รีเซต

นักวิจัยเฝ้าระวัง “ไฟป่า” พัฒนา “โดรนจรวด” บินลัดเลาะที่แคบช่วยดับเพลิง

นักวิจัยเฝ้าระวัง “ไฟป่า” พัฒนา “โดรนจรวด” บินลัดเลาะที่แคบช่วยดับเพลิง
TNN ช่อง16
11 กรกฎาคม 2568 ( 00:51 )
10

ทีมวิจัยจาก มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) ประเทศสหรัฐอเมริกา และทีมวิจัยจาก มหาวิทยาลัยลินเชอปิง (Linköping University) ในสวีเดน จับมือพัฒนา โดรนบินช่วยดับไฟป่า ทำออกมาในหน้าตาคล้ายกับ “จรวด” ต่างจากโดรนทั่วไปที่มักจะใช้ใบพัดสี่มุมแบบดั้งเดิม

หน้าตาของโดรนบิน

โดรนบินรุ่นนี้มีชื่อว่า ไฟร์ฟลาย (FireFly) เป็นโดรนต้นแบบที่ออกแบบให้มีใบพัดเพียงใบเดียวอยู่ภายในลำตัวทรงกระบอก ซึ่งพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และอาศัยการรับอากาศและลมในการบินและลอยตัวในอากาศ 

หลักการทำงานของโดรนบิน

โดยตัวโดรนจะดูดอากาศจากด้านข้างผ่านตาข่าย แล้วพ่นลงด้านล่าง เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อน คล้ายกับจรวด โดยมีส่วนที่ออกแบบคล้ายปีกที่ช่วยให้มันเคลื่อนที่ได้อย่างแม่นยำ ทรงตัวและรักษาระดับอยู่ในอากาศได้ โดยสามารถบินได้สูงสุดที่ความสูงประมาณ 60 เมตร และมีระยะการบินแนวนอนสูงสุดประมาณ 30 เมตรจากจุดปล่อย

เป้าหมายการพัฒนาโดรนบิน

เป้าหมายของการพัฒนาโดรนรูปร่างแปลกตานี้ ก็เพื่อเป็นต้นแบบของแพลตฟอร์มโดรนอัตโนมัติ ที่สามารถนำไปทำงานร่วมกันได้หลายลำ ปรับเปลี่ยนได้ง่าย และราคาไม่แพง สำหรับการจัดการไฟป่า 

จุดเด่นของโดรนบิน

โดยจุดเด่นของโดรนลำนี้นอกจากรูปทรงที่ทำให้เคลื่อนที่ไปตามแนวป่าได้ง่ายแล้ว ยังทำจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบาและแข็งแรง เพื่อให้มันสามารถบินผ่านต้นไม้ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ อีกทั้งยังสะดวกต่อการพกพาของนักดับเพลิง ไม่เพิ่มน้ำหนักในกระเป๋าอุปกรณ์ของเจ้าหน้าที่มากนัก

การนำโดรนบินไปใช้งานจริง

เมื่อปล่อยในป่าโดรนบิน ไฟร์ฟลาย (FireFly) จะขึ้นไปสูงเหนือยอดไม้ เพื่อทำการสแกนแบบพาโนรามา 360 องศาเต็มรูปแบบ เซ็นเซอร์บนโดรนจะเก็บข้อมูลทั้งหมด รวมถึงวิดีโอ ข้อมูลระยะไกล และการอ่านค่าสภาพแวดล้อม ซึ่งจะถูกส่งแบบไร้สายแบบเรียลไทม์ไปยังตัวควบคุมภาคพื้นดิน ขณะปฏิบัติภารกิจ

นอกจากการดับเพลิงแล้ว ทีมพัฒนาคิดว่าโดรนลำนี้สามารถนำไปใช้ในภารกิจการค้นหาและกู้ภัยในป่า รวมถึงการบินสำรวจในพื้นที่แคบ ๆ ในอาคารที่โดรนสี่ใบพัดแบบดั้งเดิม อาจใช้งานได้ไม่สะดวกเท่า เพิ่มโอกาสในการทำภารกิจให้สำเร็จมากยิ่งขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง