รีเซต

กรมวิทย์ฯ ยันไม่ได้ตรวจเชื้อน้อย ตั้งเป้าผลิตน้ำยาสิ้นเม.ย.แสนชุด

กรมวิทย์ฯ ยันไม่ได้ตรวจเชื้อน้อย ตั้งเป้าผลิตน้ำยาสิ้นเม.ย.แสนชุด
TNN ช่อง16
7 เมษายน 2563 ( 15:26 )
90
กรมวิทย์ฯ ยันไม่ได้ตรวจเชื้อน้อย ตั้งเป้าผลิตน้ำยาสิ้นเม.ย.แสนชุด

วันนี้ (7 เม.ย.63) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า ตอนนี้ตรวจตัวอย่างเชื้อไปแล้ว ประมาณ 71,860 ตัวอย่าง รวมภาครัฐและเอกชน อนาคตมีการตรวจคัดกรองเพิ่มขึ้น ซึ่งการตรวจที่เป็นมาตรฐานตอนนี้ คือ การตรวจ RTPCR โดยตั้งเป้า 1 จังหวัด 1 ห้องปฏิบัติการ และยังคงยืนยันว่าใช้การตรวจด้วย RTPCRเป็นหลัก และยังไม่มีการนำ Rapid Test มาใช้ในการตรวจหาเชื้อ

ตอนนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้การรับรองห้องปฏิบัติการ และผ่านการรับรองไปแล้ว 80 ห้องปฏิบัติการ แบ่งเป็น กรุงเทพฯ 40 แห่ง ต่างจังหวัดอีก 40 แห่ง โดยศักยภาพในการตรวจเชื้อ ในกรุงเทพฯ 10,000 ตัวอย่างต่อวัน และต่างจังหวัดอีก 10,000 ตัวอย่าง ตั้งเป้าสิ้นเดือนเมษายนนี้ จะต้องมีห้องปฏิบัติการ อย่างน้อย 110 แห่งทั้วประเทศ

ขณะที่ การใช้น้ำยาในการตรวจหาเชื้อ เบื้องต้นในส่วนห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์ฯ ใช้น้ำยาที่ผลิตเอง ไม่มีการสั่งน้ำเข้า ส่วนห้องปฏิบัติการของเอกชนเป็นการใช้น้ำยาจากต่างประเทศ โดยกรมวิทยาศาสตร์ฯให้การรับรอง รวมถึงการรายงานผลตอนนี้ได้ปรับให้รายงานผลผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งจะสามารถรู้ผลภายใน 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมกับ บริษัท สยามไบโอไซเอนท์ โดยจะผลิตชุดทดสอบหรือน้ำยา ให้กรมวิทยาศาสตร์เพื่อรองรับการแพร่ระบาดของโรคที่เพิ่มขึ้น เบื้องต้นได้มอบชุดทดสอบมาแล้ว 20,000 ชุด โดย จะทยอยให้อย่างต่อเนื่อง ตั้งเป้าสิ้นเดือนเมษายนนี้ 100,000 ชุด และอีก 1,000,000 ชุด ภายใน 6 เดือน ยืนยันน้ำยาตรวจหาเชื้อเพียงพอ 

ส่วนกรณีปัจจัยที่พบยอดผู้ติดเชื้อน้อยในช่วง 2 วัน นั้น นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตอบสอดคล้องกับ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ว่ามาจากมาตราการที่ทำร่วมกันอยู่ตอนนี้ เช่น มาตรการจำกัดการเข้าประเทศ ปิดสนามบิน มาตรการเคอร์ฟิว ปิดสถานที่บางแห่ง จึงทำให้ยอดผู้ป่วยลดลง ซึ่งมาตรการดังกล่าวที่ออกมา สามารถช่วยละการแพร่กระจายของเชื้อได้ และยังคงต้องเข้มข้นทำต่อไป

ขณะที่ การตรวจตัวอย่างเชื้อ เบื้องต้นมีการตรวจจากทั้งห้องปฏิบัติการภาครัฐและเอกชน โดยร้อยละ 50 เป็นผลตรวจจากห้องปฏิบัติการของรัฐเป็นหลัก โดย 2 วันที่ผ่านมาห้องปฏิบัติการตรวจเชื้อของรัฐ เช่น รามาธิบดี ศิริราชพยาบาล จุฬาฯ และกรมวิทย์ฯ ตรวจตัวอย่างเชื้อประมาณวันละ 2,000 ตัวอย่าง และจากห้องปฏิบัติการเอกชน อีกประมาณ 1,000 ตัวอย่างต่อวัน รวมกว่า 3,000 ตัวอย่าง

ทั้งนี้ การตรวจแบบ Rapid Test เป็นการตรวจเพื่อประกอบการวินิจฉัยดท่านั้น ไม่ใช่การตรวจเพื่อวินิจฉัย ซึ่งทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จะเป็นผู้ประเมินร่วมกันถึงการพิจารณาบริษัทที่จะนำเข้า Rapid Test

จากการสืบค้นเกณฑ์กำหนดการตรวจ Rapid Test พบประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวโดย อย. จากประเทศสหรัฐอเมริกา จากการนำมาศึกษา พบว่า จะใช้ Rapid Test ต่อเมื่อกรณีฉุกเฉินเท่านั้น โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากเอกสารทางวิชาการของบริษัทผู้ผลิตเป็นหลักในการอนุญาต

ส่วนของไทยบริษัทผู้นำเข้าจะต้องส่งเอกสารทั้งหมด 4 ชุด มาให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากนั้น จะส่งมายังคณะกรรมการประเมิน ผลการประเมินแต่ละบริษัทจะส่งให้ผู้ยื่นนำไปขึ้นทะเบียนกับ อย.ต่อไป

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง