รีเซต

ASPS มองหลัง S&P หั่น Credit Rating 4 แบงก์ใหญ่, คาด Fund Flow ชะลอ

ASPS มองหลัง S&P หั่น Credit Rating 4 แบงก์ใหญ่,  คาด Fund Flow ชะลอ
ทันหุ้น
22 มีนาคม 2565 ( 10:48 )
265

#ASPS #ทันหุ้น-บล.เอเซีย พลัส หรือ ASPS ระบุว่าวานนี้บริษัท  Credit Rating S&P ปรับลด Credit Rating 4 ธนาคาร ได้แก่ KBANK และ SCB เดิม BBB+ เป็น BBB ตามด้วย KTB และ TTB เหลือ BBB- จากเดิม BBB  ส่วน BAY และ BBL คง Rating เดิมที่ BBB+ 

 

โดยทาง S&P มองว่าความเสี่ยงเชิงระบบของธนาคารไทยสูงขึ้นจากคาดการณ์ก่อนหน้านี้ จากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยว และทิศทางการฟื้นตัวช้าขึ้นภายใต้สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน นอกจากนี้ S&P ประเมิน NPL Ratio ปรับตัวเพิ่มจากปัจจุบันที่ 3% เป็น 5% อีก 24 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม S&P ยังมอง ธนาคารไทยคงมีระดับเงินกองทุนและสำรองในระดับสูง 

 

ฝ่ายวิจัย มองว่าการปรับลด Credit Rating ข้างต้นมีโอกาสสร้าง Sentiment เชิงลบต่อราคาหุ้นกลุ่มธนาคาร อย่างไรก็ดีการปรับ Credit Rating มองว่าก่อนหน้านี้ S&P ให้แนวโน้ม 4 ธนาคารเป็น Negative (ส่วน BAY และ BBL แนวโน้ม Stable) ส่วนทางพื้นฐานส่งผลให้แนวโน้มต้นทุนการออกหุ้นกู้ใหม่สูงขึ้น เพิ่มเติมจากสภาวะอัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ที่ปรับตัวขึ้น ตาม Government bond yield แต่เนื่องจากธนาคารไทยระดมทุนผ่านเงินฝากเป็นหลัก

 

สำหรับคุณภาพสินทรัพย์ มองกลุ่มฯ มีการตั้งสำรองล่วงหน้าตั้งแต่ปี 2563 หนุนกลุ่มฯมี Coverage Ratio ณ สิ้นปี 2564 ที่ 163% แม้ทิศทาง NPL ยังเป็นขาขึ้น แต่คาดอยู่ในการบริหารจัดการ ประเมินสถานการณ์ไม่ได้เลวร้ายเท่าปี 2563 – 64 ที่ลูกหนี้เผชิญ Income shock ต่างกับปัจจุบันที่รายได้ลูกหนี้เริ่มฟื้นตัว ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจดีขึ้น

 

คงน้ำหนักการลงทุน เท่าตลาด มอง PBV กลุ่มฯ ไม่แพง ซื้อขาย 0.8 เท่า โดยราคาหุ้นในกลุ่มฯ ช่วงที่ผ่านมาปรับฐาน หลังแนวโน้ม GDP เปิด Downside มากกว่า Upside กอปรกับ ทิศทาง Fund Flow จากต่างชาติเริ่มชะลอ เลือก TISCO (FV@B106) จากงบดุลแกร่งทั้ง BIS Ratio และ Coverage ratio สูงสุดในกลุ่มฯ พร้อมคาดหมาย Div yieldราว 7% ส่วน ธ.พ. ใหญ่ ยังชอบ KBANK (FV@B174) ถือเป็น ธ.พ. มีจุดเด่นด้าน Digital มองราคาหุ้นมีโอกาสฟื้นตัวเร็ว หาก Downside ของ GDP หมดลง หากราคาหุ้นปรับฐานสามารถทยอยสะสมได้

 

ทั้งนี้ จากการปรับลด Credit Rating ของธนาคารไทยข้างต้น อาจนำมาสู่ความกังวลได้ว่า Credit Rating ของไทยจะถูกปรับลงด้วยหรือไม่ แต่ ASPS มองว่าไทยมีโอกาสถูกปรับลด Credit Rating ของประเทศลงไม่มาก (ปัจจุบัน S&P ประเมินไว้ที่ระดับ BBB+)เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัว, ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง และหนี้สาธารณะยังอยู่ในกรอบ ภาครัฐสามารถกู้เงินเพื่อนำมาใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจได้

 

แต่ทว่าความกังวลอาจสร้างความผันผวนให้ตลาดหุ้นไทย รวมถึงชะลอการไหลเข้าของFund Flow และค่าเงินบาทอาจอ่อนค่าช่วงสั้นๆ ได้ จึงแนะนำให้เข้าทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดีหากราคาปรับอ่อนตัวลงมา

 

**กดดันเงินบาทอ่อน-Fund Flow ชะลอ 

 

ประเด็น S&P มีการลดระดับเครคิตเรตติ้ง ธ.พ. ไทย ถือเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงเพิ่มเติมที่กดดันตลาดหุ้นไทยได้ ดังนี้

 

1. เศรษฐกิจไทยอาจฟื้นได้ช้ากว่าที่คาด จากค่าครองชีพ หรือราคา Commodity ต่างๆ ที่สูงขึ้น ความเสี่ยงทางด้านการเงินที่เพิมขึ้น กดดันตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับขึ้นได้ช้าลง

 

2. กดดันราคาหุ้น ธ.พ. ให้ผันผวนในช่วงสั้น สะท้อนได้จากราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงในวานนี้ และในอดีตเวลาไทยถูกจัดอันดับเครดิตเรตติ้งลง หุ้นธ.พ.ไทยมักจะ Underperform ระยะหนึ่งเสมอ

 

3. กดดัน Fund Flow อาจชะลอการไหลเข้าตลาดหุ้นไทย หลังจากต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยกว่า 9.4 หมื่นล้านบาท (ytd) โดยแรงซื้อส่วนใหญ่จะเข้ามาจะอยู่ในหุ้นขนาดใหญ่สภาพคล่องสูง หนึ่งในนั้นคือ หุ้น ธ.พ. ที่อาจถูกกดดันหรือขายสุทธิในช่วงสั้น ส่งผลให้ภาพรวม Fund Flow อาจชะลอๆในการไหลเข้าหุ้นไทย

 

4. กดดันให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าขึ้น และเวลาที่ค่าเงินบาทอ่อนนักลงทุนต่างชาติก็จะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเร่งให้ Fund Flow อาจชะลอการไหลเข้าตลาดหุ้นไทยได้

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง