รีเซต

ไทรทัน (Triton) ยานใต้น้ำและผิวน้ำอัตโนมัติด้านการทหารลำแรกของโลก

ไทรทัน (Triton) ยานใต้น้ำและผิวน้ำอัตโนมัติด้านการทหารลำแรกของโลก
TNN ช่อง16
20 สิงหาคม 2567 ( 14:59 )
13
ไทรทัน (Triton) ยานใต้น้ำและผิวน้ำอัตโนมัติด้านการทหารลำแรกของโลก

บริษัท โอเชียนแอโร (Ocean Aero) บริษัทเทคโนโลยียานพาหนะทางน้ำในสหรัฐอเมริกาพัฒนาไทรทัน (Triton) ยานใต้น้ำและผิวน้ำอัตโนมัติ (AUSV) ลำแรกและลำเดียวของโลก โดยรองรับการใช้งานในภารกิจอเนกประสงค์หลายรูปแบบ เช่น การป้องกันประเทศ การวิจัย และผลิตพลังงานไฟฟ้านอกชายฝั่ง 


ยานใต้น้ำและผิวน้ำอัตโนมัติ (AUSV) คือ ยานพาหนะอัตโนมัติที่สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งใต้น้ำและบนผิวน้ำ โดยใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์และระบบการควบคุมอัตโนมัติในการนำทางและปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ โดยไม่ต้องมีการควบคุมจากมนุษย์โดยตรง


การออกแบบตัวยานไทรทัน (Triton) มีลักษณะคล้ายกระดานโต้คลื่น ติดตั้งใบเรือขนาดเล็ก น้ำหนักของยาน 350 กิโลกรัม และความยาวของยาน 4.4 เมตร ความสูงนับจากแนวระดับน้ำถึงเสาใบเรือ 3 เมตร รองรับการทำงานกลางทะเลเกินกว่า 14 วัน ดำน้ำสูงสุดได้ 5 วัน


โครงสร้างของใบเรือ ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ผลิตพลังงานไฟฟ้า และพับเก็บได้เมื่อปรับโหมดเป็นการดำน้ำ ความลึกสูงสุดที่ยานสามารถดำดิ่งได้คือ 100 เมตร ความเร็วสูงสุดที่ยานสามารถเคลื่อนที่บนผิวน้ำได้คือ 5 น็อต ความเร็วสูงสุดที่ยานสามารถเคลื่อนที่ใต้น้ำได้คือ 2 น็อต ความกว้างของเรือ 0.8 เมตร แบตเตอรี่กักเก็บพลังงานไฟฟ้า 13.2 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) จัดเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ คือ 740 วัตต์


ไทรทัน (Triton) มีจุดเด่นในการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลกลับมายังศูนย์ควบคุมได้ รวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ไทรทัน สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังมีความสามารถอื่น ๆ เช่น


1. การปล่อยตัวจากเรือกลางทะเล หรือการปล่อยจากชายหาดริมทะเล โดยกระบวนการปล่อยตัวใช้คนเพียงแค่ 1-2 คน ในการช่วยยกตัวเรือ


2. การแล่นเรือได้อัตโนมัติเป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกัน โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์และลมด้วยความเร็วสูงสุด 5 นอต


3. การปรับโหมดเป็นเรือดำน้ำและสามารถดำน้ำได้โดยอัตโนมัตินาน 5 วัน ในแต่ละครั้งด้วยความเร็ว 2 น็อต


4. การสื่อสารบนเครื่องบินประกอบด้วยอิริเดียม, เครือข่ายไร้สาย WiFi, คลื่นวิทยุ 900Mhz และเครือข่ายวิทยุแบบเมชที่ล้ำหน้าที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะได้อีกด้วย


5. การซ่อนตัวจากเรดาร์ และด้วยโครงสร้างที่บางทำให้การมองเห็นไทรทันในมุมตัดขวางทำได้ยากในระยะที่มากกว่า 100 เมตร


6. การใช้งานควบคุมได้ง่ายเชื่อมต่อข้อมูลและทำภารกิจพร้อมกันเป็นกลุ่มขนาดใหญ่


7. ความสามารถในการปรับแต่งเพย์โหลด หรือพื้นที่สำหรับบรรทุกที่รองรับอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบ


สำหรับยานไทรทัน (Triton) นับเป็นผลงานชิ้นโบแดงของบริษัท โอเชียน แอร์โร (Ocean Aero) กระบวนการประกอบและพัฒนาทำในสหรัฐอเมริกา 100% โดยบริษัทมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทางน้ำและมีโครงการอื่น ๆ ของบริษัทที่กำลังพัฒนาและให้บริการอยู่ เช่น ระบบเรดาห์ที่ตรวจจับการรบกวนได้  เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจจับและภัยคุกคามอื่น ๆ



ที่มาของข้อมูล Oceanaero



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง