รีเซต

เทียบกันให้เห็น กรณีผู้ป่วยโรคไต ประกันสังคม vs. บัตรทอง

เทียบกันให้เห็น กรณีผู้ป่วยโรคไต ประกันสังคม vs. บัตรทอง
TrueID
22 กันยายน 2563 ( 15:36 )
11.8K

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยสถานการณ์โรคไตของประเทศไทยว่า คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้าย 2 แสนคน มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 10,000 คน รอการผ่าตัดเปลี่ยนไตใหม่ประมาณ 40,000 คน และมีผู้เสียชีวิตจากไตวายปีละ 13,000 กว่าคน ซึ่ง 1 ใน 3 อายุน้อยกว่า 60 ปี ผู้ป่วยไต 1 คนจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 30,000 บาทต่อคนต่อเดือน เพราะต้องได้รับการฟอกไตด้วยวิธีฟอกเลือด หรือล้างไตผ่านหน้าท้อง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง วันนี้ trueID news จะมาเปรียบเทียบกันให้เห็น ข้อดี-ข้อด้อย ของทั้งสองระบบกัน

 

 ประกันสังคมช่วยอะไร ผู้ป่วยโรคไตบ้าง

          1. โรคไตวาย (ที่ไม่ใช่ระยะสุดท้าย)

          ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตามคำสั่งของแพทย์  ณ โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ์ แต่มีเงื่อนไขคือ จะไม่ได้รับสิทธิ์บำบัดทดแทนไต เช่น การฟอกไต ปลูกถ่ายไต การล้างช่องท้อง เป็นต้น 

          2. โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 


          สามารถขอใช้สิทธิ์เข้ารับการบำบัดทดแทนไต ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเกือบปกติได้ โดยสิทธิประโยชน์ ประกอบด้วย

          - การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ไม่เกิน 1,500 บาทต่อครั้ง และไม่เกิน 4,500 บาทต่อสัปดาห์ (เดือนละ 18,000 บาท)

          - จ่ายค่าเตรียมเส้นเลือดสำหรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมพร้อมอุปกรณ์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 20,000 บาทในระยะเวลา 2 ปี หากใน 2 ปีนี้ จำเป็นต้องเตรียมเส้นเลือดหรือแก้ไขเส้นเลือด จ่ายเพิ่มให้อีกไม่เกิน 10,000 บาท

          - การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างถาวร ไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน

          - จ่ายค่าวางท่อรับส่งน้ำยาเข้าออกทางช่องท้องพร้อมอุปกรณ์  ไม่เกิน 20,000 บาทในระยะเวลา 2 ปี หากใน 2 ปีนี้จำเป็นต้องวางท่อรับส่งน้ำยาทางช่องท้อง จ่ายเพิ่มให้อีกไม่เกิน 10,000 บาท

          - การปลูกถ่ายไต ได้รับสิทธิ์บริการทางการแพทย์ ก่อน ระหว่าง หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต และรับยากดภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต

 

 

 

 

 

 

 

 

บัตรทองประกันสังคม

ข้อดี

  • ฟอกเลือดได้โดยไม่ต้องจ่ายส่วนเกิน
  • สามารถได้รับยาฉีดสม่ำเสมอ
  • เข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวก
  • สามารถเลือกรับยาได้หลายชนิดไม่ขึ้นกับราคายา 
ข้อดี
  • เบิกค่าการทำทางผ่านเข้าหลอดเลือด ปีละ 20,000 บาท
  • เบิกค่ายาได้มากกว่าบัตรทอง ภายใต้ราคากลาง
  • เข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวก
  • สามารถเลือกรับยาได้หลายชนิดไม่ขึ้นกับราคายา

ข้อด้อย

  • ผู้ป่วยบัตรทองที่จะฟอกเลือด ต้องรออนุมัตินาน และถ้าจะฟอกเลือดโดยไม่ล้างช่องท้องก่อน ต้องจ่ายเงินเองทั้งหมด
  • ส่งต่อไปรักษาที่สถานบริการเอกชนยากกว่าสิทธิข้าราชการ

ข้อด้อย

  • จำกัดจำนวนครั้งในการฟอกเลือด และส่วนใหญ่ต้องจ่ายส่วนเกิน 500-700 บาท/ครั้ง
  • ผู้ป่วยบางรายที่แพทย์พิจารณาแล้วว่าควรเริ่มฟอกเลือด แต่ผลเลือดไม่ผ่านเกณฑ์การเบิกจ่ายของประกันสังคม ผู้ป่วยต้องจ่ายเงินเอง

 

 

 

ภาพปกจาก : AFP

++++++++++++++++++++

ข่าวที่เกี่ยวข้อง