้นที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ ซึ่งไม่มีการใช้พื้นที่วัดเลย นั่นเท่ากับว่า รฟม. จะไม่เวนคืนพื้นที่วัดเอี่ยมวรนุช


อย่างไรก็ตาม เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า จะไม่มีการเวนคืนที่วัด แต่จะมีเพียงการขอรื้อพื้นที่บางส่วนเพื่อไว้วางของวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง และพอสร้างเสร็จ จะมีกานก่อสร้างพื้นที่เดิมคืนให้วัด ซึ่งจุดที่วัดจะอนญาตให้รื้อถอนได้ คือประตูทางเข้า และศาลสองหลังนี้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง