รีเซต

กรมวิทย์เผยพบชายไทย อาจติด 'โอไมครอน' เป็นรายที่ 4 รอถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว

กรมวิทย์เผยพบชายไทย อาจติด 'โอไมครอน' เป็นรายที่ 4 รอถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว
ข่าวสด
9 ธันวาคม 2564 ( 14:41 )
34

กรมวิทย์เผยพบชายไทย 1 ราย เจ้าหน้าที่ยูเอ็นกลับจากดิอาร์คองโก มีแนวโน้มเป็นโอไมครอนรายที่ 4 กำลังถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว เตรียมสอบสวนหาผู้สัมผัสเพิ่มเติม

 

วันที่ 9 ธ.ค.64 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงสถานการณ์โควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และเครือข่ายได้เฝ้าระวังการตรวจรหัสพันธุกรรมมาโดยตลอดตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ 1.ตรวจด้วยวิธี SNP ตรวจเฉพาะตำแหน่งยีน ที่เป็นลักษณะเฉพาะของสายพันธุ์นั้น เพื่อดูสายพันธุ์เบื้องต้น เช่น เดลตา เบตา อัลฟา

 

และ 2.ตรวจด้วย WGS หรือถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว เพื่อยืนยันอีกครั้ง ดังนั้น เราจึงตรวจ 2 วิธี แต่ไม่จำเป็นต้องตรวจยืนยันในทุกราย สำหรับการตรวจสะสมตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. - 7 ธ.ค. 2564 ทั้งผู้เดินทางจากต่างประเทศและคนในประเทศ รวม 1,649 ตัวอย่าง เจอเดลตาเกือบทั้งหมดราว 99% ยกเว้น 4 รายเป็นโอไมครอนไม่ถึง 1%

 

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า ส่วนที่เคยแจ้งไปมีโอกาสจะเป็น 2 ราย คือหญิงไทยที่ไปร่วมประชุมและกลับมาตรวจพบ ซึ่งหายดีแล้ว คอนเฟิร์มผลตรวจถอดรหัสพันธุกรรมวันนี้ยืนยัน ถือว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยโอไมครอน 3 รายที่ได้รับการยืนยัน ส่วนเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. เราได้ตัวอย่างมา 1 ราย เป็นชายไทย อายุ 41 ปี เจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติ เดินทางจากประเทศดิอาร์คองโก เข้าไทยผ่านระบบ Test&go มีประวัติรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ซึ่งตรวจเบื้องต้น SNP พบเหมือนกรณี 2 หญิงไทยและชาวอเมริกันที่เคยพบ โผล่ขึ้นมาทั้ง 4 ตำแหน่ง วินิจฉัยว่ามีโอกาสเป็นโอไมครอนอีก 1 ราย กำลังนำเข้าสู่การตรวจถอดรหัสพันธุกรรม 1-2 วันจะออกมาคนเฟิร์มว่าใช่หรือไม่อย่าไร

 

กรมควบคุมโรคประสาน รพ.ที่ส่งมาตรวจ เข้าใจว่าอยู่ รพ. ต้องมีการกักตัวดูแลเมที่ สอบสวนหาคนมีโอกาสเสี่ยง จะได้นำตัวอย่างมาตรวจต่อไปว่ามีหรือไม่อย่างไร สรุปประเทศไทยมีคอนเฟิร์มโอไมครอน 3 ราย เป็นชาวอเมริกัน 1 รายและเป็นหญิงไทย 2 รายที่เดินทางจากประเทศไนจีเรีย ส่วนรายที่ 4 เป็นชายไทยเดินทางมาจากต่างประเทศ ย้ำว่ายังไม่พบเคสที่เกิดขึ้นในประเทศ ขณะนี้ผลตรวจรายที่ 4 เบื้องต้นมีแนวโน้มว่าจะเป็นโอไมครอน ขอรอผลการตรวจยืนยันอีกครั้ง

 

นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า ส่วนข่าวที่ว่าโอไมครอนมีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ย่อย คือ BA2 ของเดิม คือ BA1 ซึ่งมี S ยีนหายไปบางส่วนที่เราเอามาวินิจฉัย แต่ปรากฏว่าสายพันธุ์ย่อยไม่หาย แต่กลับมา กังวลว่าจะหลอกการตรวจเราได้ไหม ทำให้ตรวจวิธี RT-PCR มีปัญหา ยืนยันว่าหลอกไม่ได้ ตอนนี้การตรวจเบื้องต้น SNP การบอกว่าจะสงสัยโอไมครอน เดิมถ้าเราเจอเหมือนอัลฟา เบตาในตัวอย่างเดียวกันจะสรุปเป็นโอไมครอน แต่หากตีเนียนหาส่วนอัลฟาไม่เจอ เพราะส่วนที่หายนั้นไม่หาย เราดักด้วยการตรวจอีก 2 ตัว คือ T478K และ N501Y ดังนั้น 4 รายที่เราตรวจว่าเป็นโอไมครอน เราตรวจทั้ง 4 ตำแหน่ง เนียนไม่ได้ กรมฯ จับได้อยู่แล้ว ขอให้สบายใจ ยังไม่เป็นปัญหาอะไร ยกเว้นกลายพันธุ์จนเป็นคนละเรื่องราว

ส่วนการตรวจ ATK ยังเจอโควิดโอไมครอน เนื่องจากโปรตีนที่ใช้ผลิต ATK ไม่ได้มีปัญหาที่โอไมครอนจะหลบได้ แต่ย้ำว่าการตรวจต้องตรวจให้ถูก การเก็บตัวอย่าง อาจต้องตรวจซ้ำ เพราะเชื้อน้อยอาจจะไม่ขึ้นไม่ว่าพันธุ์ไหนก็ตาม อย่าวิตกกังวลอะไรมาก อย่างไรก็ไปทั่วโลก และขณะนี้มี 4 รายที่เราสุ่มเฝ้าระวังจากพันกว่าถือว่าน้อยมาก สัดส่วนอาจจะเพิ่มขึ้น แต่ข่าวด้านดีคือไม่ค่อยรุนแรงมากนัก ยังไม่มีผู้เสียชีวิต แต่ข้อมูลทั้งหลายอาจจะมีเช่น อาจจะหลบวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็มมา 40 เท่า แต่ดูจากจำนวนตัวอย่างแค่ 6 ราย อาจจะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จึงต้องติดตามดู แต่มาตรการพื้นฐานและวัคซีนยังเป็นเกราะป้องกันเราดีที่สุด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง