รีเซต

วิศวกรพัฒนาแอปพลิเคชันช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในตุรกี

วิศวกรพัฒนาแอปพลิเคชันช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในตุรกี
TNN ช่อง16
14 กุมภาพันธ์ 2566 ( 18:09 )
61

ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังเกิดภัยพิบัติ วิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ได้เปิดตัวแอปพลิเคชันเพื่อช่วยระบุตำแหน่งผู้ประสบภัยและให้ความช่วยเหลือกับผู้รอดชีวิตจากแผ่นดินไหวในตุรกี


ภายหลังจากวิศวกร 2 คน ในเมืองอิสตันบูล ทราบข่าวแผ่นดินไหวที่ทำให้พื้นที่ขนาดใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกีและทางตะวันตกของซีเรียกลายเป็นซากปรักหักพัง ในเช้าวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งทั้ง 2 คน รู้สึกเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จึงได้เริ่มระดมความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานทางทวิตเตอร์ และพัฒนาแอปพลิเคชันที่ช่วยติดตามความเคลื่อนไหวอย่าง “เอิร์ธเควก เฮลป์ โปรเจกต์” (Earthquake Help Project) ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเหลือองค์กรเอกชนและทีมกู้ภัยในพื้นที่


การพัฒนาแอปพลิเคชัน เอิร์ธเควก เฮลป์ โปรเจกต์ (Earthquake Help Project) เริ่มขึ้นจากความร่วมมือนักพัฒนา นักออกแบบ ผู้จัดการโครงการ และคนอื่น ๆ กว่า 15,000 คนจากทั่วโลก เพื่อร่วมกันสร้างแอปพลิเคชัน เอิร์ธเควก เฮลป์ โปรเจกต์ (Earthquake Help Project) รวมถึงแอปพลิเคชันที่ช่วยค้นหาผู้ที่เดือดร้อนและต้องการความช่วยเหลือ


เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ริกเตอร์ในตุรกี เกิดขึ้นในตอนเช้าตรู่ และเกิดอาฟเตอร์ช็อกขนาด 7.5 ริกเตอร์ ในอีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา โดยคาดว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 11,000 คน ทั้งนี้มีการประกาศเตือนจาก UN ว่ายอดผู้เสียชีวิตจริงอาจสูงถึง 20,000 คน และทางประเทศตุรกีได้ประกาศภาวะฉุกเฉินเป็นเวลา 3 เดือน โดยมีหน่วยบริการในท้องถิ่นช่วยกันฟื้นฟูสถานการณ์หลังจากเกิดโศกนาฏกรรมครั้งนี้


หน่วยกู้ภัยยังคงมองหาผู้รอดชีวิตใต้อาคารที่ถล่ม แต่การค้นหาถูกขัดขวางด้วยหิมะ ฝน และความหนาวเย็นจัด โดย 1 ในเครื่องมือแรกของ เอิร์ธเควก เฮลป์ โปรเจกต์ (Earthquake Help Project) คือ แอปพลิเคชันที่ใช้ข้อมูลโซเชียลมีเดียเพื่อค้นหาการขอความช่วยเหลือ จากนั้นจึงระบุตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ โดยให้ผู้ประสบเหตุระบุตำแหน่งที่ตั้งว่ากำลังรวมตัวกันอยู่ที่ไหน ทีมงานยังได้สร้างแอปพลิเคชันที่รวบรวมข้อเสนอความช่วยเหลือ รวบรวมข้อมูลสำหรับบุคคลที่ได้รับผลกระทบว่าต้องทำอะไร และควรติดต่อใคร และให้ผู้ประสบภัยรายงานว่าพวกเขาปลอดภัย หรือต้องการความช่วยเหลือหรือไม่ 


มีอาสาสมัครจำนวนมากที่ต้องการเข้าร่วมพัฒนาแอปพลิเคชันนี้ แต่ด้วยจำนวนคนที่มากเกินไปจึงทำให้ทุกคนไม่สามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ทั้งหมด ทั้งนี้แอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นได้รับการเข้าชมมากกว่า 100,000 ครั้งแล้ว และข้อเสนอแนะก็เป็นไปในทางให้กำลังใจ ยิ่งไปกว่านั้นยังได้รับข้อความว่าผู้คนถูกพบในซากปรักหักพังและช่วยชีวิตได้เนื่องจากแอปพลิเคชันเหล่านี้ ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็เป็นไปตามที่ทีมวิศวกรอาสาสมัครได้คาดหวังเอาไว้


ที่มาของข้อมูล Wired

ที่มาของรูปภาพ Reuters

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง