รีเซต

บริษัทจีนต้องคืนกำไรสู่สังคม? กับแผน “ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” ที่กดดันให้คนรวยต้องตอบแทนชาติ

บริษัทจีนต้องคืนกำไรสู่สังคม? กับแผน “ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” ที่กดดันให้คนรวยต้องตอบแทนชาติ
TNN ช่อง16
14 พฤศจิกายน 2564 ( 13:05 )
106
1
บริษัทจีนต้องคืนกำไรสู่สังคม? กับแผน “ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” ที่กดดันให้คนรวยต้องตอบแทนชาติ

ช่องว่างของความมั่งคั่ง


ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทวีความรุนแรงขึ้นท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 เป็นเหตุให้คนรวยตกอยู่ภายใต้แรงกดดัน ที่ต้องแสดงความเอื้ออาทรต่อประชากรทั่วโลก


ประเด็นที่โด่งดังที่สุดในเวลานี้ คงหนีไม่พ้น อีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้ง Tesla และ SpaceX รวมถึง เจฟฟ์ เบซอส ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Amazon ซึ่งอยู่ในกลุ่มบุคคลร่ำรวยที่สุดในโลก ได้รับการเรียกร้องจาก เดวิด บีสลีย์ ผู้อำนวยการโครงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ (WFP) ว่า คนรวยอย่างพวกเขา ควรบริจาคความร่ำรวยเพียงเศษเสี้ยวหนึ่ง เพื่อช่วยเหลือคนทั่วโลกต่อสู้กับความอดอยาก


แผนผลักดันของสีจิ้นผิง


ขณะที่ในประเทศจีน ผู้ประกอบการต่างต้องดิ้นรน ทุ่มเงินหลายหมื่นล้านหยวน ไปกับแผนผลักดัน “ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม 


ประธานาธิบดี สี กล่าวถึงวิสัยทัศน์ “ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” ในการประชุมกับคณะกรรมการกลางด้านการเงินและเศรษฐกิจ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา 


ฟังการวิเคราะห์เรื่อง 'ความรุ่งเรืองร่วมกันได้ทางนี้:

https://fb.watch/9f3Okj7aBH/


ผู้นำ สี จิ้นผิง กล่าวว่า “การกระจายความมั่งคั่งระดับตติยภูมิ” เป็นหนึ่งในระบบพื้นฐานในการแก้ปัญหาช่องว่างความมั่งคั่งที่กำลังกว้างขึ้นเรื่อย  และสนับสนุนให้ผู้มีรายได้สูง รวมถึงบริษัทต่าง  “ตอบแทนสังคมให้มากขึ้น


ลดความเหลื่อมล้ำได้จริงหรือ?


ตั้งแต่นั้นมา ผู้ประกอบการชาวจีนต่างหัวหมุนกับการจัดสรรเงินทุนพิเศษ เพื่อโครงการดังกล่าว โดยให้การสนับสนุนทางการเงิน เพื่อคลายความกังวลอันดับต้น  ของผู้นำ สี จิ้นผิง ได้แก่ การศึกษาการดูแลสุขภาพการบรรเทาความยากจน และอื่น 


แต่ก็ยังเกิดข้อสงสัยว่า การบริจาคเพื่อการกุศลตามนโยบายเหล่านี้ จะมีประสิทธิภาพในการช่วยลดความไม่เท่าเทียมกันของความมั่งคั่งจริงหรือไม่


เออร์นาน ชุย นักวิเคราะห์ในฮ่องกง กล่าวว่า คนจำนวนมากที่ทำงานในบริษัทด้านอินเทอร์เน็ตของจีน เชื่อว่า ประธานาธิบดี สี กำลังกดดันให้บริษัทตอบแทนสังคมมากขึ้น


ด้วยความรู้สึกกดดันทางการเมือง ปีนี้มหาเศรษฐีด้านเทคโนโลยี ต่างเพิ่มเงินบริจาคเพื่อการกุศลมากขึ้น” เธอ กล่าว


อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการนอกเหนือจากภาคส่วนอินเทอร์เน็ต ล้วนกล่าวว่า พวกเขารู้สึกกดดันให้ต้องบริจาค เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ


การบริจาคที่ไม่ใช่ภาคบังคับ


ขณะเดียวกันนั้น พรรคการเมืองและหน่วยงานต่าง  ชี้แจงว่า แนวทางของจีนเรื่อง “ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” เป็นการบริจาคเพื่อการกุศล ที่จะดำเนินการด้วยความสมัครใจ


ประเทศจีนผ่านกฎหมายการบริจาคและการกุศล ฉบับแรกในปี 2016 โดยให้เครดิตภาษีแก่ธุรกิจที่บริจาคเพื่อการกุศล และยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการบริจาคสูงถึง 12% ของผลกำไร 


ขณะที่บริษัทในสหรัฐฯ สามารถยื่นบริจาคได้มากถึง 25% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษี เพื่อบริจาคให้การกุศลตามความเหมาะสม


คัทยา เลวีย์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ระบุว่า การพัฒนาอย่างรวดเร็วของแพลตฟอร์มการบริจาคออนไลน์ ทำให้การบริจาคเงินในจีนง่ายขึ้นมาก แต่รัฐบาลสามารถทำอะไรได้มากกว่าการสนับสนุนการบริจาค 


แผนระยะยาวที่หนทางยังอีกไกล


เมืองทางตะวันออกของมณฑลเจ้อเจียง ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทเอกชนหลายแห่งที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของจีน ได้รับเลือกให้เป็นภูมิภาคนำร่องสำหรับแผนความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน 


เจ้าหน้าที่รัฐส่วนท้องถิ่น กำลังส่งเสริมการบริจาคเพื่อการกุศลอย่างแข็งขัน ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ บริษัทต่าง  ต้องแสดงการสนับสนุนแผนดังกล่าว ด้วยการบริจาคและพิสูจน์ความภักดีต่อรัฐบาล” เดวิด โจว ซึ่งมีบริษัทอยู่ในมณฑลเจ้อเจียง กล่าว


จอร์จ แมกนัส ผู้ร่วมวิจัยที่ China Centre ของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กล่าวว่า “แน่นอนว่าโครงการทางสังคมจะได้รับประโยชน์จากเงินบริจาค แต่การกุศลแม้แต่ในสหรัฐฯ ยังเป็นสัดส่วน GDP ที่ค่อนข้างเล็ก และไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญ ที่กำหนดโครงสร้างของการกระจายรายได้และความมั่งคั่ง


แน่นอนว่ามีประโยชน์ทางการเมือง ในการแสดงให้ประชาชนเห็นว่าบริษัทเอกชนและมหาเศรษฐี มีส่วนช่วยเหลือสังคม แต่จริง  แล้ว สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถทดแทนการกำหนดนโยบายที่เหมาะสมได้

—————

เรื่องพัชรี จันทร์แรม

ภาพ: Reuters

ข่าวที่เกี่ยวข้อง