วันสุขภาพจิตโลก (World Mental Health Day) ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่ได้มีเพียงสิทธิประโยชน์สุขภาพทางกายเท่านั้น แต่ได้ตระหนักถึงการดูแลที่ต้องครอบคลุมถึงสุขภาพจิตของประชาชนด้วย โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคจิตเวช เพื่อดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้เข้าถึงการรักษาและได้รับการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงสนับสนุนการดำเนินการเชิงรุกเพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังที่มีสิทธิบัตรทอง 30 บาท ให้ได้รับบริการรักษา ติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องในชุมชน เพื่อลดอาการกำเริบหรือกลับมาเป็นซ้ำ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยร่วมกับกรมสุขภาพจิต และภาคีเครือข่าย
ประวัติวันสุขภาพจิตโลก
วันสุขภาพจิตโลกมีการเฉลิมฉลองเป็นครั้งแรกในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ตามความคิดริเริ่มของรองเลขาธิการริชาร์ด ฮันเตอร์ จนถึงปี 1994 วันนั้นไม่มีหัวข้อเฉพาะอื่นใดนอกจากการส่งเสริมการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตทั่วไปและการให้ความรู้แก่สาธารณชน ในปี 1994 วันสุขภาพจิตโลกได้รับการเฉลิมฉลองด้วยหัวข้อเป็นครั้งแรกตามข้อเสนอแนะของเลขาธิการยูจีน โบรดี้ในขณะนั้น หัวข้อ "การพัฒนาคุณภาพการบริการสุขภาพจิตทั่วโลก" วันสุขภาพจิตโลกได้รับการสนับสนุนจาก WHO ผ่านการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตโดยใช้ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรภาคประชาสังคมทั่วโลก องค์การอนามัยโลกยังสนับสนุนด้วยการพัฒนาเอกสารทางเทคนิคและการสื่อสาร
ทุกวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็น “วันสุขภาพจิตโลก” มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้ทั่วโลกร่วมตระหนักต่อปัญหาสุขภาพจิตและในปี 2565 เป็นการรณรงค์ภายใต้คำขวัญ "วัดใจ เติมพลัง สังคมมีสุข" สปสช. ร่วมรณรงค์ดูแลสุขภาพจิตคนไทย สนับสนุนให้บริการ “สายด่วนสุขภาพจิต 1323” สิทธิประโยชน์ใหม่สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพิ่มช่องทางปรึกษาคลายปัญหาสุขภาพจิต ลดความเครียด และภาวะซึมเศร้า
ทั้งนี้ “สายด่วนสุขภาพจิต 1323” ให้บริการโดยสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิตซึ่งเป็นหน่วยบริการในระบบบัตรทองที่มีศักยภาพให้บริการคำปรึกษาด้านสุขภาพจิตทางโทรศัพท์ตามมาตรฐานที่กรมสุขภาพจิตกำหนด ซึ่งจะให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตทางโทรศัพท์ตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับผู้มีปัญหาสุขภาพจิต มีความเครียด อยู่ในภาวะซึมเศร้า หรือมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อทำร้ายตัวเอง หรือผู้อื่น ครอบคลุมทั้งการประเมินอาการและความรุนแรง การให้คำปรึกษา การประสานส่งต่อรักษา และติดตามอาการหลังให้บริการ โดยจะมีนักจิตวิทยาหรือผู้ที่ได้ผ่านการฝึกอบรมตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพตามมาตรฐานการให้บริการของกรมสุขภาพจิต เป็นผู้ให้คำปรึกษา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- สายด่วน สปสช. 1330
- ช่องทางออนไลน์