รีเซต

ไบโอไทย เผย งานวิจัยพบ โกฐจุฬาลัมพา สมุนไพรไทย ยับยั้งไวรัส

ไบโอไทย เผย งานวิจัยพบ โกฐจุฬาลัมพา สมุนไพรไทย ยับยั้งไวรัส
ข่าวสด
1 สิงหาคม 2564 ( 10:21 )
79
ไบโอไทย เผย งานวิจัยพบ โกฐจุฬาลัมพา สมุนไพรไทย ยับยั้งไวรัส

 

ไบโอไทย เผย งานวิจัยสหรัฐ พบ โกฐจุฬาลัมพา สมุนไพรไทย สามารถยับยั้งไวรัสได้ เปิดสรรพคุณ ระบุ ข้อควรระวัง ควรใช้ตามคำแนะนำของหมอ

 

วันที่ 1 ส.ค.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊กแฟนเพจ BIOTHAI โพสต์ข้อความ โดยสรุปว่า คณะนักวิจัย 7 คน นำโดย M S Nai จาก Columbia University และ University of Washington พบ โกฐจุฬาลัมพา สมุนไพรที่หมอพื้นบ้านไทย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียรู้จักดี บรรเทาอาการไวรัสมรณะได้ในห้องปฏิบัติการ

 

สารสกัดรวมในน้ำร้อน และใบแห้งของโกฐจุฬาลัมพา (โดยมีตัวอย่างหนึ่งมีอายุมากกว่า 10 ปี) มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งเชื้อไวรัส ซึ่งรวมทั้งสายพันธ์แอฟริกา และอังกฤษ โดยนักวิจัยเชื่อว่าสารที่มีบทบาทสำคัญในการยับยั้งไวรัสมรณะนี้นอกจากสาร artemisinin และองค์ประกอบแล้วน่าจะมาจาการทำงานของสารอื่นๆในโกฐจุฬาลัมพาด้วย

 

โกฐจุฬาลัมพา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artemisia vulgaris L. จะจัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE ) มีชื่อสามัญว่า Common wormwood และมีชื่อเรียกอื่นว่า พิษนาศน์ พิษนาด (ราชบุรี), โกฐจุฬาลำพา (กรุงเทพฯ), ตอน่า (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), เหี่ย เหี่ยเฮี๊ยะ (จีนแต้จิ๋ว), ไอ้เย่ ไอ้ อ้าย (จีนกลาง) เป็นต้น

 

ในบัญชียาจากสมุนไพรที่มีการใช้ตามองค์ความรู้เดิม ตามประกาศของคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) มีปรากฏการใช้สมุนไพรโกฐจุฬาลัมพาในหลายตำรับ ได้แก่ ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือยาแก้ลม ซึ่งมีปรากฏในตำรับ "ยาหอมเทพจิตร" และตำรับ "ยาหอมนวโกฐ" ที่มีส่วนประกอบของโกฐจุฬาลัมพาอยู่ในพิกัดโกฐทั้งเก้าร่วมกับสมุนไพรชนิด อื่น ๆ อีกในตำรับ

 

โดยมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน และแก้ลมจุกแน่นในท้อง และในยาแก้ไข้ก็มีปรากฏในตำรับ "ยาจันทน์ลีลา" และตำรับ "ยาแก้ไข้ห้าราก" ที่มีส่วนประกอบของโกฐจุฬาลัมพาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ โดยมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู

 

ข้อควรระวัง

ต้นโกฐจุฬาลัมพามีทั้งพันธุ์ดอกสีขาวและดอกสีแดงมีสรรพคุณทางยาเหมือนกัน สามารถนำมาใช้แทนกันได้ นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ดอกสีเหลืองชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artemisia princeps Pamp ด้วย แต่พันธุ์นี้จะมีพิษ ถ้าใช้เกินขนาดก็อาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ การใช้ยา ควรใช้ตามคำแนะนำของหมอพื้นบ้าน และแพทย์แผนไทย

 

คลิกอ่านรายละเอียดต้นฉบับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง