รีเซต

โควิด-19 : ศบค. เผยกิจการ-กิจกรรมที่อาจปลดล็อกระลอกสองหลัง 15 พ.ค.

โควิด-19 : ศบค. เผยกิจการ-กิจกรรมที่อาจปลดล็อกระลอกสองหลัง 15 พ.ค.
บีบีซี ไทย
11 พฤษภาคม 2563 ( 12:55 )
264

 

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยประเภทกิจการและกิจกรรมใน 3 ประเภท ที่อาจได้รับการปลดล็อกให้เปิดทำการได้ในช่วงครึ่งหลังของเดือน พ.ค. นี้ หมอทวีศิลป์ ระบุมีการเปลี่ยนแปลงได้ ให้รอฟังข่าวอย่างเป็นทางการในที่ประชุม ศบค. วันที่ 15 พ.ค.

 

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงรายละเอียดกรณีดังกล่าวในวันนี้ (11 พ.ค.) เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เตรียมพร้อม แต่ย้ำว่าทั้งหมดยังต้องรอผลสรุปอย่างเป็นทางการอีกครั้งจากที่ประชุม ศบค.

 

"เราจะดึงเอาความเสี่ยงที่ต่ำก่อนเข้ามา แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าของกิจการควรมีเวลาในพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมด ต้องไปแจกแจงและทำให้มั่นใจว่าลูกค้ามารับบริการจากท่านแล้ว ไม่ติดโรคแน่นอน และท่านเองก็ไม่ติดโรคจากผู้ป่วยที่แฝงมาในลูกค้าด้วย" โฆษก ศบค. กล่าว

 

ส่วนสถานการณ์ประจำวันของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 6 ราย ทำให้ประเทศไทยมีผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้ว 3,015 ราย ขณะที่ในวันนี้ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม รวมยอดผู้เสียชีวิตสะสม 56 ราย

 

 

เตรียมปลดล็อก

สำหรับร่างกลุ่มกิจกรรมและกิจการที่เตรียมปลดล็อกหลังวันที่ 15 พ.ค. มีดังนี้

 

1. กิจการด้านเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตประจำวัน

  • การจำหน่ายอาหารหรือเครื่อองดื่มในภัตตาคาร สวนอาหาร ศูนย์อาาหาร และร้านอาหาร รวมถึงร้านเครื่องดื่ม ขนมหวาน ไอศกรีมในอาคารสำนักงาน
  • ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าคอมมูนิตี้มอลล์ ยกเว้นโรงภาพยนตร์ ฟิตเนส ลานโบว์ลิ่ง สวนสนุก สวนน้ำ ศูนย์บูชาพระเครื่อง
  • ร้านค้าปลีก ค้าส่งอื่น ๆ
  • ร้านเสริมสวย (ย้อมผม ดัดผม หรือกิจกรรมอื่น ๆ ภายในเวลาบริการไม่เกิน 2 ชั่วโมง และร้านทำเล็บ)

 

2. กิจกรรมด้านการออกกกำลังกาย และการดูแลสุขภาพ

  • สถานเสริมความงาม สถานควบคุมน้ำหนัก
  • สนามกีฬา เฉพาะกีฬากลางแจ้ง และกีฬาที่เล่นเป็นทีมที่ไม่มีผู้ชม
  • สวนดอกไม้ สวนพฤกษศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ แกลลอรี ห้องสมุดสาธารณะ โดยต้องเข้าเป็นรายคน
  • สถานการประกอบการนวดแผนไทย เฉพาะการนวดปลายเท้า

 

3. อื่น ๆ

  • การประชุม ณ สถานที่ภายในและภายนอกองค์กร ลักษณะบรรยายทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ จำกัดจำนวนตามพื้นที่
  • ทีมถ่ายทำโทรทัศน์ โฆษณา ถ่ายแบบ ทำคลิป จำนวนไม่เกิน 5 คน

 

โฆษก ศบค. ยังชี้แจงกรณีแอปพลิเคชั่นของภาครัฐที่เตรียมนำมาใช้ติดตามตัวประชาชนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ซึ่งมีข้อกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวว่า แอปฯ ดังกล่าวคล้ายการเช็คอินทางโซเชียลมีเดีย และเป็นระบบที่ใช้เพื่อติดตามตัวไปรักษาหากพบว่าป่วยติดเชื้อเท่านั้น

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง