รีเซต

อนามัยโลกเตือน ขยะทางการแพทย์จากการรับมือโควิด ก่อภัยคุกคามต่อสุขภาพ-สิ่งแวดล้อม

อนามัยโลกเตือน ขยะทางการแพทย์จากการรับมือโควิด ก่อภัยคุกคามต่อสุขภาพ-สิ่งแวดล้อม
มติชน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ( 17:00 )
103
อนามัยโลกเตือน ขยะทางการแพทย์จากการรับมือโควิด ก่อภัยคุกคามต่อสุขภาพ-สิ่งแวดล้อม

ข่าววันนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า องค์การอนามัยโลก(ดับเบิลยูเอชโอ) ระบุเตือนในรายงานที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ว่า ขยะทางการแพทย์ปริมาณมหาศาลทั้งจากกระบอกฉีดยา ชุดตรวจเอทีเค ขวดบรรจุวัคซีน และอุปกรณ์ที่ใช้แล้วทิ้งอื่นๆ ในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กำลังเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของคนเราและสิ่งแวดล้อม

 

โดยขยะทางการแพทย์เหล่านี้ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นขยะติดเชื้อนั้น เชื้อไวรัสยังสามารถอยู่รอดบนพื้นผิว ซึ่งทำให้บุคคลทางการแพทย์เสี่ยงได้รับเชื้อโรคได้ ขณะเดียวกันชุมชนที่อยู่ใกล้พื้นที่ฝังกลบขยะที่มีการบริหารจัดการแย่ ก็สามารถได้รับผลกระทบได้ผ่านอากาศที่ปนเปื้อนจากการเผาขยะและผ่านน้ำที่คุณภาพไม่ดีพอหรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค

 

องค์การอนามัยโลกยังเรียกร้องให้มีการปฏิรูปและลงทุนในการจัดการกับปัญหานี้ รวมถึงลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกและให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันที่ทำจากวัสดุใช้แล้วหรือนำไปรีไซเคิลได้

 

ในรายงานยังประเมินว่า ขณะที่หลายประเทศต่างแย่งชิงหาชุดป้องกันบุคคล(พีพีอี)เพื่อสู้กับโควิด แต่มีการให้ความใส่ใจน้อยมากในการจัดการกับขยะทางการแพทย์ที่เกิดขึ้นเหล่านั้นอย่างปลอดภัยและยั่งยืน โดยระหว่างเดือนมีนาคมปี 2020-พฤศจิกายนปี 2021 มีการจัดหาชุดพีพีอีที่ส่งไปยังประเทศต่างๆผ่านระบบของยูเอ็น มากถึงราว 87,000 ตัน โดยชุดพีพีอีส่วนใหญ่นั้นสุดท้ายกลายเป็นขยะทางการแพทย์

 

นอกจากนี้ยังมีชุดตรวจเชื้อโควิดอีกมากกว่า 140 ล้านชุด ที่ก่อเกิดเป็นขยะพลาสติกส่วนใหญ่มากถึง 2,600 ตัน ก่อเป็นขยะไม่ติดเชื้อและขยะเคมีมากถึง 731,000 ลิตร และวัคซีนโควิด-19 ใน 8,000 ล้านโดสแรก ที่มีการกระจายฉีดทั่วโลก ได้ทำให้เกิดขยะเพิ่มเติมทั้งจากกระบอกฉีดยา เข็มฉีดยา และ กล่องนิรภัยอีกมากถึง 144,000 ตัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง