รีเซต

‘ประภัตร’ดันเกษตกรเลี้ยงโคเนื้อป้อนตลาดต่างประเทศ หลังพบความต้องการมากถึง 1 ล้านตัวต่อปี

‘ประภัตร’ดันเกษตกรเลี้ยงโคเนื้อป้อนตลาดต่างประเทศ หลังพบความต้องการมากถึง 1 ล้านตัวต่อปี
มติชน
28 มิถุนายน 2563 ( 20:12 )
125
‘ประภัตร’ดันเกษตกรเลี้ยงโคเนื้อป้อนตลาดต่างประเทศ หลังพบความต้องการมากถึง 1 ล้านตัวต่อปี

‘ประภัตร’ ดันเกษตกรเลี้ยงโคเนื้อป้อนตลาดต่างประเทศหลังพบความต้องการมากถึง 1 ล้านตัวต่อปี

นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยระหว่างลงพื้นที่ตรวจราชการตามนโยบายกระทรวงเกษตรฯ พร้อมติดตามสถานการณ์การเพาะปลูกและสถานการณ์ภัยแล้ง จ.กาฬสินธุ์ ว่า ปัจจุบันอาชีพทำนาประสบปัญหาเนื่องจากฝนทิ้งช่วง ภัยแล้ง และอุทกภัย ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องหาอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ตลอดทั้งปี ซึ่งอาชีพด้านปศุสัตว์และการปลูกพืชสำหรับอาหารสัตว์นั้น สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้นได้ ซึ่งรัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรฯได้ดำเนินโครงการภายใต้บันทึกความเข้าใจ (เอ็นโอยู) โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ และกิจการที่เกี่ยวเนื่องฯ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถภาคปศุสัตว์ไทย หรือโครงการโคขุนกู้วิกฤตโควิด-19ในวงเงินสินเชื่อ 50,000 ล้านบาท โดยเกษตรกรต้องรวมกลุ่มจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน อย่างน้อย 7 คน กู้ได้ไม่เกินกลุ่มละ 10 ล้านบาท หรือกู้ 1 ล้านบาท ดอกเบี้ย 100 บาท โดยมีคอกกลางรับซื้อ

 

“จากการลงพื้นที่แปลงนาสำรวจความเสียหาย คาดว่าหากภายใน 2 สัปดาห์ไม่มีฝนตกลงมานาข้าวก็จะเสียหาย ซึ่งไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก จึงต้องนำโครงการฯ ส่งเสริมเลี้ยงสัตว์นี้เข้ามาช่วยพี่น้องเกษตรกร ทั้งนี้ ความต้องการโคเนื้อของต่างประเทศมีมากถึง 500,000-1,000,000 ตัวต่อปี ไก่พื้นเมืองโดยเฉพาะตลาดประเทศกัมพูชา ต้องการไม่น้อยกว่า 50,000 ตัวต่อวัน ส่วนแพะมีความต้องการ 200,000-300,000 ตัวต่อปี และจากรายงาน ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ในปี 2563 คาดว่า ความต้องการบริโภคเนื้อโคของโลกมีมากถึง 60 ล้านตัน เนื้อสุกร 90 ล้านตัน และเนื้อไก่ 98 ล้านตัน ซึ่งความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นโอกาสของพี่น้องเกษตรกรได้สร้างรายได้” นายประภัตรกล่าว

 

นอกจากนี้ ยังได้ติดตามการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งมีแหล่งน้ำสำคัญคือเขื่อนลำปาว แต่พบว่ามีปัญหาระบบการกระจายน้ำในพื้นที่ลาดชันต่างระดับ ดังนั้นเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวจึงไม่ได้รับน้ำเพื่อทำการเกษตรอย่างทั่วถึง จึงได้หารือร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำ กรมน้ำบาดาล วางแผนร่วมกับจังหวัดในการปรับปรุงระบบกระจายน้ำแก่เกษตรกรต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง