รีเซต

"ศุภาลัย-จุฬาฯ" ร่วมเฟ้นหาสุดยอดนักออกแบบรุ่นใหม่ สำหรับที่อยู่อาศัยแห่งอนาคต

"ศุภาลัย-จุฬาฯ" ร่วมเฟ้นหาสุดยอดนักออกแบบรุ่นใหม่ สำหรับที่อยู่อาศัยแห่งอนาคต
มติชน
1 ธันวาคม 2563 ( 16:57 )
167
"ศุภาลัย-จุฬาฯ" ร่วมเฟ้นหาสุดยอดนักออกแบบรุ่นใหม่ สำหรับที่อยู่อาศัยแห่งอนาคต

ดร.ประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการมูลนิธิ ประทีป – อัจฉรา ตั้งมติธรรม เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดพื้นที่เวทีสร้างสรรค์ประชันไอเดียงานสถาปัตย์ ยุค New Normal โครงการประกวดการออกแบบ “FUTURE LIVING…ที่อยู่อาศัยแห่งอนาคต” ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ที่อยู่อาศัยของคนรุ่นใหม่ในโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง พร้อมชมนิทรรศการ ระหว่างวันที่ 1 – 13 ธันวาคม 2563 ณ ผนังโค้งชั้น 4 – 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิดในการจัดโครงการประกวด เพื่อตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของสังคมโลก สิ่งสำคัญที่สุดในการออกแบบคือ จินตนาการ ที่ผ่านการคิดอย่างเป็นระบบ และพัฒนาตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานจริง อีกทั้งนักออกแบบต้องรู้จักสังเกตพฤติกรรมและความเปลี่ยนแปลงในสังคม เพื่อจะได้คาดการณ์แนวโน้มอนาคตได้ถูกต้อง ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค โดยบริษัทฯ มีความตั้งใจที่จะจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ (CSR) สนับสนุนด้านการศึกษา ให้เยาวชนไทยได้มีโอกาสแสดงความสามารถและสร้างสรรค์ความคิดด้านการออกแบบ

 

“โครงการดังกล่าวมี ผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 296 ผลงาน เพื่อเป็นทางเลือกโครงการต้นแบบที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้และมีประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้งสร้างประสบการณ์และสนับสนุนนักออกแบบรุ่นใหม่ก้าวสู่สถาปนิกมืออาชีพ ร่วมชิงทุนการศึกษามูลค่ารวมกว่า 250,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร และจัดแสดงผลงานหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ขณะที่ผลงานที่สร้างสรรค์จากแรงบันดาลใจคนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการประกวดออกแบบประเภท PROJECT DESIGN อาคารชุดพักอาศัย ของนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรม ชั้นปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์” ดร.ประทีปกล่าว

 

ดร.ประทีป กล่าวว่า สำหรับผู้ที่ได้ผ่านการคัดเลือก 5 ผลงานในรอบสุดท้าย ได้แก่

  • นางสาวชนม์พืช ศรีพงษ์ธนากุล ชื่อผลงาน Vert แรงบันดาลใจของผลงานมาจากเรื่องราวของ New Normal การออกแบบจึงคำนึงถึงโครงสร้างอาคาร ทิศทางลม มีการระบายอากาศ ทำให้ตัวอาคารแต่ละชั้นมีจำนวนผู้พักอาศัยน้อยลง และเพิ่มพื้นที่สีเขียวตามรอยของชั้นต่างๆ

 

  • นายกฤตชัย ชวนบุญ ชื่อผลงาน LANGSUAN RESIDENCE แรงบันดาลใจของผลงานมาจากการเลือกพัฒนาพื้นที่ส่วนกลางให้มีความรู้สึกสงบและมีความเป็นส่วนตัว จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและวิถีชีวิตไปจากเดิม ไม่ออกไปข้างนอก อยู่ในบ้านตัวเอง เริ่มกลับมาทำงานที่บ้าน

 

  • นางสาวณัฐณิชา แพรสุวัฒน์ศิลป์ ชื่อผลงาน ONE Sathorn – Charoenrat แรงบันดาลใจของผลงานมาจาก การตอบสนองความต้องการของการใช้ชีวิตแบบใหม่ New Normal Concept จะมีส่วนของการแบ่งพื้นที่เล็กในพื้นที่ใหญ่ เพื่อให้มีความเกิดความเป็นส่วนตัวให้กับลูกบ้านที่จะมาใช้งานต่างๆ

 

  • นายนพรุจ สุกใส ชื่อผลงาน THE DAWN RESIDENCE แรงบันดาลใจของผลงานมาจาก การศึกษาสถาปัตยกรรมตะวันออก ที่เหมาะกับวิถีชีวิตและสภาพอากาศ Tropical ในปัจจุบัน ที่สอดคล้องกับการคำนวณพื้นที่ขาย

 

  • นางสาวกัญญาณัฐ แจ่มใส ชื่อผลงาน The ever last แรงบันดาลใจของผลงานมาจากการสร้าง Green Building เสริมสร้างสุขภาพทั้งคนและสิ่งแวดล้อม และเน้นสวนที่มีขนาดใหญ่ข้างหน้า และสวนลอยฟ้าด้านหลังด้วยส่วนสูงต่างกันทั้งหมด 20 กว่าเมตร และทำการเชื่อมตั้งแต่ชั้นล่างมาถึงชั้นบน สามารถได้ทั้งวิ่งออกกำลังกายและเดินเล่นพักผ่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง