รีเซต

เปิดมุมมอง 3 โบรกฯ ส่องกลยุทธ์ลงทุน พร้อมเสิร์ฟหุ้นเด่นวันนี้

เปิดมุมมอง 3 โบรกฯ ส่องกลยุทธ์ลงทุน พร้อมเสิร์ฟหุ้นเด่นวันนี้
ทันหุ้น
11 เมษายน 2565 ( 09:17 )
87
เปิดมุมมอง 3 โบรกฯ ส่องกลยุทธ์ลงทุน พร้อมเสิร์ฟหุ้นเด่นวันนี้

#SET #ทันหุ้น - บล.ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) มองแนวโน้มตลาดวันนี้ คาด SET Index แกว่ง Sideways ในกรอบ 1,680-1,690+- จุด เนื่องจากเข้าสู่ช่วงคาบเกี่ยววันหยุดยาวสงกรานต์ ขณะที่สัปดาห์นี้มีปัจจัยต้องติดตามคือเงินเฟ้อเดือน มี.ค. ของประเทศสำคัญอย่างจีน สหรัฐฯ และอังกฤษ ซึ่งมีผลต่อความกังวลเรื่องนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ โดยเฉพาะ FED ที่จะตึงตัวขึ้นอย่างรวดเร็วหากตัวเลขออกมาสูงกว่าคาด ปัจจัยดังกล่าวยังคงกดดันสินทรัพย์เสี่ยงโดยเฉพาะหุ้นที่มี PER สูงอย่างกลุ่ม Growth และ Tech 

 

ฝ่ายวิจัยประเมินว่า SET Index มีโอกาสแกว่งพักตัวระยะสั้นในช่วงสั้น 1-2 เดือนนี้ โดยมองมีโอกาสอ่อนลงหาระดับ 1,600-1,650+- จุด อย่างไรก็ตามเรามองเป็นโอกาสในการ “สะสม” เพื่อถือลงทุนระยะกลางยาว เรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อกระแสเงินทุนต่างชาติที่จะไหลเข้าตลาดหุ้นไทยในระยะกลาง-ยาวจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่โตเร่งตัว และโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่จะฟื้นชัดขึ้นใน 2H22 เป็นต้นไป หุ้นที่เราชอบยังคงเป็นกลุ่ม Value และ Domestic Play ที่มี PER/PBV ต่ำ ทนทานต่อภาวะเงินเฟ้อและนโยบายการเงินโดยเฉพาะ FED ที่จะตึงตัวเร็วได้ดี เรายังชอบกลุ่ม ธนาคาร โรงกลั่น ค้าปลีก อสังหาฯ อาหารและเครื่องดื่ม การแพทย์ เป็นต้น

 

กลยุทธ์ : เลือกลงทุนหุ้นที่ยังมี Valuation ต่ำ และยังเน้น Value และ Domestic Play 

หุ้นเด่นเดือน เม.ย. :  BCP, ICHI, IVL, ORI, SHR

 

หุ้นเด่นวันนี้ : ILINK

• แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 12 บาท 

• ปี 2022 เป็นปีที่โดดเด่นของธุรกิจ Distribution จากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโครงข่ายและความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตที่รวดเร็วและเสถียร ทำให้มีความต้องการ Cabling ซึ่ง ILINK มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด ขณะเดียวกัน ITEL จะฟื้นหลังถูกกระทบจากโควิด และได้ Strategic partner รุกธุรกิจ Data center

• คาดกำไรสุทธิปี 2022-2023 +16% Y-Y และ +15% Y-Y ตามลำดับ และมี Upside ราว 15% ต่อปีใน 2 ปีข้างหน้าหากชนะงานประมูลก่อสร้างสายเคเบิ้ลใต้น้ำไปยังเกาะเต่า มูลค่ากว่า 1 พันลบ. มีผลต่อราคาเป้าหมายราว 1.2-1.4 บาท/หุ้น

• แนวรับ 8.60//8.40 บาท แนวต้าน 9.50//10 บาท   

    

Fund Flow: เมื่อวันศุกร์กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาคบางลงตามคาดเหลือ US$739 ล้าน ยังคงนำโดยไต้หวันและเกาหลีใต้ US$436 ล้านและ US$390 ล้าน ตามลำดับ ส่วนอาเซียนชะลอการไหลออกจากไทยและเวียดนาม และยังไหลเข้าอินโดนีเซียหนาแน่น US$98 ล้าน แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดยังอยู่ในทิศทางไหลออก แต่ปริมาณคาดไม่หนาแน่นเท่าสัปดาห์ก่อน โดยสัปดาห์นี้จับตาเงินเฟ้อหลายประเทศซึ่งส่งผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางใหญ่ทั่วโลก

 

** บล.ทรีนีตี้ จำกัด ประเมิน SET Index แกว่งตัวซึมๆ ในสัปดาห์นี้ หลังเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาว โดยคงจะต้องติดตามรายงานตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ซึ่งจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของคาดการณ์เงินเฟ้อ / Fed Funds futures / เงิน USD / Bond yield สหรัฐฯ 

 

Strategy : ในเชิงกลยุทธ์ ยังคงแนะนำชะลอการลงทุนในภาพรวม แต่หากต้องถือครอง มองหุ้นเติบโตขนาดกลาง-เล็กน่าจะยังมีความปลอดภัยมากกว่าโดยเปรียบเทียบ จาก Bond yield รุ่นยาวของไทยที่ยังไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้นตามสหรัฐฯ รวมทั้ง Yield curve ที่ยังคงอยู่ในภาวะ Flattening นอกจากนั้น ยังเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงจากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติที่เราคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงถัดไปค่อนข้างต่ำ Top picks ของเราในกลุ่มนี้ 10 ตัว ยังคงได้แก่ SA, TSR, SIMAT, IP, SVOA, IT, SUN, CHAYO, LEO, AMR ส่วนกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ที่มองเป็นหลุมหลบภัยในช่วงนี้ยังคงได้แก่

 

1) กลุ่ม Healthcare เลือก BDMS, BCH, CHG, IMH

2) กลุ่ม Consumer staple เลือก CPALL, MAKRO, BJC

3) กลุ่ม AMC เลือก JMT, CHAYO, BAM

 

Factors: สำหรับปัจจัยสำคัญที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ได้แก่

1) รายงานตัวเลขเงินเฟ้อ (CPI) ประจำเดือนมี.ค.ของสหรัฐฯที่จะออกมาในคืนวันที่ 12 เม.ย. ตามเวลาบ้านเรา ล่าสุดตลาดคาดการณ์เร่งตัวต่อเนื่องที่ระดับ 1.2% MoM / 8.4% YoY

 

2) การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 14 เม.ย. ซึ่ง ณ ขณะนี้ ECB เผชิญแรงกดดันอย่างมากจากคาดการณ์เงินเฟ้อยูโรโซนที่ทำจุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง (รูปที่ 1) จนอาจทำให้ ECB ต้องให้น้ำหนักกับการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อมากขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลกดดันต่อไปยังการขยายตัวทางเศรษฐกิจด้วย ทั้งนี้ จากการประชุมครั้งที่ผ่านมา ECB      มีมติที่จะทยอยลดการซื้อสินทรัพย์ลงตั้งแต่เดือนพ.ค.นี้เป็นต้นไป   และอาจยุติโครงการ APP ดังกล่าวภายในไตรมาสที่ 3 นี้ ซึ่งจะต้องดูว่าในครั้งนี้จะมีมติที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่

 

3) การให้สัมภาษณ์ของกรรมการ FOMC ที่มีสิทธิ์โหวตในปีนี้หลายท่าน ไล่ตั้งแต่ Michelle Bowman, Christopher Waller, Lael Brainard, Loretta Mester, Patrick Harker ซึ่งจะส่งผลต่อไปยังมุมมองของนักลงทุนในตลาดได้ ล่าสุด Fed Funds futures บ่งชี้ว่านักลงทุนคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในปีนี้อีก 2.00-2.25% กับ 6 ครั้งการประชุมที่เหลือ

 

**บล.เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน) คาดกรอบดัชนีฯ สัปดาห์นี้อยู่ที่ 1670-1700 จุด (สัปดาห์ที่ผ่านมา 1,686 จุด /-0.89%) สถานการณ์ยูเครน-รัสเซีย ยังไม่มีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้น และดูเสมือนว่าสถานการณ์จะเริ่มมี ความยืดเยื้อ ขณะที่ Fed จะมีการเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ย หรือลด QE/QT จึงกลายมาเป็นประเด็น สำคัญที่กดดันตลาด และทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุน (แต่จะบวกต่อราคาทองคำ)

 

ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้เปิดทำการแค่ 2 วันก่อนเข้าวันหยุดยาว คาดว่านักลงทุนจะเริ่มชะลอการ ลงทุน การซื้อขายอาจจะเบาบางลงในสัปดาห์นี้

 

ตลาดหุ้นไทยจะเข้าวันหยุดยาว แต่สถานการณ์ยูเครน ยังมีความยืดเยื้อ คาดการณ์ยาก รวมไปทั้งนัก ลงทุนปรับพอร์ตรับ Fed จะเร่งคุมนโยบายการเงิน เราแนะให้เพิ่มการถือเงินสด หรือขายทำกำไรหุ้น ออกไป และกลับมาลงทุนอีกครั้งหลังวันสงกรานต์

 

ปัญหา supply chain จากสถานการณ์ยูเครนและจีน Lockdown ยังมีผลกระทบต่อหุ้นหลายกลุ่ม โดยเฉพาะชิ้นส่วนรถฯ อิเล็กทรอนิกส์และหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ ต้องลงทุนด้วยความระมัดระวัง

 

จับทิศทาง Sector ที่นักลงทุนหลบเลี่ยงความเสี่ยงจากต่างประเทศ โดยกลุ่มที่ถูกขาย คือ อิเล็กทรอนิกส์ เหล็ก แต่โยกเงินเข้าสู่ กลุ่มโรงพยาบาล ท่องเที่ยว และค้าปลีก

 

หุ้นที่ทรงเทคนิคดีและงบงวดที่ผ่านมาออกมาดี เราชอบVIBHA, ILM, SPVI

 

copy trade ฝรั่งซื้อหุ้นวันก่อน CPALL, THG

 

พอร์ตหุ้นวันนี้ เรานำ KBANK, BH, EA, SIS, AS ออก เอา AWC, BCH, STEC, CPALL, IIG, เข้ามาในพอร์ต หุ้นในพอร์ตประกอบไปด้วย AWC*(10%), STEC(10%), BCH(10%), CPALL(10%), IIG*(10%), FORTH(10%), NEX*(10%), CPN(15%)

 

Strategy Stock Pick

BCH*: (เป้าเชิงกลยุทธ์ 23.00 บาท) “เสริมหุ้น รพ. รับความเสี่ยงโควิด-19 หลังสงกรานต์”

• เสริมกันชนโควิด-19 ในพอร์ตรับสงกรานต์ ตัวเลขผู้ติดเชื้อมีโอกาสพุ่งขึ้นสูง รพ, ประกันสังคมได้ค่าตรวจ-รักษา เพิ่มต่อในไตรมาส 2

• ลุ้นกำไร 1Q22 เกินคาดรับ Omicron ระบาดช่วงต้นปี และอาจกินระยะเวลาต่อเนื่องไปตลอดไตรมาส 2 ทำให้กำไรทั้งปี 2022 มีโอกาสสูงกว่าที่ตลาดประเมิน

• Bloomberg Consensus ประเมินกำไรสุทธิปี 2022-2023 เฉลี่ยที่ 2 พัน ลบ. และ 1.8 พัน ลบ. -69%YoY, -13%YoY ตามลำดับ

 

Technical :  ILM, BEC

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง