รีเซต

“มิตรเมือง 15 นาที กรุงเทพเมืองกี่นาที” ความท้าทายในการสร้างสื่อเพื่อเปลี่ยนแปลงชุมชนเมืองให้มีคุณภาพชีวิต

“มิตรเมือง 15 นาที กรุงเทพเมืองกี่นาที” ความท้าทายในการสร้างสื่อเพื่อเปลี่ยนแปลงชุมชนเมืองให้มีคุณภาพชีวิต
TNN ช่อง16
7 กุมภาพันธ์ 2567 ( 22:39 )
112
“มิตรเมือง 15 นาที กรุงเทพเมืองกี่นาที” ความท้าทายในการสร้างสื่อเพื่อเปลี่ยนแปลงชุมชนเมืองให้มีคุณภาพชีวิต

แนวคิดเมือง 15 นาที หรือ15-minute city หรือ a quarter-hour city

เป็นแนวคิดการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่ที่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย เป็นแนวคิดใหม่ที่ท้าท้ายการปฏิบัติได้จริง เกิดขึ้นก่อนช่วงโควิดระบาด และถูกพูดถึงมากยิ่งขึ้นในช่วงโควิดที่สะท้อนให้เห็นว่า วิถีเก่าไม่สามารถรองรับคุณภาพชีวิตของผู้คนในโลกปัจจุบันได้ น่าสนใจก็คือ ทำไมกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จึงกล้าที่จะลิ้มลองความท้าท้ายแห่งอนาคตนี้ โดยการให้ทุนสนับสนุนประเภทยุทธศาสตร์ ปี 2566 กว่า 3 ล้านบาทแก่สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยศูนย์เชื่อมโยงอาเซียนด้านการออกแบบเมืองและสรรค์สร้าง (Urban Ally) ดำเนินโครงการ “มิตรเมือง 15 นาที กรุงเทพเมืองกี่นาที” ซึ่งล่าสุด มีการจัดกิจกรรมเชิงทดลองในงานเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ ย่านพระนคร 2024 “มิตรบำรุงเมือง-Live” เมื่อวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา ณ ลานกลางแจ้งด้านในอาคาร ศาลาฯ กทม. เสาชิงช้า บทสัมภาษณ์ของ ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ ผศ. ดร.สิงหนาท แสงสีหนาท ผู้อำนวยการศูนย์ Urban Ally มีคำตอบ



ดร.ธนกร กล่าวว่า  เราไม่เคยรู้เลยว่าในเมืองที่เราอาศัยอยู่ รอบตัวมีอะไรบ้าง เช่น สิ่งที่เป็นบริการขั้นพื้นฐาน พื้นที่ที่เราจะไปออกกำลังกาย จุดที่เราจะไปใช้บริการ โรงพยาบาลแม้แต่สถานีตำรวจ เรายังไม่รู้เลย  โครงการนี้จะทำข้อมูลตรงนี้ให้ ซึ่งเขาทำรีเสิร์จ ปรากฏว่า ของเรามีที่เข้าถึงได้ 2-3 ด้านเท่านั้นเอง ที่กินที่ซื้อ เรามีเยอะ แต่อย่างอื่นที่เป็นเรื่องของแหล่งเรียนรู้ สันทนาการ การพัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์ ยังน้อยอยู่ ซึ่งเขาทำกำลังริเริ่มอยู่


ดร.ธนกร กล่าวว่า เราเป็นผู้สนับสนุนทุน โครงการนี้ได้รับทุนปี 2566 ชื่อโครงการ “มิตรเมือง 15 นาที กรุงเทพเมืองกี่นาที” เป็นโครงการที่มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นเจ้าของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ เป็นการ พัฒนาและสร้างนวัตกรรมในการจัดทำข้อมูลระบบเปิดหรือ Open Data เพื่อเป็นโมเดลต้นแบบที่คนในเมืองหรือเริ่มจากย่านพระนคร ว่า ภายใน 15 นาที คุณสามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นที่ฐานตรงไหนบ้างอย่างไร  งบประมาณที่สนับสนุน ประมาณ 3 ล้านกว่าบาท  เป็นการสร้าง Open Data โดยใช้ฐานข้อมูล ด้านภูมิทัศน์ ด้านสถาปัตย์และการออกแบบเมือง ด้านการจัดการชุมชน ด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยว หรือส่งเสริมการเรียนรู้แบบครบวงจร วิถีคิดของโครงการ เป็น  Interdisciplinary หรือ สหวิชาการ  มองศาสตร์ในการพัฒนาเมือง มาพัฒนาชีวิต คน เป้าหมาย คือ ทำให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี


ดร.ธนกร กล่าวว่า เป้าหมายของกองทุนสื่อฯ คือได้มีสื่อ ที่ใช้นวัตกรรมให้ชุมชนสามารถยกระดับการพัฒนาชุมชนและคนในชุมชนได้ 


“เราชัดเจนกันทั้ง 2 ฝ่าย แต่โครงการนี้สำหรับผม มัน ว้าว เป็นนวัตกรรมจริงๆ เป็นวิธีคิดใหม่ เป็นไอเดียใหม่ๆ ในประเทศไทยใหม่จริง ในต่างประเทศการจัดการแบบนี้มีหลายประเทศที่เป็นต้นแบบ ตอนนี้โครงการยังไม่จบ ทำไปเกือบๆ ครึ่งทาง ซึ่งก็จะทำไปด้วย เปิดตัวโครงการสร้างการมีส่วนร่วมไปด้วย จัดนิทรรศการ ระดมคนมาดูสิว่า จัดแบบนี้แล้ว การมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนเป็นอย่างไร เราอยากเห็น open data แบบนี้ในทุกเขต กทม. อยากให้ทุกคนได้รู้จักสภาพแวดล้อม เชิงพื้นที่ของตนเอง ไม่เพียงแต่บริการขั้นพื้นฐาน สภาพแวด ล้อม หรือคุณภาพของชุมชน ศักยภาพของชุมชน เราลองเปิดใจไปเยี่ยม ใช้คอนเซ็ปต์ว่า ภายใน 15 นาทีถ้าเราจะไปในที่ต่างๆ บ้านเรามีตลาดนัดไหม ตลาดนัดสะอาดไหม บ้านเรามีที่ออกกำลังกายกี่แห่ง ถ้าสมมติเราจะนัดกันออกกำลังกายมีที่ไหนบ้างอะไรแบบนี้ ผมว่าโครงการนี้กระตุ้นให้คิดแบบนี้ หรือเวลาเราจะไปใช้บริการตามสถานที่ต่างๆระบบความปลอดภัยเราเป็นอย่างไร” 


ดร.ธนกร กล่าวว่า กองทุนสื่อฯ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย Open data ก็ต้อง Open พื้นที่ให้เขาก่อน การใช้สื่อหรือการนำนวัตกรรม องค์ความรู้ใหม่ๆมาเป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน ของชุมชน ของเมือง ของประเทศ ในประเทศไทยถือเป็นเรื่องใหม่ แต่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมากและสำคัญมากที่ภาครัฐ เอกชนควรให้การสนับสนุน ในภาคประชาสังคมเองก็คิดว่าเป็นประโยชน์โดยตรง คือ สัมผัสได้แล้วเป็นยุคที่ทุกคนก็ต้องใช้ข้อมูลข่าวสารในการตัดสินใจ

“เราดีใจที่ผู้รับทุน ยังสามารถแสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ซึ่งเราสนับสนุน เริ่มตั้งแต่ กทม. สำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และบริษัทเอกชน ก็ต้องช่วยกัน งานพัฒนาสังคมไม่ใช่งานของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่ในส่วนของนวัตกรรมสื่อ กองทุนสื่อฯเป็นเจ้าภาพหลัก”



ด้านผศ. ดร.สิงหนาท กล่าวว่า โครงการนี้วางคอนเซ็ปต์ไว้ว่า จะมีการ สร้างสื่อ 3 รูปแบบ หนึ่ง คือ สื่อข้อมูลเรื่องเมือง 15 นาที  สอง สื่อบทความเผยแพร่แนวคิดเรื่องเมือง 15 นาที และสาม คือ สื่อนำบนพื้นที่ คือเป็นการทดลองที่จะสร้างเมือง 15 นาทีให้เกิดขึ้นจริงๆ 

“เมือง 15 นาที เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นเพื่อจะบอกว่าในละแวกบ้านของเรา เราต้องเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆได้ภายในระยะเวลาเดินเท้า 15 นาทีหรือยิ่งน้อยกว่านั้นก็ยิ่งดี สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมดคือ ทุกอย่าง การอยู่อาศัยแหล่งงาน ที่พักผ่อน ที่ออกกำลังกาย พื้นที่เรียนรู้ ซึ่งไม่ใช่แค่โรงเรียน แต่เป็นพื้นที่เรียนรู้รูปแบบอื่นๆ เช่น workshop เสวนา พื้นที่นั่งชิล นั่งเล่นทุกอย่าง


ดร.สิงหนาท กล่าวว่า เมือง 15 นาทีคือเรื่องสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เราต้องมี แต่พอเราเอาข้อมูลตรงนี้มาจับ จะพบว่า เมืองทุกแห่งทั่วโลกไม่มี ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลก ตื่นตัวเรื่องนี้มาก แนวคิดนี้เกิดขึ้นก่อนช่วงโควิด แล้วช่วงโควิดแนวคิดนี้ดังขึ้นมา แนวคิด 15-minute city หรือ a quarter-hour city ประเด็นสำคัญคือ ในช่วงโควิดที่ทุกคนต้องกักตัว ละแวก บ้านตัวเองอยู่ปีสองปีแล้วทุกคนทั่วโลกพบว่า ละแวกบ้านไม่มีอะไรเลย ไม่ครบสักอย่าง แนวคิดนี้เลยดังขึ้นมาแล้ว โดย UN ประกาศว่า เป็นแนวคิดที่ทุกประเทศทั่วโลกควรนำไปพัฒนาต่อ 


ดร.สิงหนาท กล่าวว่า ภายใต้โครงการรับทุนฯ นำแนวคิดนี้มาทำสื่อข้อมูลเพื่อจะดูว่าแนวคิดเมือง 15 นาทีของกรุงเทพมีหรือไม่ โดยกิจกรรม“มิตรบำรุงเมือง-Live” ได้ร่วมมือกับสำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์และใช้งบของกองทุนสื่อฯจัดทำพื้นที่ โดยเปิดพื้นที่ของศาลาว่าการ กทม.ให้เป็นเมือง 15 นาที ประเด็นสำคัญคือ จะเป็นโมเดลสำคัญในการบอกว่า  พื้นที่ราชการเป็นส่วนสำคัญในการเติมเต็มเมือง 15 นาทีได้  พื้นที่ปิดที่ไม่เคยเปิดให้คนทั่วไปมาใช้งาน หรือช่วงเวลาราชการ 4 โมงครึ่งก็ปิดเงียบไปเลย ขยายเวลาออกมา 


“ศาลากทม.มีคอร์ทกลางด้านหน้าไม่มีใครเข้ามาก็เปิดทางทะลุ 2 ด้านให้คนเดินทะลุได้  จากข้อมูลเมืองย่านพระนครเป็นเมืองกินดี ขายดี ทำงานดี แต่อย่างอื่นไม่ดี ไม่มีที่นั่งเล่นไม่มีที่พักผ่อนไม่มีที่เรียนรู้ไม่มีพื้นที่ขายของสร้างสรรค์ต่างๆ รวมไปถึงกิจกรรมออกกำลังกาย ดังนั้นจึงสร้าง People Pavilion ขึ้นมา เป็นพื้นที่พลเมือง มีที่นั่งเล่น จัดการแสดง มีตลาดนัดสินค้า ตลาดนัดสร้างสรรค์ มีการนำต้นทุนทางวัฒนธรรมมาออกแบบใหม่ สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นพื้นที่พักผ่อน ประเด็นสำคัญส่วนหนึ่งไม่ได้เจาะเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น เราต้องการดึงคนสูงอายุแถวนี้เข้ามาใช้งานด้วย ให้เป็นพื้นที่ชองชุมชนจริงๆในละแวกนี้  Urban Ally เป็น Host ในการจัดงาน Bangkok Design Week แล้วโครงการนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งเพื่อเก็บข้อมูลประเมินผลโครงการ ผมเชื่อว่าจะเป็นต้นแบบให้ กทม. หรือแม้แต่หน่วยราชการอื่น เริ่มเห็นว่า ตัวเองสามารถมีส่วนสร้างเมืองและคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ เป็นมิตรกับคนมากขึ้น สถานที่ราชการหลายแห่งไม่เป็นมิตรกับคนเท่าไหร่ เป็นอาคารปิดล้อม มียามเฝ้าด้านหน้า อย่างวันนี้น่ารักมาก พี่ยามจากเดิมหน้าตาขึงขัง วันนี้เป็นมิตรมาก”


ดร.สิงหนาท  กล่าวว่า เรื่องเมือง 15 นาทีประเด็นไม่ใช่ต้องมีกิจกรรมเมือง 15 นาที แต่ที่สำคัญสร้างความใกล้ คือ ให้เราเดินถึงระยะใกล้ๆ อย่าง ศาลา กทม.จะเป็นบล็อกใหญ่มาก การเปิดตรงกลางให้คนเดินทะลุได้ ระยะจากฝั่งหนึ่งมาฝั่งหนึ่ง ลดลงทันทีมากกว่าครึ่งด้วยซ้ำ เมือง 15 นาทีจุดมุ่งหมายไม่ใช่เรื่องการท่องเที่ยว จุดมุ่งหมายคือคนอยู่อาศัย ให้น่าอยู่ก่อนแล้วการท่องเที่ยวจะตามมาเอง


“ต้องขอบคุณกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์มาก อยากจะบอกอย่างนี้ก่อน การที่เราขับเคลื่อนงานเมืองในรูปแบบนี้ ถือเป็นรูปแบบใหม่ ใหม่มากๆเลย ปกติเวลาเราออกแบบเมืองเราจะนึกภาพหน่วยงานราชการ การวางผังพัฒนาพื้นที่ แต่อันนี้ผมใช้คำว่า การพัฒนาเมืองแบบสวนกระแส เราทำโปรเจกทดลองชั่วคราว โปรเจกรูปแบบใหม่แบบนี้ แหล่งทุนที่เข้าใจเรายังน้อยมาก  ต้องขอบคุณกองทุนสื่อฯ  จริงๆ ที่เห็นความสำคัญว่า งานแบบนี้ช่วยผลักดันเมืองได้ ถึงจะชั่วคราวแต่สร้างโมเดลสำคัญได้ สร้างตัวอย่าง  สร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นระหว่างหน่วยงานก่อนพอเห็นภาพตัวอย่างสามารถนำไปต่อยอดได้ สุดท้ายนโยบายจริงจะเกิดขึ้น นโยบายจาก กทม. จากหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานต่างๆจะเริ่มเข้ามา รูปแบบอนาคตที่เป็นจริงอาจไม่ใช่แบบนี้ก็ได้ แต่เชื่อว่า จะกระตุ้น ช่วยผลักดันได้ เป็นการสร้างความตระหนักรู้ให้กับทุกฝ่าย เป็นการเปิดโอกาสให้เราเข้าไปร่วมมือกับหลายฝ่ายได้ ถือเป็นกุญแจสำคัญ ในแง่หน่วยงานทางวิชาการ เมื่อเกิดโครงการนี้ขึ้น เราเอาไปผูกกับบางรายวิชา และให้นักศึกษามาทดลองทำกิจกรรมเมืองจริงๆ ให้เขามีประสบการณ์พบกับผู้คนจริงๆ ได้ทดสอบตัวเองว่าแนวคิดของเขาเวิร์คไหมในการทำงานกับชุมชน”


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง