รีเซต

ประวัติ วันมูหะมัดนอร์ มะทา เขาคือใคร? นั่งเก้าอี้ ประธานสภา คนที่ 32

ประวัติ วันมูหะมัดนอร์ มะทา เขาคือใคร? นั่งเก้าอี้ ประธานสภา คนที่ 32
TrueID
4 กรกฎาคม 2566 ( 14:50 )
851
ประวัติ วันมูหะมัดนอร์ มะทา เขาคือใคร? นั่งเก้าอี้ ประธานสภา คนที่ 32

ประวัติ วันมูหะมัดนอร์ มะทา เขาคือใคร? หลัง เพื่อไทย เสนอนั่งเก้าอี้ ประธานสภาหลังก่อนหน้านี้ พาไปรู้จัก ประวัติ หมออ๋อง ปดิพัทธ์ สันติภาดา จาก ก้าวไกล กันแล้ว มาดูฝากฝั่ง เพื่อไทย กันบ้าง ส่งใครชิงเก้าอี้สำคัญ

 

ประวัติ วันมูหะมัดนอร์ มะทา 

 

ข่าววันนี้ สำหรับ ประวัติ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หรือวันนอร์ นั้น เขาเกิดที่อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2487 เป็นบุตรของนายเจ๊ะอาแว กับนางแวสะปิเยาะ มะทา และเขายังเป็นพี่คนโตในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 10 คนด้วยกัน คือ

 

  1. วันมูหะมัดนอร์ มะทา นักการเมือง แกนนำกลุ่มวาดะห์
  2. จุฑาทิพย์ มะทา ข้าราชการเกษียณ และที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานอัยการ จังหวัดยะลา
  3. มันโซ มะทา ทำธุรกิจฟาร์มแพะที่ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
  4. จุฑารัตน์ วงศ์พานิช ภริยาสุไลมาน วงศ์พานิช อดีตวุฒิสมาชิก
  5. อนันต์ มะทา รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา
  6. มุขตาร์ มะทา อดีตวุฒิสมาชิกจังหวัดยะลา ปัจจุบันตำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา
  7. ซูการ์โน มะทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา
  8. สูการีย๊ะ ดือราแม ธุรกิจส่วนตัว
  9. สาการียา มะทา เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
  10. มยุรี มะทา ธุรกิจส่วนตัว

 

ประวัติการศึกษา ของวันมูหะมัดนอร์ มะทา

  • จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนบ้านสะเตง จังหวัดยะลา
  • จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา
  • จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร 
  • เข้าศึกษาปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยทุนกระทรวงมหาดไทย
  • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ครุศาสตรมหาบันทิต(บริหารการศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

วัน มูฮัมหมัด นอร์มะทา เขาคือใคร?

 

สำหรับเส้นทางการเมือง นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น

  • ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • รองนายกรัฐมนตรี
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2 สมัย)
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

และเขายังเป็น อดีต ส.ส. 9 สมัย เคยสังกัดในพรรคการเมืองมากมาย คือ

  • พรรคกิจสังคม
  • พรรคประชาธิปัตย์
  • พรรคความหวังใหม่
  • พรรคไทยรักไทย

 

กว่าจะเป็น วันมูหะมัดนอร์ มะทา 

หากย้อนดูประวิตเส้นทางชีวิตของ วันมูหะมัดนอร์ มะทา นั้น เขาเริ่มรับราชการครูและได้รับตำแหน่งเป็นครูใหญ่ โรงเรียนอัตตรกียะห์ อิสลามมียะห์ จังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่อายุเพียง 20 ปีเท่านั้น

 

  • ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 วันนอร์ ได้ย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยครูสงขลา (ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา)
  • ปี พ.ศ. 2518 เป็นอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา (ปัจจุบันมหาวิทยาลัยทักษิณ) และเป็นอาจารย์พิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พร้อมกันด้วย
  • ปี พ.ศ. 2521 ได้รับตำแหน่งรองอธิการบดี วิทยาลัยครูสงขลา

 

 

วันมูหะมัดนอร์ มะทา เข้าสู่วงการเมืองครั้งแรกในสังกัด พรรคกิจสังคม เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและแกนนำ กลุ่มวาดะห์ ไปเข้าสังกัด พรรคประชาธิปัตย์ และต่อมาย้ายไปร่วมก่อตั้งพรรคประชาชน และ พรรคความหวังใหม่ โดยมีตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรค และเป็นผู้นำกลุ่มวาดะห์ แทนนายเด่น โต๊ะมีนาที่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

 

และขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคในเวลาต่อมา ก่อนจะย้ายไปเข้าสังกัด พรรคไทยรักไทย จากการยุบรวมพรรคความหวังใหม่เข้ากับพรรคไทยรักไทย เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 และ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้รับตำแหน่งเป็น รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย

 

ต่อมาวันมูหะมัดนอร์ มะทา ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากคำวินิจฉัยในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 แต่ยังคงมีบทบาทให้คำแนะนำ ส.ส.กลุ่มวาดะห์ ซึ่งย้ายจาก พรรคไทยรักไทย ไปสังกัดพรรคประชาราช ระยะหนึ่ง ก่อนจะย้ายไปสังกัด พรรคมัชฌิมาธิปไตย เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 และย้ายไปสังกัด พรรคพลังประชาชน กระทั่งในปี พ.ศ. 2555 หลังจากพ้นถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง นายวันมูหะหมัดนอร์ ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย

 

ทำไม เพื่อไทย ดัน วันมูหะมัดนอร์ มะทา นั่ง ประธานสภา

 

หลังจากที่เก้าอี้สำคัญ ประธานสภา ประเด็นยืดเยื้อระหว่างสองพรรคการเมืองที่ร่วมกัน จัดตั้งรัฐบาล ทั้งพรรคก้าวไกล และพรรเพื่อไทย ยังสรุปการเจรจาไม่ได้ว่า ให้ใครจะนั่งเก้าอี้ ประธานสภา

 

และชื่อของ นายวันมูหะมัดนอร์ หัวหน้าพรรคและ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ (ปช.) ที่ก๊วนเพื่อไทยเห็นไปในทิศทางเดียวกันที่ จะเสนอชื่อคนกลาง เพื่อเป็นทางออกและได้ข้อยุติของศึกบัลลังก์ ประธานสภา

 

ขณะที่ รายการกรรมกรข่าว คุยนอกจอ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีพรรคเพื่อไทย เตรียมเสนอชื่อชิงเก้าอี้ประธานสภาฯ ว่า

 

 

"ส่วนตัวไม่อยากเป็นตั้งแต่แรก

แม้แต่ตำแหน่งรัฐมนตรี

ก็ไม่อยากเป็น

เผยเป็นมาทุกอย่างแล้ว พอแล้ว

ชี้ทั้ง 2 พรรค มีคนที่เหมาะสม"

 

งานนี้คงต้องจับตาดูกันต่อว่า ศึกเก้าอี้ ประธานสภา ครั้งนี้ วันนอร์ คนกลาง ที่ พรรคเพื่อไทย ดัน จะได้เก้าอี้สำคัญนี้หรือไม่?

 

 

วันนอร์ นั่ง ประธานสภา แล้ว โพสต์ขอบคุณ

 

ทั้งนี้ วันนอร์ โพสต์ข้อความหลังได้รับเลือกนั่งเก้าอี้ ประธานสภา ระบุผ่านเฟซบุ๊ก วันมูหะมัดนอร์ มะทา ระบุว่า  ขอขอบคุณพี่น้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๖ ในการไว้วางใจในการดำรงตำแหน่ง “ประธานสภาผู้แทนราษฏร” โดยการเสนอของคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล 

 

5 ข้อ วันนอร์ ให้คำมั่น

 

โอกาสนี้ผมขอย้ำถึงวิสัยทัศน์ที่ได้กล่าวไว้ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ดังต่อไปนี้

 

๑.ผมขอยืนยันกับท่านทั้งหลายทุกท่านว่าผมจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลางทางการเมือง และจะน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานให้กับสมาชิกรัฐสภาสมัยที่ ๒๖ เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติของพวกเราต่อไป 

 

๒.ผมจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส สุจริต ตามรัฐธรรมนูญ กฏหมาย และข้อบังคับของสภา ทุกประการ 


๓.ผมจะกำหนดแนวทางร่วมกันกับผู้ที่จะมาทำหน้าที่เป็นรองประธานสภาทั้ง ๒ ท่าน ในการพิจารณาร่างกฏหมาย ญัตติ กระทู้ถาม อย่างเป็นระบบเพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ และเพื่อประโยชน์ของประชาชน 


๔.ผมจะให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการทุกคณะ เพื่อไปแก้ไข บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนของเราในทุกกรณี 


๕.ผมจะร่วมกับพวกเราเพื่อดำเนินการนโยบายทางด้านต่างประเทศของฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมุ่งเน้นความร่วมมือในงานของระบบรัฐสภา เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพในฝ่ายนิติบัญญัติ

 

๕.ผมจะทำหน้าที่ในการกำกับดูแลงานของสถาบันพระปกเกล้าให้มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมงานของฝ่ายนิติบัญญัติ รวมทั้งจะสนับสนุนให้สถานีโทรทัศน์ของรัฐสภา สถานีวิทยุของรัฐสภา เป็นสถานีของประชาชน เพื่อที่จะส่งเสริม พัฒนาประชาธิปไตยในทุกภาคส่วนในมีประสิทธิภาพและยั้งยืนตลอดไปครับ, ขอขอบคุณครับ.
รัฐสภาไทย 


๔ กรกฎาคม ๒๕๖๖

 

ข้อมูล :  วิกิพีเดีย

ภาพ : FB พรรคประชาชาติ 

 

 

เกาะติด พิธีเปิดประชุมรัฐสภา 

 

 

 

บทความเกี่ยวกับการ เลือกตั้ง 2566

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง