รีเซต

เตรียมปิด "หัวลำโพง" หลังรถไฟสายสีแดงเปิดให้บริการ พ.ย.นี้

เตรียมปิด "หัวลำโพง" หลังรถไฟสายสีแดงเปิดให้บริการ พ.ย.นี้
TNN ช่อง16
18 มกราคม 2564 ( 09:40 )
251
เตรียมปิด "หัวลำโพง" หลังรถไฟสายสีแดงเปิดให้บริการ พ.ย.นี้

วันนี้( 18 ม.ค.64) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ให้นโยบายในการดำเนินงานกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แล้วว่า เมื่อรถไฟฟ้าสายสีแดงเปิดให้บริการในเดือน พ.ย. 64 จะปิดสถานีหัวลำโพงทันที ให้ไม่มีรถไฟวิ่งเข้าเมือง ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาจราจรภายในเมืองได้ตามเป้าหมาย โดยสถานีกลางบางซื่อ จะเป็นสถานีกลาง ในการให้บริการระบบรางของ รฟท.

ทั้งนี้ ได้ให้ รฟท.เร่งทำแผนบูรณาการบริหารการเดินรถไฟทางไกล เช่น รถไฟสายใต้จะวิ่งเข้ามาถึงสถานีบางบำหรุ จากนั้นให้ผู้โดยสาร ต่อรถไฟสายสีแดงเข้ามาที่สถานีบางซื่อ สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือจะบริหารรูปแบบการเดินรถเหมือนกัน อาจจะหยุดที่เชียงราก โดยรถไฟที่สามารถวิ่งบนโครงสร้างสีแดง ซึ่งเป็นทางรถไฟยกระดับได้จะสามารถเข้าสถานีบางซื่อได้ จะไม่ให้วิ่งทางรถไฟด้านล่างอีกแล้ว  ส่วนขบวนใดที่ยังวิ่งเข้ามาไม่ได้ ก็ให้หยุดที่สถานีรอบนอกก่อน และให้ผู้โดยสารต่อสายสีแดงเข้ามา

นอกจากนี้ รฟท.จะต้องจัดทำระบบตั๋วโดยสารและกำหนดอัตราค่าโดยสารเพื่อให้ผู้โดยสารใช้โดยสารได้อย่างต่อเนื่องได้ โดยไม่ยุ่งยากตั้งแต่ต้นทางมาและไม่มีค่าแรกเข้า กรณีที่ต้องเดินทางจากรถไฟทางไกลเข้าสู่ระบบรถไฟสายสีแดง 

เมื่อเปิดเดินรถสายสีแดง จะให้ปิดสถานีหัวลำโพงไปเลยจะไม่มีรถไฟวิ่งเข้าไปหัวลำโพงอีกแล้ว ซึ่งรวมถึงการขนส่งสินค้าด้วย ดังนั้นรถไฟจะต้องแจ้งให้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทราบว่า สถานีสุดท้ายของแต่ละเส้นทางที่วิ่งเข้ามา จะอยู่ที่ไหน เพื่อให้จัดการเป็นจุดรับสินค้าได้ เรื่องนี้จะลดปัญหารถบรรทุก วิ่งเข้ามาเขตกรุงเทพฯได้

สำหรับการเดินรสายสีแดงนั้น จะมีการเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน (PPP) ซึ่งคาดว่ากว่าจะได้ตัวเอกชนจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี ดังนั้น ในช่วงแรกจะให้บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตเรลลิงก์) บริหารเดินรถสายสีแดงไปก่อน เบื้องต้น 11 เดือน ขณะเดียวกันได้ให้นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดฯ คมนาคม และกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กำหนดตัวชี้วัด (KPI) เช่น ตรงเวลา คุมต้นทุน การซ่อมบำรุง หากแอร์พอร์ตลิงก์ทำได้ตาม KPI ในการเปิด PPP จะกำหนดใน RFP ให้เอกชนที่เข้ามาบริหารสีแดง ต้องรับพนักงาน แอร์พอร์ตลิงก์ไปด้วย ซึ่ง รฟท. รายงานว่า ในช่วง 4 ปีแรก (64-67) มีค่าบริหารจัดการ (Operating Cost) สถานีกลางบางซื่อ รวม 1,400 ล้านบาท เช่น ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าทำความสะอาด ค่ารักษาความปลอดภัย ขณะที่จะมีรายได้เพียง 257 ล้านบาทเท่านั้น


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง