รีเซต

ประวัติ วัฒน์ วรรลยางกูร เขาคือใคร? หลังเสียชีวิตที่ฝรั่งเศส

ประวัติ วัฒน์ วรรลยางกูร เขาคือใคร? หลังเสียชีวิตที่ฝรั่งเศส
TeaC
22 มีนาคม 2565 ( 11:33 )
770

ข่าววันนี้ วัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียนชาวไทย เจ้าของรางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ.2550 เสียชีวิตแล้วที่ฝรั่งเศส หลังจากลี้ภัยไปอยู่ที่นั่น วันนี้จะพามาทำความรู้จักกับเขาคนนี้

 

ประวัติ วัฒน์ วรรลยางกูร

 

สำหรับ ประวัติ วัฒน์ วรรลยางกูร เป็นนักเขียนชาวไทย ที่ปรึกษาสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย และสมาชิกสมาคมนักประชาธิปไตยชาวไทยไร้พรมแดน เขาเกิดที่ตำบลตลุง อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นบุตร นายวิรัตน์ วรรลยางกูร และ นางบุญส่ง วรรลยางกูร โดยเขาสมรสกับนาง อัศนา วรรลยางกูร มีบุตร 3 คน นาย วนะ วรรลยางกูร นาย วสุ วรรลยางกูร และ นางสาว วจนา วรรลยางกูร

วัฒน์ วรรลยางกูร ศึกษาที่ไหนบ้าง? 

  • พ.ศ. 2505 เข้าเรียนชั้นประถมปีที่ 1 ที่โรงเรียนประชาบาลวัดดาวเรือง ปทุมธานี
  • พ.ศ. 2508 เข้าเรียนชั้นประถมปีที่ 5 ศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ฯ ลพบุรี
  • พ.ศ. 2514 เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี โดยไปเป็นเด็กวัดอยู่ในเมืองลพบุรี สอบตกชั้นม.ศ.5 เพราะกำลังเริ่มสนใจการประพันธ์อย่างจริงจัง จนต้องเรียนซ้ำชั้น แต่สอบเทียบได้จึงเลิกเรียนและเข้ากรุงเทพฯ
    ต้นปี พ.ศ. 2517 สมัครเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่เรียนอยู่เพียง 2 เดือน ก็เลิกแล้วหันไปทำงานด้านหนังสือพิมพ์จริงจัง
  • พ.ศ. 2546 ได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาไทย จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

 

เส้นทางสายนักเขียน

ในด้านการประพันธ์ เนื่องจากมีโอกาสอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็ก เพราะใกล้ชิดคุณตาที่ชอบอ่านหนังสือมวยและมีนวนิยายอยู่มาก ส่วนบิดาอ่านนิตยสารคุณหญิงที่มีคอลัมน์ “แวดวงกวี” เมื่อเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 7 จึงเริ่มเขียนกลอนรักให้เพื่อนนักเรียนหญิง ต่อมาได้ออกหนังสือเพื่ออ่านกันในห้องเรียน เป็นหนังสือเขียนด้วยลายมือโดยเป็นผู้เขียนบทบรรณาธิการบริหาร อีกทั้งยังได้เขียนเรื่องสั้นไปลงในหนังสือโรเนียวของโรงเรียนที่ครูมีส่วนร่วมจัดทำขึ้น ใช้นามปากกา “วัฒนู บ้านทุ่ง” พร้อม ๆ กันนั้นได้ส่งผลงานทั้งกลอนและเรื่องสั้นไปยังนิตยสารชัยพฤกษ์ ฟ้าเมืองไทย ฯลฯ

 

แม้ระยะแรกไม่ได้ลงพิมพ์ แต่ก็ยังเขียนให้เพื่อน ๆ อ่าน จนในที่สุด เรื่องสั้นชื่อ “คนหากิน”ได้ลงพิมพ์เป็นครั้งแรกในหนังสือ ยานเกราะ เมื่อ พ.ศ. 2513 หลังจากส่งไปให้พิจารณาทั้งหมด 4 เรื่อง และแม้ว่าบรรณาธิการจะแก้ไขมากมาย แต่ก็ทำให้มีกำลังใจเพิ่มขึ้น จากนั้นไม่นาน ผลงานกลอนที่ส่งไปประกวดได้ลงพิมพ์ในนิตยสาร ชัยพฤกษ์ และเรื่องสั้นชื่อ “มุมหนึ่งของเมืองไทย”ได้ลงพิมพ์ใน “เขาเริ่มต้นที่นี่”ของนิตยสาร ฟ้าเมืองไทย ที่มีอาจินต์ ปัญจพรรค์ เป็นบรรณาธิการ ขณะนั้นเป็นช่วงปิดภาคเรียนชั้นมัธยมปีที่ 2

 

หลังจากนั้น มีผลงานกลอนและเรื่องสั้นเผยแพร่ตามนิตยสารต่าง ๆ มากขึ้น เช่น ฟ้าเมืองไทย ชาวกรุง ลลนา ฯลฯ ในนาม “วัฒน์ วรรลยางกูร” (ชื่อเดิม “วีรวัฒน์” ต่อมาเมื่อนามปากกาเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ประกอบกับมีปัญหาเรื่องการเบิกค่าเรื่องจึงแก้ไขชื่อในบัตรประชาชน) ระหว่างที่เรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้มีโอกาสคลุกคลีกับมิตรสหายในแผนกวรรณศิลป์ ได้รู้จักกับนักเขียนนักกิจกรรมหลายคน และได้รับคำแนะนำให้ไปทำหนังสือพิมพ์อธิปัตย์ ของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2517 จึงได้ฝึกฝนเขียนข่าว บทความ สารคดี เรื่องสั้นและนวนิยายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะได้เขียนคอลัมน์ประจำชื่อ “ช่อมะกอก” ใช้นามปากกา “ชื่นชอบ ชายบ่าด้าน” ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นเรื่องชุดในชื่อ “ตำบลช่อมะกอก”และกลายเป็นนวนิยายเรื่อง “ตำบลช่อมะกอก”ในที่สุด รวมทั้งมีผลงานรวมเรื่องสั้นและบทกวีพิมพ์ต่อเนื่องมาอีก ๒ เล่มคือ “นกพิราบสีขาว” (พ.ศ. 2518) และ “กลั่นจากสายเลือด” (พ.ศ. 2519) ทำให้ชื่อเสียงของวัฒน์ วรรลยางกูร เป็นที่รู้จักของคนหนุ่มสาวเดือนตุลา (14 ตุลาคม 2516-6 ตุลาคม 2519) อย่างกว้างขวาง

 

วัฒน์มีผลงานมากมาย ทั้งเรื่องสั้น นวนิยาย สารคดี บทวกี เพลว ความเรียง และสาระนิยาย ถือได้ว่าเป็นนักเขียนที่มีความสามารถหลากหลาย และมีสไตล์การเขียนเป็นแบบเฉพาะที่ทำให้หนอนหนังสือชื่นชอบตามหาหนังสือ อ่านและสะสม อาทิ

 

รวมเรืองสั้น

  • นกพิราบสีขาว (2518) เมื่อพิมพ์ครั้งที่สอง เปลี่ยนชื่อเป็น ความหวังเมื่อเก้านาฬิกา (2523)
  • กลั่นจากสายเลือด (2519)
  • ข้าวแค้น (2522)
  • น้ำผึ้งไพร (2523)
  • ใต้เงาปืน
  • ฯลฯ

นวนิยาย

  • ตำบลช่อมะกอก (2519) โครงการรู้จักเพื่อนบ้านของมูลนิธิโตโยต้า คัดเลือกไปแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น
  • ด้วยรักแห่งอุดมการณ์ (2524)
  • คือรักและหวัง (2525) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ประจำปี พ.ศ. 2528
  • บนเส้นลวด (2525)
  • มนต์รักทรานซิสเตอร์ (2524) และถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ปี พ.ศ. 2544 โดยผู้กำกับเป็นเอก รัตนเรือง
  • ฯลฯ

 

บทกวี วัฒน์ วรรลยางกูร

  • ฝันให้ไกลไปให้ถึง (2523) (ใช้ชื่อ “รอยสัก” 2528)
  • เงาไม้ลายรวง (2534) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ประจำปี พ.ศ. 2534
  • กระท่อมเสรีภาพ (2538)
  • เสน่หาป่าเขา (2538)
  • ฯลฯ

 

รางวัลที่ วัฒน์ ได้รับ 

  • รางวัลศรีบูรพา ประจำปี 2550
  • รางวัลชมเชยประเภทสารคดี สพฐ. กระทรวงศึกษาธการ
  • รางวัลเรื่องสั้นดีเด่นสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย

 

วัฒน์ วรรลยางกูร เสียชีวิตแล้วที่ฝรั่งเศส

ทั้งนี้ 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง