รีเซต

ศูนย์จีโนมฯตอบ 4 ข้อสงสัย ‘ฝีดาษลิง-โอมิครอนรุ่นใหม่’ โรคไปถึงไหนแล้ว?

ศูนย์จีโนมฯตอบ 4 ข้อสงสัย ‘ฝีดาษลิง-โอมิครอนรุ่นใหม่’ โรคไปถึงไหนแล้ว?
TNN ช่อง16
24 มิถุนายน 2565 ( 13:19 )
126
ศูนย์จีโนมฯตอบ 4 ข้อสงสัย ‘ฝีดาษลิง-โอมิครอนรุ่นใหม่’ โรคไปถึงไหนแล้ว?

วันนี้( 24 มิ.ย.65) ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า คำถามที่สอบถามศูนย์จีโนมฯเกี่ยวกับการระบาดระลอกใหม่ของโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4, BA.5 และไวรัสฝีดาษลิง

1.ถาม: อะไรที่แย่ยิ่งกว่าการติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิง?

ตอบ: การติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงสองสายพันธุ์พร้อมกัน  มีรายงานว่าได้มีการเก็บตัวอย่างจากตุ่มแผลของชายสก็อตรายหนึ่งที่มีประวัติเดินไปยังเยอรมนี มาถอดรหัสพันธุ์ทั้งจีโนมของไวรัสฝีดาษลิง พบเชื้อฝีดาษลิงสองสายพันธุ์ย่อยในคนเดียวกันโดยพบการกลายพันธุ์ 3 ตำแหน่งที่ต่างกัน  สายพันธุ์แรกคล้ายคลึงกับสายพันธุ์ที่ระบาดในเยอรมนีและสายพันธุ์ที่สองพบในอิตาลี  แสดงให้เห็นว่าเชื้อไวรัสฝีดาษลิงสามารถมีการติดเชื้อร่วมได้ (MPXV co-infection)

2.ถาม: การที่ศูนย์จีโนมนำเสนอข้อมูลเชื้อไวรัสกลายพันธุ์บ่อยครั้งผ่านสื่อทำให้ "ประชาชนตื่นตกใจ" และอาจจะ "ไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ"ของประเทศโดยรวม

ตอบ : การนำเสนอข้อมูลเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์แก่ประชาชนถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเชิงรุกหรือการใช้ “ซอฟท์ พาวเวอร์ (soft power)” ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในการนำเสนอข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ เช่นการอ้างอิงข้อมูลจากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” แทนการบังคับ (mandate)  เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการดูแล  ป้องกัน และรักษาโรคโควิด 2019 (The Role of Genomic Health Literacy in COVID-19 management) และถือเป็นหนึ่งในหน้าที่สำคัญของศูนย์จีโนมฯในการนำเสนอ “ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ปราศจากการชี้นำ” สู่ประชาชนคนไทยโดยตรงให้ได้รับรู้เพื่อเท่าทันโรค เปลี่ยนจากความตระหนกมาเป็นความตระหนัก “ประชาชนจะมีข้อมูลมากพอเพียงที่จะสามารถตัดสินใจดูแลและรักษาตนเอง" หลายคนกล่าวว่า "หนึ่งชีวิตของเขาขอมีส่วนร่วมในการตัดสิ้นใจ" การ์ดของคนส่วนใหญ่จะถูกยกสูงด้วยความสมัครใจ เมื่อการ์ดถูกยกสูงย่อมเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมติดตามมา

3.ถาม : จำนวนผู้ติดเชื้อ BA.4, BA.5, และ BA.2.12.1 ที่ตรวจพบในประเทศไทย และได้อัปโหลดขึ้นบนฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID”  ปัจจุบันมีจำนวนกี่ราย

ตอบ :  จำนวนผู้ติดเชื้อ BA.4, BA.5, และ BA.2.12.1 ที่ตรวจพบในประเทศไทย ถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม และได้อัปโหลดข้อมูลรหัสพันธุกรรมขึ้นบนฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID”  ปัจจุบัน (23/6/2565) มีจำนวน 32, 49, 25 ตามลำดับ 

4.ถาม :  ประเทศใดในยุโรปที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตเนื่องจากการระบาดของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4/BA.5 มากที่สุด

ตอบ : โปรตุเกสกำลังเผชิญกับระบาดของโอไมครอน สายพันธุ์ย่อย  BA.4 และ BA.5  ระลอกใหม่โดยจำนวนผู้ติดเชื้อต่อล้านคนมีค่าเฉลี่ย 7 วันอยู่ที่ 2,043 ราย ในวันจันทร์ที่ผ่านมา  ซึ่งเป็นอัตราผู้ป่วยรายใหม่สูงเป็นอันดับสองของโลก แม้ว่าจะลดลงบ้างจากระดับสูงสุดเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ 2,878 (ภาพ1) โดยมีผู้เสียเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ  คือ 178 คนในวันที่ 20 มิถุนายน 2565 (ภาพ2)



ข้อมูลจาก  :  ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics)

ภาพจาก : ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics)

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง