รีเซต

"วิธีรับมือแผ่นดินไหว" ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร? แนะมีสติ อย่าตกใจ

"วิธีรับมือแผ่นดินไหว" ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร? แนะมีสติ อย่าตกใจ
TNN ช่อง16
19 มิถุนายน 2566 ( 10:52 )
84

เปิดข้อปฏิบัติเมื่อขณะเกิด "แผ่นดินไหว" แนะหากเกิดเหตุการณ์จริง พยายามควบคุมสติ อย่าตื่นตระหนก


แผ่นดินไหว หมายถึง การสั่นสะเทือนของพื้นดิน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนที่อย่างฉับพลันของเปลือกโลก เนื่องจากพลังงานความร้อนภายในโลกทำให้เกิดแรงเครียด ซึ่งแรงเครียดที่สะสมอยู่ในโลกทำให้เกิดการแตกหักของหิน เมื่อหินแตกออกเป็นเป็นแนวจะเกิดเป็นแนวรอยเลื่อน และการเคลื่อนที่อย่างฉับพลันของรอยเลื่อนนี้ เป็นสาเหตุหลัก ของการเกิดแผ่นดินไหว


ข้อปฏิบัติเมื่อขณะเกิดแผ่นดินไหว


อยู่ในอาคาร


-มุดใต้โต๊ะ เก้าอี้ พิงผนังด้านใน แล้วอยู่นิ่งๆ ถ้าไม่มี โต๊ะ ใช้แขนปิดหน้า ปิดศรีษะ หมอบตรงมุมห้อง อยู่ให้ห่าง กระจก หน้าต่าง และเลี่ยงบริเวณที่

สิ่งของหล่นใส่ หรือล้มทับ เช่น โคมไฟ ตู้ ถ้ายังนอนอยู่ ให้อยู่บนเตียง ใช้หมอนปิดบังศรีษะ หลีกเลี่ยงบริเวณที่สิ่งของ หล่นใส่ อยู่บริเวณที่ปลอดภัย

-ใช้ช่องประตูเป็นที่หลบภัยถ้าอยู่ใกล้ อยู่ชิดผนังด้านในอาคาร

-ให้อยู่ในอาคารจนกว่าการสั่นสะเทือนหยุด จึงออกไปภายนอกบริเวณที่ปลอดภัย อันตรายส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งของหล่นใส่

-คาดว่าหรือตระหนักเสมอว่า ไฟฟ้าอาจดับ หรือสปริงเกอร์อาจท างาน หรือ มีเสียงเตือนไฟไหม้

-อย่าใช้ลิฟต์ ขณะมีการสั่นไหว ถ้าอยู่ในลิฟต์ กดทุกปุ่มและออกจากลิฟต์ทันที

-อย่ากรูกันวิ่งออกนอกอาคาร

-เมื่อการสั่นไหวหยุดแล้ว ถ้าเกิดไฟไหม้ช่วงแรก ให้รีบดับไฟ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความเสียหายของอาคาร หากปลอดภัยสามารถกลับเข้าในอาคารได้

-หากเป็นแผ่นดินไหวใหญ่อาจเกิดแผ่นดินไหวตามมา After Shock


อยู่นอกอาคาร


ให้อยู่ด้านนอก ในที่โล่ง อยู่ให้ห่างจากอาคาร เสาไฟ สายไฟฟ้า ต้นไม้ ป้าย โฆษณา หรือสิ่งของที่อาจหล่นใส่


อยู่ในรถ


จอดรถเมื่อสามารถจอดได้โดยปลอดภัย และในที่ซึ่งไม่มีของหล่นใส่ อยู่ให้ห่างอาคาร ต้นไม้ ทางด่วน สะพานลอย เชิงเขา เป็นต้น


ติดอยู่ในซากอาคาร


อย่าติดไฟ อยู่อย่างสงบ ใช้ผ้าปิดหน้า เคาะท่อ ฝาผนัง เพื่อเป็นสัญญาณต่อหน่วยช่วยชีวิต ใช้นกหวีด การตะโกนอาจสูดสิ่งอันตรายเข้าร่างกาย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และให้กาลังใจต่อกัน



หลังแผ่นดินไหว


-เตรียมรับมือ Aftershocks ซึ่งทั่วไปมีความรุนแรงน้อยกว่า แต่ก็

อาจสร้างความเสียหายเพิ่มเติม เปิดวิทยุ โทรทัศน์ฟังข่าวเพิ่มเติม

-เปิดตู้ด้วยความระมัดระวัง ระวังสารเคมีที่ตกหล่น และสายไฟฟ้าชารุด

-ใส่รองเท้า หลีกเลี่ยงบริเวณสิ่งก่อสร้างที่เสียหาย หรือพังทลายยกเว้น ได้รับการร้องขอจากเจ้าหน้าที่

-แจ้งเจ้าหน้าที่ถึงจำนวนและตำแหน่งที่มีผู้ติดอยู่ในอาคาร หากทราบ

-หากอยู่ชายฝั่งใกล้ปากแม่น้ า ให้รีบขึ้นที่สูง บริเวณที่ปลอดภัย โดยเฉพาะบริเวณที่เคยมีประวัติการเกิดอันตรายจากสึนามิ

-อย่าเชื่อข่าวลือ และอย่าแพร่ข่าวลือ



ภาพจาก กรมอุตุฯ

 


ภาพจาก กรมอุตุฯ

 




ที่มา กรมอุตุฯ

ภาพจาก AFP



ข่าวที่เกี่ยวข้อง