รีเซต

วัคซีนโควิด-19 สะท้อน 'ความเหลื่อมล้ำทางเชื้อชาติ' ในมหานครนิวยอร์ก

วัคซีนโควิด-19 สะท้อน 'ความเหลื่อมล้ำทางเชื้อชาติ' ในมหานครนิวยอร์ก
Xinhua
2 กุมภาพันธ์ 2564 ( 12:21 )
81

นิวยอร์ก, 1 ก.พ. (ซินหัว) -- ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขนครนิวยอร์กของสหรัฐฯ เมื่อเย็นวันอาทิตย์ (31 ม.ค.) ชี้ว่าผู้พำนักอาศัยในนครนิวยอร์กที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) เกือบครึ่งหนึ่งเป็นคนผิวขาว ซึ่งครองสัดส่วนมากกว่า 2 เท่าของชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ในเมือง

 

เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล (WSJ) รายงาน (1 ก.พ.) ว่าชาวมหานครนิวยอร์กหลายแสนคนเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ตั้งแต่เดือนธันวาคม แบ่งเป็นคนผิวขาวร้อยละ 48 คนผิวดำร้อยละ 11 ชาวเอเชียร้อยละ 15 และชาวลาตินอีกร้อยละ 15รายงานระบุว่าข้อมูลการฉีดวัคซีนของนครนิวยอร์กยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากทางการยังไม่ได้บันทึกข้อมูลประชากรที่เข้ารับวัคซีนอีกร้อยละ 40 หรือมากกว่า 263,000 คน เมื่อนับถึงวันอาทิตย์ (31 ม.ค.)"แต่ถึงกระนั้น ยังคงเห็นได้ชัดว่าเชื้อชาติและกลุ่มชาติพันธุ์ใดได้รับวัคซีนมากกว่ากัน ทั้งยังแสดงให้เห็นว่าประชากรกลุ่มเปราะบางอยู่ระหว่างรับวัคซีนแล้วเช่นกัน"ด้านบิล เดอ บลาซิโอ นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก เผยว่าข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ "ปัญหาเชิงลึก" ของความไม่เสมอภาคทางเชื้อชาติและการระบาดใหญ่ หากอิงข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) พบคนผิวดำและชาวลาตินในสหรัฐฯ เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในอัตราสูงกว่าคนผิวขาวถึงสองเท่า"ความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องธรรมดา แต่จำเป็นต้องถูกแก้ไขอย่างจริงจัง" เดอ บลาซิโอ กล่าวขณะเดียวกันหลายรัฐขงอสหรัฐฯ แสดงคำมั่นว่าจะตรวจสอบให้แน่ใจว่าชนกลุ่มน้อยที่ได้รับผลกระทบหนักหน่วงที่สุดจะมีสิทธิเข้าถึงวัคซีนก่อนหรืออย่างเท่าเทียม โดยเมื่อเดือนธันวาคม แอนดรูว์ คัวโม ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก ระบุว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่ของรัฐกำลังเร่งจัดทำแผนการฉีดวัคซีน ซึ่งรวมถึงการร่วมมือกับองค์กรชุมชน เพื่อให้แน่ใจว่าวัคซีนเข้าถึงชุมชนคนผิวสีด้วยทั้งนี้ เดอะซิตี (The City) โครงการติดตามการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในนครนิวยอร์ก รายงานว่านิวยอร์กตรวจพบผู้ป่วยเสียชีวิตรวม 27,138 ราย และผู้ป่วยสะสม 599,377 ราย เมื่อนับถึงบ่ายวันอาทิตย์ (31 ม.ค.)ข้อมูลดังกล่าวถูกรวบรวมจากสำนักงานสุขภาพและสุขภาพจิตแห่งนครนิวยอร์ก สำนักงานผู้ว่าการรัฐ โครงการติดตามโรคโควิด-19 (COVID Tracking Project) และศูนย์วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเชิงระบบ (CSSE) แห่งมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง