รีเซต

เช็กสิทธิประโยชน์ม.40 ม.39 ม.33 มีอะไรบ้าง-ได้รับเงินเยียวยาเท่าไรเช็กเลยที่นี่!

เช็กสิทธิประโยชน์ม.40 ม.39 ม.33 มีอะไรบ้าง-ได้รับเงินเยียวยาเท่าไรเช็กเลยที่นี่!
TNN ช่อง16
4 กันยายน 2564 ( 09:11 )
325

ข่าววันนี้ ( 4 ก.ย. 64 )จากกรณีความคืบหน้าสำนักงานประกันสังคมในการเยียวยาผู้ประกันตนทุกมาตราประกอบไปด้วยม.40 ม.39 ม.33  ที่เดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ใน 29 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา ระยอง ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี ตาก อ่างทอง นครนายก สมุทรสงคราม และสิงห์บุรี นอกจากผู้ประกันตนในมาตราต่างๆ จะได้รับเงินเยียวยาช่วยเหลือจากผลกระทบที่เกิดจากมาตรการควบคุมโควิดแล้ว การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนยังได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ซึ่ง TNN ได้รวบรวมมาให้แล้วดังนี้ 

 

1. สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 

เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย/เงินทดแทนการขาดรายได้

 

- สถานพยาบาลที่ระบุไว้ตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล หรือ เครือข่ายของสถานพยาบาลจะให้การรักษา โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เงินทดแทน 50 %  ของค่าจ้างเฉลี่ย ตามที่หยุดงานครั้งละไม่เกิน 90 วัน ในหนึ่งปีปฏิทินไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นโรคเรื้อรัง มีสิทธิไม่เกิน 365 วัน

 

ทุพพลภาพ

- เงินทดแทน 50 % ของ ค่าจ้างเฉลียตลอดชีวิต 

ค่ารักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลรัฐ : กรณีผู้ป่วยนอก เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น / ผู้ป่วยใน จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ด้วยระบบ DRG

ในสถานพยาบาลเอกชน : กรณีผู้ป่วยนอก เบิกได้ไม่เกิน 2,000 บาท/ เดือน / ผู้ป่วยใน เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท/เดือน

(เหมาจ่ายค่าพาหนะเพื่อรับบริการทางการแพทย์ เดือนละ 500 บาท) ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพได้สิทธิเช่นเดียวกับกองทุนเงินทดแทน

 

คลอดบุตร

- เหมาจ่าย 13,000 ต่อการคลอด 1 ครั้ง ใช้สิทธิได้ไม่เกิน 2 ครั้ง

- เงินสงเคราะห์ 50 %ของค่าจ้างเฉลี่ย 90 วัน 

 

ชราภาพ

- จ่ายเงินชราภาพครบ 180 เดือนจะได้รับบำนาญชราภาพ 20 %  ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ส่วนเกิน 12 เดือนจะให้เพิ่มอีก 1.5 %หากจ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับบำเหน็จชราภาพ เท่ากับจำนวนเงินสมทบของผู้ประกันตนที่จ่ายเฉพาะส่วนชราภาพเท่านั้น (จะได้รับเมื่อสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน และ มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์)

 

สงเคราะห์บุตร

- จ่ายเงินสมทบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือน ก่อนเดือนที่เกิดสิทธิ เงินสงเคราะห์ 400/บาท/บุตร/เดือน คราวละไม่เกิน 2 คน 

(สำหรับบุตรไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์)

 

ว่างงาน

- ถูกเลิกจ้างได้ 50 % ของค่าจ้างเฉลี่ยไม่เกิน 180 วัน ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างได้ 30% ของค่าจ้างเฉลี่ยไม่เกิน 90 วัน (ต้องขึ้นทะเบียนทำงานกับสำนักงานจัดหางานภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ที่ออกจากงาน ยกเว้นผู้ประกันตนมาตร 39)

 

การจ่ายเยียวยาผู้ประกันตนม.33 และ ม.39 ตามมาตรการเยียวยาโควิด-19

 

1. ลูกจ้างมาตรา 33 จ่าย 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างรายวัน สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท และจ่ายสมทบให้สัญชาติไทยอีก 2,500 บาทต่อคน ไม่เกิน 10,000 บาท

 

2. นายจ้างมาตรา 33 จ่าย 3,000 บาทต่อคน ลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คน

 

3. ผู้ประกันตนมาตรา 39 จ่ายรายละ 5,000 บาท

 

ไทม์ไลน์การรับเงินของผู้ประกันตนมาตรา 39

 

- การโอนเงินเยียวยาประกันสังคมมาตรา 39 ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด จะเริ่มโอนคนละ 5,000 บาท ในวันที่ 23 ส.ค. 

 

-  การโอนเงินเยียวยาประกันสังคมมาตรา 39 ในพื้นที่สีแดงเข้ม 16 จังหวัดหลัง  จะเริ่มโอนคนละ 5,000 บาท ในวันที่ 27 ส.ค. 

 

สำหรับกรณี ได้สิทธิแต่ไม่ได้รับเงินเยียวยา ว่า จากการโอนเงินรอบที่ผ่านมาพบปัญหา หลายท่านยังไม่ได้ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับบัตรประชาชน ทำให้การโอนเงินเยียวยาเข้าบัญชีไม่สำเร็จ 

 

"การโอนเงินรอบเก็บตกจะโอนเงินเยียวยาเข้าบัญชีของท่านซ้ำในทุกสัปดาห์ โดยมาตรา 39 , 40 โอนทุกวันพฤหัสบดี"

 

นอกจากนี้คณะรัฐมนตรียังเห็นชอบให้ขยายการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในพื้นที่ 13 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และอยุธยา

 

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนมาตรา 39  รับสิทธิเยียวยาไปแล้ว 5,000 บาท ต่อคน จะได้รับสิทธิเยียวยาเพิ่ม 5,000 บาท ต่อคน อีก 1 เดือน รวมเป็น 2 เดือน โดยมีผู้ประกันตนใน 13 จังหวัดได้รับสิทธิในครั้งนี้ จำนวน 6,171,082 คน รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 61,710,820,000 ล้านบาท โดยการอนุมัติจ่ายเงินในรอบ 2 ที่เพิ่มขึ้นมานั้น จะดำเนินการภายในเดือนกันยายนนี้

 

ไทม์ไลน์การรับเงินเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 33 

 

- 10 จังหวัดแรก (กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา) รับเงินวันที่ 4-6 สิงหาคม 

 

- 3 จังหวัดหลัง (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา ) รับเงินวันที่ 9 สิงหาคม 

 

- 16 จังหวัดเพิ่มเติม (นครราชสีมา ระยอง ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี ตาก อ่างทอง นครนายก สมุทรสงคราม และสิงห์บุรี) รับเงินวันที่ 20 สิงหาคม 

 

นอกจากนี้ ผู้ประกันตนมาตรา 33  หรือ ม.33 ใน 29 จังหวัดสีแดงเข้ม ที่รับเยียวยาคนละ 2,500 บาท ในรอบแรกไปเมื่อต้นเดือนสิงหาคม คาดว่า สำนักงานประกันสังคม  จะขออนุมัติกรอบวงเงินจาก ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพิ่มเติม เพื่อจะจ่ายเยียวยาอีกคนละ 2,500 บาท ภายในเดือนกันยายนนี้

 

2. สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนมาตรา 40 

 

- กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วยได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วัน/ปี

- การรักษาพยาบาลใช้สิทธิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือบัตรทอง 30 บาท

 

  • เงื่อนไขการรับสิทธิ
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 4 เดือน ก่อนประสบอันตราย/เจ็บป่วย
  • รักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับสิทธิวันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วันต่อปี
  • กรณีทุพพลภาพ
  • - ได้รับเงินทดแทนการขาดได้ตั้งแต่ 500 – 1,000 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี ตายก่อนครบ 15 ปี รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท
  • เงื่อนไขในการรับสิทธิ
  • - จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 6 เดือน ภายในระยะเวลา 10 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 500 บาทต่อเดือน 
  • - จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 12 เดือน ภายในระยะเวลา 20 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 650 บาทต่อเดือน
  • - จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 24 เดือน ภายในระยะเวลา 40 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 800 บาทต่อเดือน
  • - จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 36 เดือน ภายในระยะเวลา 60 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 1,000 บาทต่อเดือน
  • กรณีตาย
  • - ได้รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท
  • เงื่อนไขการรับสิทธิ
  • - ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 12 เดือนก่อนเสียชีวิต
  • กรณีชราภาพ (รับเงินบำเหน็จ)
  • - ได้เงินบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืนทั้งหมด
  • เงื่อนไขการรับสิทธิ
  • - เมื่อผู้ประกันตนมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หรือลาออก
  • - ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้ไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน

 

กรณีชราภาพ (รับเงินบำนาญ)

 

  • - ได้รับบำนาญรายเดือนขึ้นต่ำ 600 บาท/เดือน ตลอดจนเสียชีวิต
  • - กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ถึงหลักเกณฑ์ที่จะรับเงินบำนาญ (ขั้นต่ำ) จะได้รับเงินบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืนทั้งหมด
  • - ได้รับบำนาญแล้วเสียชีวิตภายใน 60 เดือน ทายาทได้รับเงินบำเหน็จ 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน
  • - กรณีทุพพลภาพก่อนได้รับบำนาญ จะมีสิทธิขอรับบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืน
  • เงื่อนไขการรับสิทธิ
  • - ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบครบหลักเกณฑ์ที่จะรับเงินบำนาญ (ขั้นต่ำ) หรือจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 420 เดือน (35 ปี)
  • - ผู้ประกันตนจะต้องมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หรือลาออก
  • - ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้ไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน
  • - ผู้ประกันตนสามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้ไม่เกินเดือน พฤษภาคม 2555

-  เงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตน ผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จได้แก่ บุคคล ดังต่อไปนี้

 

สามี ภริยา บิดาและมารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน 

  • กรณีไม่มีผู้สิทธิตามข้อที่ระบุ
  • -ให้จ่ายแก่บุคคล ซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จชราภาพ

 

หมายเหตุ หากมีการนำส่งเงินสมทบต่อเนื่องทุกเดือนจะได้รับเงินกรณีชราภาพขั้นต่ำ (ยังไม่รวมผลตอบแทน) หรือดอกเบี้ย 

 

ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ 1-12 แห่ง/จังหวัด/สาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

 

สำหรับการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 นอกจากเพื่อรับสิทธิเงินเยียวยา 5,000 บาท ตามมาตรการเยียวยาโควิดของรัฐบาลจะมีสิทธิประโยชน์ 3 ทางเลือกดังนี้

 

  • 1.จ่าย 70 บาท/เดือน 
  • 2. จ่าย 100 บาท/เดือน 
  • 3.จ่าย 300 บาท/เดือน
  •  

คุณสมบัติผู้สมัครประกันสังคมมาตรา 40 มีดังนี้

 

  • 1.มีสัญชาติไทย
  • 2.อายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
  • 3.แรงงานอิสระหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ
  • 4.ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน (ม.33)
  • 5.ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ  (ม.39)
  • 6.ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • 7.ผู้ถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้นด้วย000)
  • 8.ผู้พิการที่รับรู้สิทธิก็สมัครได้

 

การจ่ายเยียวยาผู้ประกันตนม.40 ตามมาตรการเยียวยาโควิด-19

 

1. ผู้ประกันตนมาตรา 39, มาตรา 40 จ่ายรายละ 5,000 บาท

 

2. ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (Freelance) ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนและไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อจะได้รับ 5,000 บาท

 

ไทม์ไลน์การรับเงินของผู้ประกันตนมาตรา 40

 

ผู้ประกันตมาตรา 40 ใน 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา โดยเป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบภายใน 31 กรกฎาคม 2564 หรือ สมัครภายใน 31 กรกฎาคม 2564 และชำระเงินสมทบงวดแรกภายใน 10 สิงหาคม 2564

 

- วันที่ 24 สิงหาคม 2564 เรียงตามเลขนำหน้าบัตรประชาชน 10 - 16

- วันที่ 25 สิงหาคม 2564 เรียงตามเลขนำหน้าบัตรประชาชน 17 - 34

- วันที่ 26 สิงหาคม 2564 โอนเงินเรียงตามเลขนำหน้าบัตรประชาชน 35 - 89

 

ผู้ประกันตน มาตรา 40 ใน 16 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ปราจีนบุรี ตาก นครนายก นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง) สมัครและจ่ายเงินสมทบงวดแรกภายใน 3 สิงหาคม 2564

 

- โอนเงิน 27 สิงหาคม 2564 ยกเว้น ฉะเชิงเทรา ชลบุรี อยุธยา ที่สมัครช่วงวันที่ 4 - 24 สิงหาคม 2564 ต้องรอระบบประมวลผลวันจ่ายอีกครั้ง

 

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนมาตรา 40  รับสิทธิเยียวยาไปแล้ว 5,000 บาท ต่อคน จะได้รับสิทธิเยียวยาเพิ่ม 5,000 บาท ต่อคน อีก 1 เดือน รวมเป็น 2 เดือน โดยมีผู้ประกันตนใน 13 จังหวัดได้รับสิทธิในครั้งนี้ จำนวน 6,171,082 คน รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 61,710,820,000 ล้านบาท โดยการอนุมัติจ่ายเงินในรอบ 2 ที่เพิ่มขึ้นมานั้น จะดำเนินการภายในเดือนกันยายนนี้

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง