เมื่อ WHO ระบุว่า โควิด-19 กำลังกลายเป็นโรคประจำถิ่น และ คาดว่า การแพร่ระบาดยุติลงในปี 2565 แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรและเมื่อไหร่ ว่าโควิด-19 ไม่ใช่โรคระบาดที่น่ากังวลอีกต่อไป??
TNN Health
7 มกราคม 2565 ( 18:14 )
399
หลังจาก เชื้อกลายพันธุ์ “โอมิครอน” ถูกค้นพบครั้งแรก เมื่อช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ปี2564 ก็พบว่าเชื้อตัวนี้สามารถแพร่ระบาดไปได้รวดเร็วกว่า สายพันธุ์ก่อนๆ หลายเท่า แม้ไม่ทำให้มีอาการป่วยรุนแรงก็ตาม
ทำให้ใครหลายคนอาจสิ้นหวัง และเริ่มคิดว่าแล้วเจ้าโรคระบาดตัวนี้ จะหมดลงเมื่อไหร่ ข่าวดีคือ องค์การนามัยโลก หรือ WHO ออกมาเปิดเผยแล้วว่า โควิด-19 จะหยุดการแพร่ระบาดลงในปีนี้ แต่ไม่ใช่ว่า จะสามารถกำจัดมันจนหมดสิ้นไป แต่มันจะเปลี่ยนสถานะจากโรคระบาด กลายเป็นโรคประจำถิ่น แทน
โรคประจำถิ่น คือ อะไร
โรคประจำถิ่น เกิดขึ้นเมื่อตอนที่ไวรัสกระจายอยู่ในหมู่ประชากรโลกเป็นเวลาหลายปี แต่ระดับการค้นพบและผลกระทบของไวรัส จะลดลงสู้ระดับที่ค่อนข้างควบคุมหรือจัดการได้ ตัวอย่างเช่น ไข้หวัดใหญ่ ที่ยังพบการระบาดแต่กระจุกอยู่ที่ใดที่หนึ่งเท่านั้น แต่ไม่ได้หมดหรือหายไปจากโลกนี้อย่างสิ้นเชิง
โรคติดเชื้อที่จัดอยู่ในกลุ่มโรคประจำถิ่น ต้องมีอัตราการติดเชื้อไม่มาก และไม่แสดงอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เหมือนอย่างตอนแรกเริ่มของการระบาด
อีลีนเนอร์ เมอร์เรย์ นักระบาดวิทยา จากมหาวิยาลัยยบอสตัน สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า โรคหนึ่งๆ จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น เมื่ออัตราการแพร่ระบาดเริ่มคงที่ ซึ่งหมายความว่า ผู้ป่วย 1 คนสามารถแพร่เชื้อต่อไปยังอีกคนได้ ซึ่งต่างกับแรกเริ่มของการเกิดโรคระบาด มี่มักพบว่า ผู้ป่วย 1 คน สามารถเป็น Superspreader หรือ แพร่กระจายเชื้อไปสู่คนหลายคน
คำถามคือ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เข้าสู่ระยะของโรคประจำถิ่นแล้ว ?
สถานการณ์ปัจจุบัน ดูเหมือนว่า สายพันธุ์โอมิครอน จะยืดเวลาของโรคโควิด-19 ในการกลายเป็นประจำถิ่นให้ไกลออกไป แต่ก็เป็นไปได้ว่า การแพร่เชื้ออย่างรวดเร็ว ทำให้ประชากรจำนวนมากติดเชื้อและเริ่มสร้างภูมิคุ้มกัน จนกลายเป็นเร่งการเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่จากการติดเชื้อให้เร็วขึ้น แต่ แองดจลา ราสมุสเซน นักไวรัสวิทยา จากแคนาดาบอกว่า “ตอนนี้ก้ยังยากที่พูดแบบนั้นได้”
การเป็นโรคประจำถิ่นไม่เพียงพิจารณาจากอัตราการแพร่รเชื้อ แต่ยังหมายถึงผลกระทบด้านสาธารณสุขด้วย
“โดยทั่วไป ไวรัสจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นเมื่อ เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ หน่วยงานของรัฐ และสาธารณะ ตัดสินใจร่วมกันว่าสามารถยอมรับระดับของผลกระทบของไวรัสได้ พูดอีกอย่างก็คือ มันไม่ถือเป็นวิกฤตที่ลุกลามอีกต่อไป”
ที่มา: World Health Organization (WHO), VOX
ติดตาม TNN Health ได้ที่นี่ FB https://www.facebook.com/TNNHealth