รีเซต

แนะวิธีป้องกัน เชื้อโรคปนเปื้อนในน้ำประปา

แนะวิธีป้องกัน เชื้อโรคปนเปื้อนในน้ำประปา
TNN ช่อง16
11 กรกฎาคม 2567 ( 14:25 )
35
แนะวิธีป้องกัน เชื้อโรคปนเปื้อนในน้ำประปา

มีข้อมูลจากการประปานครหลวง มาแนะนำในเฝ้าระวังเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในน้ำประปา หลังมีประชาชนที่พักอาศัยในคอนโดแห่งหนึ่งใเขตจตุจักรป่วยมีอาการตาแดงจากการปนเปื้อนเชื้อปรสิตในน้ำประปากว่า 200 คน ซึ่งนอกจากเชื้อปรสิตอาจมีเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย จะป้องกันเชื้อโรคเหล่านี้อย่างไรวั นนี้ มีข้อแนะนำมาฝาก


น้ำประปาที่เราใช้ทุกวันเสี่ยงที่จะมีเชื้อโรคปนเปื้อนได้ ซึ่งการประปานครหลวง หรือ กปน.ได้แนะนำว่า ควรตรวจเช็กคุณภาพน้ำเป็นประจำประปา โดยหมั่นล้างถังพักน้ำทุก ๆ 6 เดือน ปิดฝาให้ปิดชิดป้องกันสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ฝุ่นละออง หรือ แมลงเข้าไป โดยเฉพาะที่พักอาศัยประเภทคอนโดหรืออาคารสูง ซึ่งมีระบบประปาภายในขนาดใหญ่ควรหมั่นดูแลความสะอาดของระบบถังพักน้ำ 

ส่วนภายในบ้านที่พักอาศัยควรดูแลระบบท่อประปา หากชำรุด รั่วซึม ต้องรีบซ่อมแซม ป้องกันเชื้อโรคที่อาจปะปนเข้าไปในระบบท่อประปา

หากมีเครื่องกรองน้ำ ควรทำความสะอาดไส้กรอง หรือ เปลี่ยนตามอายุการใช้งาน

อุปกรณ์ใช้น้ำ เช่น ก๊อกน้ำ ฝักบัว สายชำระ ควรดูแลความสะอาด ลดการสะสมของเชื้อโรค

ส่วนปั๊มน้ำ ไม่ควรติดตั้งจากท่อประปาโดยตรงป้องกันการสูบสิ่งปนเปื้อนเข้ามากรณีมีท่อแตกรั่ว



ทั้งนี้การประปานครหลวง มีบริการล้างถังพักน้ำ และสำรวจ-ซ่อมท่อประปา โดยช่างผู้เชี่ยวชาญ สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ call center 1125 หรือ line: @MWAthailand หรือ Facebook : งานประปาครบวงจร หรือแอปพลิเคชัน MWA onMobile ตลอด 24 ชั่วโมง


อย่างไรก็ตาม กปน.ได้มีการเช็กคุณภาพน้ำประปาเป็นประจำ มีการเฝ้าระวังทั้งสารเคมี และเชื้อโรค รวมถึงควบคุมระดับคลอลีน ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกอย่างเคร่งครัด มีการสุ่มตรวจทั้งในโรงงานผลิตน้ำ และพื้นที่จ่ายน้ำของ กปน. เป็นประจำ 



ทั้งนี้ หากไม่มีการตรวจเช็กคุณภาพน้ำหรือสำรวจจุดชำรุดรั่วซึมของท่อน้ำเสี่ยงเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อปรสิต โดยเฉพาะโปรโตซัวซึ่งเป็นปรสิตเซลล์เดียว ซึ่งกระบวนการทําน้ำประปาสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสด้วยคลอรีนได้ แต่เชื้อปรสิตต้องใช้คลอรีนที่มีความเข้มข้นสูง และเชื้อปรสิตจะตายได้ง่ายที่อุณหภูมิสูงกว่า 60 องศาเซลเซียส ดังนั้นวิธีการต้มน้ำให้เดือดสําหรับดื่มภายในบ้าน จึงเป็นวิธีที่ง่ายและราคาถูก



โดยเชื้อปรสิต เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นเพื่อเป็นที่อาศัยและเป็นแหล่งอาหาร ปรสิตที่พบได้ในแหล่งน้ำ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ เมื่อเข้าสู่ร่างกายคนจะก่อให้เกิดโรค

-รับเชื้อโดยการสําลักน้ำทางจมูก จะเกิดโรคสมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เสี่ยงเสียชีวิตภายใน 7 วัน 

-รับเชื้อทางระบบหายใจ ทําให้ปอดอักเสบ 

-ติดเชื้อทางบาดแผล ทําให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง 

-ติดเชื้อที่กระจกตา ทําให้เกิดอาการระคายเคืองตา ตาแดง ปวดตา ตามัว กลัวแสง ถ้าเชื้อลุกลามอาจทําให้ตาบอดได้ 

และหากเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดอาจก่อโรคสมองอักเสบเสี่ยงเสียชีวิตได้



ข้อมูล : การประปานครหลวง หรือ กปน.,ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

กราฟิก : TNN

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง