ผลวิจัยชี้โลกยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่พอที่จะบรรลุเป้าหมายสนธิสัญญาปารีส
ความพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ดูเหมือนยังไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาโลกร้อน หลังจากมีงานวิจัยใหม่ล่าสุดโดยมหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลีย (UEA) ประเทศอังกฤษ แสดงให้เห็นว่าแผนการลดคาร์บอนของประเทศต่าง ๆ ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายของสนธิสัญญาปารีส (Paris Agreement) ที่เกิดขึ้นจากการประชุม COP ครั้งที่ 21 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2010 ที่ต้องการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกเอาไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส
รายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับสนธิสัญญาปารีสต้องกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ออกไป 1,900 ล้านตัน ภายในปี 2050 แต่รายงานการศึกษาใหม่ในงานวิจัยอ้างอิงจากข้อมูลล่าสุดคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) พบว่าหากต้องการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกเอาไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ต้องกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ออกไปเพิ่มขึ้นอีก 3.2 ล้านตัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 5.1 พันล้านตัน
แม้ทั่วโลกจะช่วยกันดำเนินงานตามเป้าหมายของสนธิสัญญาปารีสที่วางเอาไว้ว่าต้องการกำจัดคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศภายในปี 2050 เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของภาวะโลกร้อน เช่น คลื่นความร้อน อากาศร้อน น้ำท่วม ความแห้งแล้ง น้ำแข็งละลาย และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
งานวิจัยมุ่งเน้นไปที่การจำกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ตัวร้ายสำคัญจากฝีมือของมนุษย์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลก ซึ่งสอดคล้องกับองค์กรสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ซึ่งตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกันในปี 2010 และส่งเสริมแหล่งพลังงานหมุนเวียน ลดการตัดไม้ทำลายป่าให้เหลือน้อยที่สุด
นอกจากนี้ยังมีเทคนิคใหม่ ๆ เพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น ระบบกรองอากาศขั้นสูง การดึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศไปจัดเก็บคาร์บอนในชั้นหินใต้พื้นดิน แม้จะสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เพียง 2 ล้านตันต่อปี ซึ่งอาจจะน้อยเมื่อเทียบกับช่องว่างของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต้องกำจัดให้ได้อีก 3,200 ล้านตัน
“ประเทศต่าง ๆ จำเป็นต้องตระหนักรู้ ความทะเยอทะยาน และเพิ่มมาตรการดำเนินการมากขึ้น ในการขยายขนาดวิธีการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ควบคู่ไปกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในเชิงลึกเพื่อให้บรรลุแรงบันดาลใจของข้อตกลงปารีส” ดร.นาโอมิ วอห์น ศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของมหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลีย (UEA)
ที่มาของข้อมูล Engadget