รีเซต

การผลักดันสหกรณ์สู่ความเข้มแข็งในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน

การผลักดันสหกรณ์สู่ความเข้มแข็งในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
77ข่าวเด็ด
8 พฤษภาคม 2563 ( 05:49 )
225

 

ปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)มีสมาชิก รวมกัน 10 ประเทศโดยมีการค้าขายภายใต้เงื่อนไข งดเก็บภาษีการค้าและบริการ ประชาชน ในแต่ละประเทศมีการเคลื่อนย้ายข้ามแดนได้สะดวกยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีการแข่งขันทางการค้า อย่างรุนแรงและกว้างขวาง ดังนั้นการเคลื่อนย้ายเงินทุน จึงเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ สหกรณ์
เป็นองค์กรทางธุรกิจที่ให้บริการแก่บรรดาสมาชิก กระบวนการสหกรณ์ในประเทศไทยเป็นอย่างไร เป็นคำถามที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องทราบดีว่ายังขาดความรู้ ความสามารถ ขาดความ
ชำนาญ และขาดทักษะสินค้าและบริการของสหกรณ์ ขาดการพัฒนา ประกอบกับบุคลากร ในสหกรณ์ไม่ได้รับการพัฒนาทักษะ หรือการเรียนรู้ด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งถือว่าเป็น
จุดอ่อนในการแข่งขันในยุคที่เปิดเสรีทางการค้า


ฉะนั้น หน่วยงานกำกับดูแล และคนของสหกรณ์ จึงต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งในระบบสหกรณ์ โดยพิจารณานำจุดแข็งของสหกรณ์ มาเป็นประเด็น
เพื่อวางแผนปรับปรุงภายใต้กรอบแนวคิดที่ว่า ธุรกิจของสหกรณ์เป็นธุรกิจภายใต้ อุดมการณ์หลักการ และวิธีการสหกรณ์ซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับและระเบียบที่สหกรณ์กำหนดสหกรณ์มีลูกค้าเป็นเจ้าของและผู้ใช้บริการ

 

ประการแรกที่ควรนำมากำกับสหกรณ์ คือ หลักธรรมาภิบาลเพราะหลักธรรมาภิบาลเป็นพื้นฐานส าคัญเหมาะสมที่จะน ามาพัฒนาสหกรณ์ให้เข้มแข็งด้านการบริหาร
จัดการที่ประกอบไปด้วย 6 หลักได้แก่หลักนิติธรรมหลักคุณธรรมหลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบหลักความคุ้มค่าหลักธรรมาภิบาลจะเกิดขึ้นได้ และดำเนินการ ไปอย่างมีประสิทธิภาพต้องมีความร่วมมือกันระหว่างส่วนต่างๆในสหกรณ์

 

ขณะเดียวกันผู้มีส่วนร่วมในกิจการสหกรณ์ ซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจและระดับความรู้ ความสามารถในเชิงธุรกิจที่ไม่เท่าเทียมกัน การพัฒนาไปสู่การพัฒนาที่มั่นคงนั้นผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายต้องเข้าใจในบทบาท และหน้าที่ความรับผิดชอบของตนที่มีต่อสหกรณ์ เป็นการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสหกรณ์ ตั้งแต่ร่วมกันคิดและแก้ไขปัญหาร่วมกัน รับผิดชอบต่อผลการด าเนินงาน และร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมการท าความเข้าใจแนวคิดและสาระส าคัญของหลักธรรมาภิบาลการทบทวนหลักธรรมาภิบาลที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่สหกรณ์ต้องพิจารณาและในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันทุนเป็นปัจจัยส าคัญของการเจริญเติบโต

 

ของธุรกิจดังนั้นการเข้าถึงเงินทุนทั้งภายในและภายนอกสหกรณ์ต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับทุกฝ่าย จนเกิดการยอมรับว่าสหกรณ์เป็นมืออาชีพมีประสิทธิภาพประการที่สอง การมีส่วนร่วมเป็นสิ่งส าคัญที่จะช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นทางธุรกิจเพราะหากทุกฝ่ายไม่ร่วมกันดำเนินธุรกิจคงจะประสบปัญหาและล้มลงในที่สุดความเชื่อถือจะสร้างได้อย่างไรนั้น คำตอบที่สั้นที่สุดคือ การมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจให้เป็นที่ปรากฎว่าทุกฝ่ายในสหกรณ์ต้องร่วมกันเสี่ยงภัยในกิจกรรม เพราะว่าต้องร่วมกันรับภาระความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมร่วมกันร่วมกันมีสิทธิ วิธีการสหกรณ์เป็นการบริหารโดยยึดหลักประชาธิปไตยทุกคนมีอิสระ ที่จะแสดงความคิดเห็น ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจร่วมกันแก้ปัญหาหรือนำประโยชน์มาสู่สหกรณ์และตัวสมาชิกร่วมกันรับผิดชอบ

 

การดำเนินงานของสหกรณ์เป็นไปเพื่อสนองความต้องการของสมาชิกดังนั้นทุกคนต้องรับผิดชอบภาระผูกพันของตนเองที่มีต่อสหกรณ์ด้วยร่วมกันรับประโยชน์เมื่อการด าเนินการได้ผลดีผลประโยชน์ในรูปต่าง ๆ สหกรณ์จะต้องนำมาจัดสรรแบ่งปันให้แก่สมาชิกทุกคน อย่างยุติธรรมการมีส่วนร่วมตามขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ และข้อบังคับของสหกรณ์เช่นการมีส่วนร่วมในฐานะกรรมการสหกรณ์บทบาทหน้าที่ในฐานะผู้แทนสหกรณ์ในกิจการเกี่ยวกับบุคคลภายนอกสิทธิหน้าที่และลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายการใช้อำนาจในการบริหารจัดการสหกรณ์ซึ่งจะส่งผลให้สหกรณ์สามารถยืนอยู่อย่างมั่นคงในสถานการณ์ที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

 

ซึ่งมีการแข่งขันกันอย่างเสรี เราในฐานะเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ มีหน้าที่กำกับดูแลสหกรณ์จึงต้องร่วมกันผลักดัน ให้สหกรณ์ไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นกลไกลสำคัญในการพัฒนาประเทศ สร้างการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันของประชาชน และสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจและสังคมทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศทั่วโลกทั้งยังเป็นการสร้างการเรียนรู้วิถีแห่งประชาธิปไตย

 

รวมถึงการส่งเสริมสหกรณ์จึงต้องเน้น เรื่องการเผยแพร่การสหกรณ์ เร่งปลูกฝังแนวคิดในการร่วมคิดร่วมท าในด้านเศรษฐกิจต้องให้เกิดการออมและน าเงินออมมา
ลงทุนร่วมกันในกิจการอันก่อให้เกิดประโยชน์ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น และของประเทศอันจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมในด้านสังคมต้องมุ่งพัฒนาคนและส่งเสริมให้สถาบันครอบครัว มีความเข้มแข็ง เพราะทุกคนในครอบครัวต้องช่วยกันคิดช่วยกันทำ ช่วยกันวางแผน เพื่อเสริมสร้างให้สังคมมีระบบ สามารถปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

 

จากที่กล่าวมาข้างต้น หากสามารถผลักดันให้สหกรณ์ด าเนินการได้ก็จะท าให้สหกรณ์มีความเข้มแข็ง ส่งผลให้สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอย่างยั่งยืนจนสามารถยกระดับเป็นสหกรณ์ดีเด่นต่อไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง