รีเซต

เหตุผลของการแจ้งลาออก 80% ไม่เป็นความจริง? พร้อมเช็กวิธีลาออกที่ถูกต้อง

เหตุผลของการแจ้งลาออก 80% ไม่เป็นความจริง? พร้อมเช็กวิธีลาออกที่ถูกต้อง
TeaC
17 กุมภาพันธ์ 2565 ( 18:14 )
922
1

ข่าววันนี้ ไม่มีใครหรอกที่กล้าบอกความจริง!! เมื่อเวลาและโอกาสมาถึงคนเรามักจะเลือกทางที่ดีที่สุดเพื่อตัวเอง ไม่ต่างกับการทำงานที่คนเรามักจะเลือกเส้นทางการทำงานที่ดี พร้อมผลตอบแทนที่คุ้มค่า แต่หากสำรวจกันจริงจังจุดจบของการลาออก มักจะเป็นจุดเริ่มต้นของการโกหกเสมอ เพราะคนส่วนใหญ่อาจจะเป็นไปได้ที่มักจะไม่ยอมบอกความจริงกับที่ทำงาน และมักจะอ้างเหตุผลสารพัด เช่น ไม่มีเวลาพักผ่อน มีปัญหาในการทำงาน ตัวเองทำหน้าที่ได้ไม่ดีพอ หรือที่ทำงานต้องเดินทาง และอยากให้เวลากับชีวิตมากขึ้น

 

เหตุผลของการแจ้งลาออก 80% ไม่เป็นความจริง?


โดยวิธีการลาออกที่ดีที่สุด เมื่อตัดสินใจมาแล้วว่าจะเดินออกไป สิ่งที่ควรทำง่าย ๆ อาจเป็นการพูดความจริง และบอกเหตุผลของตัวเองอย่างเป็นมืออาชีพ เพื่อให้ที่ทำงานเข้าใจสาเหตุการลาออก รวมทั้งจะได้ดำเนินการหาคนใหม่มาทดแทนโดยเร็ว เพื่อไม่ให้กระทบกับการทำงานขององค์กรต่อไป

 

การลาออกไม่ใช่เรื่องไม่ดี แต่การทำให้มันถูกต้องและบอกความต้องการของตัวเอง คือ "สิ่งที่ควรทำ"

"พี่ไม่ไปต่อ น้องไหวนะ"

 

วิธีลาออกที่ถูกต้อง

 

ดังนั้น มาดูวิธีการลาออกที่ถูกต้องที่พนักงานทุกคนต้องรู้เท่าทันข้อกฎหมายต่าง ๆ ด้วย โดย สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 ระบุถึงการลาออกที่ถูกต้องว่า ในสัญญาจ้างไม่มีกำหนดเวลา หากลูกจ้างประสงค์จะลาออกจากงาน (การบอกเลิกสัญญาจ้างโดยฝ่ายลูกจ้าง) การลาออกที่ถูกต้องลูกจ้างจะต้องปฏิบัติตามระเบียบ คำสั่งข้อบังคับของนายจ้าง และตามกฎหมาย คือ ลูกจ้างจะต้องแจงล่วงหน้าให้นายจ้างได้ทราบก่อนอย่างน้อย  1 งวดการจ่ายค่าจ้าง มิใช่อยู่ๆยื่นใบลาออกทิ้งไว้ที่โต้ะหัวหน้างานหรือฝ่าย HR หรือบอกลาออกด้วยวาจาวันนี้ แล้ววันรุ่งขึ้นไม่มาทำงานอีกเลย (อันนี้ไม่น่ารักเลย)

 

อย่าลืมว่าวงการการทำงานมันแคบ ซึ่งคุณและคนที่เคยร่วมงานอาจวกกลับมาเจอหรือกลับมาร่วมกันอีกครั้งก็เป็นได้ การลาออกอย่างมืออาชีพไม่เพียงสะท้อนให้เห็นที่วุฒิภาวะที่ดีแล้ว แต่ยังเป็นการรักษาคอนเน็กชั่นที่อาจเป็นไปได้ที่ต้องมาเกี่ยวข้องกันในอนาคตข้างหน้าได้ 

 

ทั้งนี้ ข้อมูลยังระบุว่า การลาออกไม่ถูกต้องตามระเบียบของนายจ้างและไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ย่อมเป็นการทำผิดสัญญาจ้างและไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากเกิดความเสียหายแก่นายจ้าง ลูกจ้างต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้นายจ้าง หากไม่เสียหายลูกจ้างก็ไม่ต้องรับผิด 

 

อย่างไรก็ตาม ผลการลาออกทำให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลง นายจ้างก็ไม่ต้องหักเงินสมทบจากลูกจ้างส่งเงินกองทุนประกันสังคมอีกต่อไป แต่ต้องเเจ้งการลาออกของลูกจ้างไปที่สำนักงานประกันสังคม เพื่อให้ลูกจ้างที่ไปลงทะเบียนว่างงานกับกรมการจัดหางาน ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงงาน

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง