รีเซต

เลขารมว.ยุติธรรม-รองอธิบดีดีเอสไอ ล่องเรือหา หลักฐานคดีแตงโมเพิ่มเติม

เลขารมว.ยุติธรรม-รองอธิบดีดีเอสไอ ล่องเรือหา หลักฐานคดีแตงโมเพิ่มเติม
มติชน
6 มิถุนายน 2565 ( 21:13 )
110
เลขารมว.ยุติธรรม-รองอธิบดีดีเอสไอ ล่องเรือหา หลักฐานคดีแตงโมเพิ่มเติม

เมื่อเวลา 17.00 น.วันที่ 6 มิ.ย.65 ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่ท่าเรือพิบูลสงคราม 1 อ.เมืองจ.นนทบุรี ร.ต.ธนกฤต จิตอารีย์รัตน์ เลขารมว.กระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่หน่วยงานกรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI) ลงเรือตรวจสอบพยานหลักฐานเพิ่มเติมหลังจากที่นายอัจริยะฯได้ยื่นหนังสือให้กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI) โดยเจ้าหน้าที่ได้เริ่มลงล่องเรือจากท่าเรือพิบูลสงคราม 2 กฟผ.บางกรวย ใต้สะพานพระราม 7 และวนกลับมายังท่าเรือพิบูลสงคราม 1 รวมถึงจุดกลางเเม่น้ำที่ดาราสาวแตงโมนิดาพลัดตกเรืออย่างเป็นปริศนาเสียชีวิต เพื่อนำไปสู่หลักการวินิจฉัยว่าจะคดีนี้สามารถเป็นฆาตกรรมได้หรือไม่

 

ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตอารีย์รัตน์ เลขา รมว.กระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า สืบเนื่องจากนายอัจริยะฯได้มายื่นหนังสือถึง DSI จึงมีการตั้ง คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง การที่คุณอัจฉริยะยื่นหนังสือเรื่องนี้มาถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตามต้องอธิบายให้สื่อมวลชนได้รับทราบว่า การที่จะขึ้นเป็นคดีพิเศษต้องมีพยานหลักฐานเพียงพอและข้อเท็จจริง ในกรณีดังกล่าวต้องแยกเป็น 2 ส่วน เป็นเรื่องที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการ ในเรื่องของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ส่วนต่อมาคือคุณ อัจฉริยะที่ยื่นเรื่องเป็นคดีฆาตกรรมในสำนวนการสอบสวนก็มียื่นมาแล้วว่าใครเป็นผู้ที่ฆ่า

 

แต่อย่างไรก็ตามถ้าผู้ใดฆ่าผู้อื่น พนักงานสอบสวนก็ต้องแสวงหาข้อเท็จจริง ซึ่งตอนนี้ DSI นั้นมีการดำเนินการในเรื่องของสอบปากคำและสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องได้เยอะพอสมควร หากว่าทุกอย่าง เป็นไปตามเงื่อนไขคดีพิเศษได้ ตอนนี้ก็มั่นใจว่าสามารถยกเป็นคดีพิเศษได้เช่นกัน หากว่าพยานหลักฐานมันไปต่อไม่ได้ ก็ไม่สามารถดำเนินการยกเป็นคดีพิเศษได้ ซึ่งทางDSI ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ในเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นกระแสสังคมตนยืนยันว่าเราทำงานตรงไปตรงมา เมื่อปี 2564 มีประชาชนยื่นเรื่องเข้ามา 26,000 กว่าเรื่อง ทาง DSI ทำแล้วเสร็จไปเหลือเพียง 400 กว่าเรื่อง ดังนั้นถ้ามีพยานหลักฐานใดสำคัญทาง DSI ก็จะไม่ปล่อยผ่านไปอย่างแน่นอน

 

 

พ.ต.ท.พเยาว์ ทองเสน รอง อสพ.กล่าวว่า ตนได้รับการร้องขอจากนายอัจริยะ ก็ได้มีการดำเนินการในเรื่องหลักๆตามประเด็นที่นายอัจริยะฯให้ข้อมูลกับเราที่มีการกล่าวอ้างถึงพยานบุคคลหรือสิ่งต่างๆ ทางเราก็ไปดำเนินการให้เพื่อพิสูจน์ทราบว่ามีหลักฐานและข้อเท็จจริงเพียงพอถึงมูลเหตุในเรื่องฆาตกรรมหรือไม่ ซึ่งจุดประสงค์หลักก็เพื่อที่จะแสวงหาหลักฐานว่ามีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่ามีการ ฆาตกรรมเกิดขึ้นที่นายอัจริยะได้มายื่นเรื่อง วันนี้เองก็มีประเด็นของนายอัจริยะที่ยื่นเรื่องมาทาง DSI อยากพิสูจน์ทราบบางอย่างจึงลงเรือมาดำเนินการในวันนี้ ส่วนประเด็นที่ได้รับข้อมูลมายังไม่ขอให้ข้อมูลกับสื่อมวลชน ในการลงพื้นที่ในวันนี้ก็จะนำไปสู่หลักการวินิจฉัยว่าจะเป็นคดี ฆาตกรรมได้หรือไม่ ซึ่งตอนนี้ทางเราก็ได้มีการติดต่อประสานนายอัจริยะเพื่อเรียกให้มาพบเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงแต่ไม่มีการตอบรับจากนายอัจริยะ คงคิดว่าทาง DSI ไม่อยากรับเป็นคดีพิเศษ ทางเราไม่ได้ไม่รับทำคดีเนื่องจากเกรงใจพนักงานสอบสวน แต่เรามีกระบวนการขั้นตอนปฎิบัติของเราที่จะรับเป็นคดีพิเศษหรือไม่

 

พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผ.อ.กองบริหารคดีพิเศษ กล่าวว่า ในส่วนของ DSI ก็รับประเด็นที่ผู้ร้องนั้นสงสัย ในประเด็นว่าบาดแผลเกิดจากรอยมีดหรือไม่ ประเด็นของบาดแผลที่พบในส่วนต่างๆของร่างกายว่าเป็นการจมน้ำปกติหรือฆาตรกรรม รวมถึงประเด็นอื่นๆด้วย ซึ่งที่ผ่านมาอาจจะไม่ได้นำเสนอผ่านสื่อมากนักแต่มีการทำงานแบบคู่ขนานกันไปอยู่แล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง