สรท.คาดส่งออกยังไม่ฟื้นตัวปีนี้ -10%
วันนี้(4ส.ค.63) น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือ สรท. ระบุ การส่งออกเดือนมิถุนายน 2563 มีมูลค่ามีมูลค่า 16,444 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯหดตัว-23.17%เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อหักทองคำ น้ำมันและอาวุธยุทธปัจจัย เดือนมิถุนายนการส่งออกหดตัว-17.20% ส่งผลให้ครึ่งปีแรก (ม.ค.- มิ.ย.ปี 2563) ไทยส่งออกรวมมูลค่า 114,342 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ยังหดตัว-7.09%
ทั้งนี้ สรท.คงคาดการณ์การส่งออกไทยในปี2563 หดตัว-10% บนสมมติฐานค่าเงิน 31.5 (+-0.5)บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญ ได้แก่ 1) การส่งออกในกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการ work from home ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อาทิ สินค้าเกษตรแปรรูปและอาหารผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป และอาหารกระป๋องและแปรรูป เนื่องด้วยความกังวลในสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ประชาชนมีอุปสงค์ในการสำรองสินค้าอาหารเพื่อดำรงชีพในช่วงการlockdown รวมถึงอาหารสัตว์เลี้ยง และสินค้าเฟอร์นิเจอร์เพื่อการตกแต่งบ้านและ 2)ความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด–19 โดยเอกชนมีความคาดหวังว่าจะสามารถพัฒนาวัคซีนจะพร้อมใช้งานได้เร็วที่สุด เพื่อให้ประชาชนและภาคธุรกิจกลับมาสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้น
ขณะที่ปัจจัยเสี่ยง มีหลายด้าน ทั้งผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกที่ยังคงมีความรุนแรง //สถานการณ์ขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน // ราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับต่ำกว่าปี 2562 // ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงแต่ยังต่ำกว่าความคาดหวังของผู้ประกอบการส่งออกที่ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงจากผลของสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ทั่วโลกที่ยังไม่คลี่คลาย ประกอบกับความกังวลในสถานการณ์รอบที่ 2 ภายในประเทศและเสถียรภาพทางด้านการเมือง // การขาดสภาพคล่องการเงินของผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจ ประกอบกับผลของการชำระเงินล่าช้าหรือไม่ชำระเงินของคู่ค้าจากผลกระทบการระบาดโควิด-19ทำให้ผู้ประกอบการมีความต้องการเข้าถึงวงเงินสินเชื่อเพื่อดำรงสภาพคล่องในธุรกิจของตนและ //ปัญหาด้านโลจิสติกส์
อย่างไรก็ตาม สทร.ยังมีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ โดยให้เร่งรัดการดำเนินมาตรการเยียวยาด้านการเงินสำหรับเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และเสนอให้ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ต้องเข้ามาเพิ่มการค้ำประกันให้กับการกู้เงินของภาคเอกชนจากธนาคารพาณิชย์ เป็นรายบริษัท ทั้งนี้ ต้องสนับสนุนเงินทุนเพิ่มเติมให้กับ บสย.เพื่อให้มีวงเงินที่เพียงพอ 2)ขอให้ผู้ว่าการ ธปท. คนใหม่ เข้าใจความเดือดร้อนของภาคธุรกิจ และมุ่งดำเนินการให้สามารถแก้ไขปัญหาได้จริง อาทิ รักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทให้อยู่ระดับ 34 บาท/เหรียญสหรัฐฯ และผ่อนปรนนโยบายการปล่อยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ (Soft loan) และขอให้มีการขยายอายุของ พรก.เงินกู้ฯ ให้เป็น 5 ปี
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE