รีเซต

ไปรษณีย์สหรัฐฯ ออกแสตมป์รำลึก 'อู๋เจี้ยนสยง' นักฟิสิกส์นิวเคลียร์เชื่อสายจีน

ไปรษณีย์สหรัฐฯ ออกแสตมป์รำลึก 'อู๋เจี้ยนสยง' นักฟิสิกส์นิวเคลียร์เชื่อสายจีน
Xinhua
10 ธันวาคม 2563 ( 09:34 )
131
ไปรษณีย์สหรัฐฯ ออกแสตมป์รำลึก 'อู๋เจี้ยนสยง' นักฟิสิกส์นิวเคลียร์เชื่อสายจีน

นิวยอร์ก, 9 ธ.ค. (ซินหัว) -- การไปรษณีย์สหรัฐฯ (USPS) เตรียมออกตราไปรษณียากร 3 ดวงในปีหน้า เพื่อเฉลิมฉลองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย ซึ่งตราไปรษณียากรดวงหนึ่งมีรูปอู๋เจี้ยนสยง (Chien-Shiung Wu) นักฟิสิกส์นิวเคลียร์ชาวอเมริกันเชื้อสายจีน สตรีผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เต็มไปด้วยผู้ชาย

 

อู๋ ซึ่งเกิดในจีนเมื่อปี 1912 เป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ชั้นนำแห่งศตวรรษที่ 20 อันเป็นห้วงยามที่การศึกษาฟิสิกส์นิวเคลียร์ถูกยึดครองโดยผู้ชาย เธอย้ายไปสหรัฐฯ และคว้าปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ของอาชีพกับการสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียสื่อท้องถิ่นอ้างคำพูดของจาดา หยวน หลานสาวของอู๋ ซึ่งเป็นนักข่าวประจำเดอะ วอชิงตัน โพสต์ รายงานว่าอู๋จะต้องมีความสุขที่ได้รับการจดจำเช่นนี้ โดยเฉพาะปีนี้ที่การเหยียดเชื้อชาติชาวเอเชียพุ่งสูงขึ้น"เธอจะต้องตกใจกับความรุนแรงต่อต้านชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียที่เพิ่มขึ้นเพราะความหวาดกลัวคนต่างชาติ (xenophobia)" หยวนกล่าว "มันจึงเยี่ยมมากที่การไปรษณีย์สหรัฐฯ ตัดสินใจยกย่องเธอและวัฒนธรรมของชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียในแง่บวก"หยวน ผู้มีอายุได้ 19 ปี เมื่อคุณย่าอู๋เสียชีวิตในปี 1997 ด้วยวัย 84 ปี กล่าวว่าเธอพึ่งรู้จักย่าหลังจากท่านเกษียณแล้ว และไม่ใช่ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง

 

 

"ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ฉันสังเกตได้ว่าเธอมีคนรู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีการเคลื่อนไหวเพื่อจดจำผู้หญิงหลายคนที่ผลงานของพวกเธอไม่ได้รับการจดจำในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความสนใจต่อผู้หญิงในแวดวงวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น"ตราไปรษณียากรของอู๋ ซึ่งถูกออกแบบโดยเอเธล เคสเลอร์ ประกอบด้วยงานศิลปะต้นฉบับโดยคามมาค (Kam Mak) ศิลปินชาวเอเชีย ผู้ซึ่งหยวนกล่าวว่าสามารถถ่ายทอดรูปลักษณ์ของย่าได้เหมือนมากอนึ่ง อู๋เจี้ยนสยง เป็นนักฟิสิกส์ทดลองชาวอเมริกันเชื้อสายจีน ผู้สร้างประโยชน์สำคัญแก่การศึกษาฟิสิกส์นิวเคลียร์ โดยอู๋ทำงานในโครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project) ซึ่งเธอได้ช่วยพัฒนากระบวนการแยกยูเรเนียมออกเป็นไอโซโทปยูเรเนียม-235 และยูเรเนียม-238 ด้วยการแพร่แก๊ส (gaseous diffusion) (แฟ้มภาพซินหัว : อู๋เจี้ยนสยง (หน้าซ้าย) เข้าเยี่ยมสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง