รีเซต

นาซาเลื่อนภารกิจ Starliner ออกไปอย่างเร็วที่สุดในเดือนพฤษภาคม

นาซาเลื่อนภารกิจ Starliner ออกไปอย่างเร็วที่สุดในเดือนพฤษภาคม
TNN ช่อง16
27 มีนาคม 2566 ( 01:02 )
70
นาซาเลื่อนภารกิจ Starliner ออกไปอย่างเร็วที่สุดในเดือนพฤษภาคม
ภารกิจยานสตาร์ไลเนอร์ (Starliner) อาจต้องเลื่อนภารกิจ CFT หรือ  Crew Flight Test ออกไปอย่างเร็วที่สุดในเดือนพฤษภาคมนี้ถึงจะปล่อยยานขึ้นสู่อวกาศพร้อมนักบินอวกาศ 2 คน คือ สุนี วิลเลียมส์ (Suni Williams) และ บุทช์ วิลมอร์ (Butch Wilmore)  

สำหรับกำหนดการเดินทางขึ้นสู่อวกาศยานยานสตาร์ไลเนอร์ (Starliner) จะใช้บริการของจรวดขนส่งอวกาศ Atlas V ฐานปล่อยจรวด SLC-41 ศูนย์อวกาศแหลมคะแนเวอรัล โดยจะเข้าทำการเชื่อมต่อกับโมดูล Harmony ของสถานีอวกาศนานาชาติ ISS เป็นระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก่อนเดินทางกลับโลก

หากภารกิจ CFT หรือ Crew Flight Test  ประสบความสำเร็จทางนาซาจะให้การรับรองยานสตาร์ไลเนอร์ (Starliner) ให้ทำภารกิจขนส่งนักบินอวกาศในภารกิจต่อ ๆ ไป เช่นเดียวกับยานครูว์ดรากอน (Crew Dragon) ที่ให้บริการขนส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติ ISS อยู่ในปัจจุบัน

ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคม 2022 ยานสตาร์ไลเนอร์ (Starliner) ได้ทำภารกิจ Orbital Flight Test 2 สำเร็จมาแล้ว โดยยานได้เดินทางขึ้นสู่อวกาศเพื่อเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ ISS เป็นเวลา 4 วัน ก่อนเดินทางกลับโลก อย่างไรก็ตามภารกิจดังกล่าวเป็นภารกิจแบบไร้นักบินอวกาศภายในยานอวกาศเพื่อทดสอบระบบต่าง ๆ ของยานอวกาศก่อนทำภารกิจที่มีนักบินอวกาศอยู่ภายในยาน

สำหรับยานสตาร์ไลเนอร์ (Starliner) พัฒนาโดยบริษัท โบอิง (Boeing) ประเทศสหรัฐอเมริกา ยานอวกาศลำนี้ถูกออกแบบให้บรรทุกนักบินอวกาศได้ 4-7 คน ขึ้นอยู่กับรูปแบบภารกิจ โดยทั่วไปบรรทุกนักบินอวกาศ 4 คน ในภารกิจที่ทำร่วมกับนาซา ยานถูกออกแบบให้สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ซ้ำได้เช่นเดียวกับยานครูว์ดรากอน (Crew Dragon) แต่ยานสตาร์ไลเนอร์ (Starliner) มีขนาดที่ใหญ่กว่าเล็กน้อย 

ที่มาของข้อมูล Space.com 

ที่มาของรูปภาพ Boeing

ข่าวที่เกี่ยวข้อง