รีเซต

จับตาพายุเข้าไทยอีกลูก เดือนต.ค.กระทบอีสานใต้

จับตาพายุเข้าไทยอีกลูก   เดือนต.ค.กระทบอีสานใต้
TNN ช่อง16
2 ตุลาคม 2567 ( 14:39 )
20

นายฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ ผู้อำนวยการกลุ่มวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ เป็นช่วงที่เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งจากอิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำ ยังทำให้มีฝนตกมากในภาคเหนือ ซึ่งจะฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย จะตกหนักที่สุดบริเวณตอนบนต้นน้ำ ลุ่มน้ำกกและแม่น้ำสาย ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับอำเภอเมืองจังหวัด ซึ่งจะมีน้ำเอ่อล้นตลิ่งเพิ่มนะดับสูงขึ้นในช่วงนี้  


สำหรับภาพรวมของภาคอื่นๆ  ช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนตุลาคมจะมีปริมาณฝนลดลง และจะขยับลงสู่ภาคกลาง โดยจะปรับการบริหารจัดการไปที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ “ลุ่มน้ำชี” ซึ่งในขณะนี้เขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณน้ำใกล้เกณฑ์ความจุเขื่อน โดย 2สัปดาห์ ต่อจากนี้ไปจะลดการระบายน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์เพื่อจะลดผลกระทบนำเอ่อล้นตลิ่งในพื้นที่ตอนล่าง ส่วนลำน้ำมูลได้เตรียมความพร้อม โดยเฉพาะที่ตัวเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ด้วยการพร่องน้ำ ผ่านคลองและแม่น้ำ เดิมที่มีศักยภาพในการพร่องได้เพียง 2,300 ลบ.ม./วินาที แต่ปีนี้ กรมชลประทาน ได้มีการไปก่อสร้างคันกั้นน้ำชั่วคราว เพิ่มศักยภาพเป็น 3,200 ลบ.ม/ วินาที  ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณน้ำไหลผ่านอัตราอยู่ที่ 1,900 ลบ.ม/ วินาที เท่านั้น  ยืนยันว่ายังรองรับสถานการณ์ฝนในเดือนตุลาคมได้


ส่วน ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ได้เร่งการระบายน้ำเขื่อนกิ่วลมและกิ่วคอหมา เพื่อให้มีพื้นที่ในการรองรับน้ำได้ในช่วงสัปดาห์นี้ ขณะที่ลุ่มน้ำยมที่ไหลผ่านเข้าท่วมจังหวัดสุโขทัย กรมชลประทานได้มีการตัดยอดน้ำเข้าสู่ทุ่งบางระกำซึ่งขณะนี้มีปริมาณน้ำอยู่ในทุ่งมากกว่า 100% หรือมากกว่า 400 ล้าน ลูกบาศก์เมตร สูงเกินเกณฑ์กว่า 20 เซนติเมตร ดังนั้น สทนช. จำเป็นต้องลดการระบายแม่น้ำยม สู่ แม่น้ำน่าน เนื่องจากแม่น้ำน่านเองก็มีปริมาณน้ำที่สูง ส่งผลให้การระบายน้ำ ทำได้ไม่เต็มศักยภาพ ในการประชุมวันนี้ จึงมีมติให้ลดการระบายน้ำเขื่อนสิริกิติ์และเขื่อนนเรศวร เพื่อให้การระบายน้ำดำเนินไปได้สะดวกและรวดเร็ว รวมทั้ง ในส่วนของเขื่อนเจ้าพระยาพระ จังหวัดชัยนาท จะยังคงการระบายน้ำอยู่ที่ 1,900 ลูกบาศก์เมตร/วินาที 


ส่วนในพื้นที่ลุ่มต่ำ อย่าง กรุงเทพมหานคร ที่ล้ำเหนือจะไหลมาสมทบกับน้ำทะเลหนุน ยืนยันว่า น้ำเหนือที่ไหลลงมายังมีปริมาณไม่มาก โดยพื้นที่ฟันหลอที่เกิดปัญหาน้ำเข้าท่วมขณะนี้กรุงเทพมหานครได้ทำแนวป้องกันเสร็จเรียบร้อยทั้งหมดแล้ว 


ในส่วนของเดือนตุลาคมนั้น ช่วงต้นเดือนจะได้รับอิทธิพลจากร่องความกดอากาศต่ำส่วนในช่วงถัดไปจะต้องรอลุ้นเรื่องของพายุที่จะเข้ามาตามสถิติจะมีเพิ่มอีก 1 ลูก จากอิทธิพลความกดอากาศต่ำที่ขยับลงมา โดยมีแนวโน้มที่จะเข้าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง