รีเซต

7 เดือนของนายกฯ แพทองธาร วิกฤต และนโยบายการรับมือ

7 เดือนของนายกฯ แพทองธาร  วิกฤต และนโยบายการรับมือ
TNN ช่อง16
26 เมษายน 2568 ( 00:40 )
9

นับเป็นเวลา 7 เดือนกว่าแล้ว ที่นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร นายกคนที่ 31ของไทยเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งในระยะเวลากว่าปีครึ่งนี้ มีวิกฤต และเหตุการณ์มากมายที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นบทพิสูจน์ และความท้าทายให้นายกฯ ต้องรับมือตั้งแต่เดือนแรกของการเข้ารับตำแหน่ง 


น้ำท่วมภาคเหนือ ช่วงสิงหาคม-ตุลาคม 67

เมื่อรับตำแหน่ง นายกฯ ก็เจอกับสถานการณ์อุทกภัยในภาคเหนือ ที่มี 19 จังหวัดประสบภัย มีผู้เสียชีวิตกว่า 45 คน และมีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 43,535 ครัวเรือน ซึ่งนายกฯ ก็ได้ลงพื้นที่เชียงใหม่ และเชียงราย เพื่อติดตามสถานการณ์การฟื้นฟูน้ำท่วม และในภายหลังรัฐบาลยังได้ออกนโยบายเยียวยาน้ำท่วมชุดใหญ่ 9,000 บาท


น้ำท่วมภาคใต้ ช่วงธันวาคม 67

หลังน้ำท่วมเหนือคลี่คลายลงได้ไม่นาน ก็เกิดอุทกภัยทางภาคใต้ ที่มี 5 จังหวัด ผู้เสียชีวิตกว่า 30 คน และ ประชาชนได้รับผลกระทบ 155,894 ครัวเรือน ซึ่งครั้งนี้เอง ในฐานะผู้นำ นายกฯ พร้อมสามีคนใต้ ก็ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ พร้อมตามด้วยนโยบายเยียวยาน้ำท่วมชุดใหญ่ 9,000 บาทอีกครั้ง


คอลเซนเตอร์ สแกมเมอร์ เริ่มตัดไฟต้นเดือนกุมภาพันธ์ 68 

สถานการณ์คอลเซนเตอร์ และสแกมเมอร์นั้นรุนแรงมากขึ้น ตั้งแต่ช่วงปี 67 และมิจฉาชีพเองก็พัฒนาการการหลอกประชาชนด้วยเทคนิคต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทำให้มีประชาชนตกเป็นเหยื่อการถูกหลอก และสูญเสียเงินหลายพันล้าย ลามไปถึงการหลอกชาวจีน เป็นเหยื่อค้ามนุษย์ โดยใช้ไทยเป็นทางผ่าน เพื่อไปเป็นสแกมเมอร์ในเมียนมา ที่มาชายแดนติดกับไทยด้วย 

ซึ่งเมื่อสถานการณ์ไม่เพียงแค่รุนแรงในไทย แต่มีผู้เสียหายหลายประเทศ แม้จะมีการพูดคุยประเด็นนี้มาตั้งแต่กลางปี 67 แต่รัฐบาลไทยได้เริ่มตัดไฟ น้ำมัน และอินเทอร์เน็ต ที่ส่งจากทางไทยไปให้สแกมซิตี้ในเมียวดี ฝั่งเมียนมาใช้ เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ รวมถึงประสานงานร่วมมือกับรัฐบาลจีน และกลุ่มกะเหรี่ยง BGF ของเมียนมา ในการใช้ไทยเป็นทางผ่าน และส่งผู้ไปทำงานเป็นสแกมเมอร์ และผู้ถูกหลอกกลับประเทศหลายพันคน 

การอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกฯ แพทองธาร วันที่ 24-25 มีนาคม 68

นายกฯ แพทองธาร ถูกฝ่ายค้านยื่นญัติอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยนับเป็นครั้งที่ 5 ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่มีการยื่นญัตติไม่ไว้วางใจต่อนายกรัฐมนตรีแบบรายบุคคล และเพียงผู้เดียว โดยฝ่ายค้านใช้เวลาซักฟอก 28 ชั่วโมง โดยกล่าวหานายกฯ ว่าทำนิติกรรมอำพราง เพื่อหลบเลี่ยงการเสียภาษีกว่า 218 ล้านบาท รวมถึงตั้งคำถามต่อภาวะผู้นำและความสามารถของเธอ แต่ภายหลังนายกฯ ก็ได้รับการโหวตไว้วางใจ มติ 319 ต่อ 162 เสียง


แผ่นดินไหวเมียนมา สะเทือนยังประเทศไทย วันที่ 28 มีนาคม 68 

เหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งใหญ่ แผ่นดินไหวที่จุดศูนย์กลางเมียนมา ซึ่งสะเทือนมาถึงกรุงเทพฯ และหลายจังหวัดในประเทศไทย ส่งผลเกิดความสูญเสียอย่างการถล่มของตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และมีผู้ประสบเหตุ 103 ราย เสียชีวิตมากกว่า 55 ราย และตึกหลายแห่งในกรุงเทพฯ ได้รับความเสียหาย 

เหตุการณ์นี้ถือเป็นหนึ่งในความท้าทายครั้งใหญ่ ซึ่งรัฐบาลก็ถูกตั้งคำถามถึงระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติ และการรับมือภายหลังเหตุการณ์ ซึ่งรัฐบาลก็ได้ออกนโยบายเยียวยาผู้เสียหายแผ่นดินไหว ที่มีทั้งการชดเชยการซ่อมแซม และค่ารักษาพยาบาล รวมถึงประกาศเร่งนโยบายเตือนภัย Cell broadcast ซึ่งระหว่างนี้ได้มีการทดสอบแล้ว 


ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีไทย 36% วันที่ 2 เมษายน 68 

อีกหนึ่งความท้าทาย ที่ไม่ได้สะเทือนแค่ไทย แต่ทั่วโลก กับการประกาศนโยบายขึ้นภาษีศุลกากรของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งประเทศไทยนั้น ถูกรัฐบาล ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นภาษีสูงถึง 36% ทำให้เกิดความเสี่ยง GDP ตก ภาคการส่งออกอาจได้รับผลกระทบ เศรษฐกิจประเทศอาจจะชะลอตัว ซึ่งตอนนี้ หลังจากถูกเลื่อนคิวการเจรจา ประเทศไทยเองก็ยังอยู่ในช่วงเตรียมพร้อมส่งทีมไปสหรัฐฯ ซึ่งเราก็ต้องติดตามว่า รัฐบาลนั้นจะเจรจาออกมาให้ภาษีเราลดไปได้เท่าไหร่ และจะมีการแลกเปลี่ยนนำเข้าอะไรบ้าง และสินค้าเหล่านั้น จะกระทบภาคอุตสาหกรรม หรือเกษตรกรรมของไทยหรือไม่ 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง