รีเซต

กราดยิงหนองบัวลำภู เปิดวิธีดูแลจิตใจเด็ก หลังเผชิญข่าวเหตุกราดยิงเด็ก

กราดยิงหนองบัวลำภู เปิดวิธีดูแลจิตใจเด็ก หลังเผชิญข่าวเหตุกราดยิงเด็ก
Ingonn
7 ตุลาคม 2565 ( 09:14 )
602

ข่าววันนี้ จากเหตุกราดยิงที่หนองบัวลำภู ที่ตํารวจคลั่งกราดยิง ในศูนย์เด็กเล็กแห่งหนึ่ง ในอำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยมีเด็กและผู้ใหญ่เสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งในเหตุการณ์นี้มีผลกระทบต่อจิตใจเด็กอย่างรุนแรง กรมสุขภาพจิต จึงแนะนำวิธีดูแลดูแลจิตใจกลุ่มเด็กและเยาวชน เมื่อผ่านเหตุการณ์ความรุนแรงกราดยิงหนองบัวลำภู

 

จากเหตุการณ์กราดยิงที่หนองบัวลำภู เด็ก คือ กลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพจิต เนื่องจาก เด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์รุนแรงน้อย เด็กรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และเด็กไม่มีประสบการณ์ในการรับมือกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก ซึ่งเด็กไม่สามารถสื่อสารอารมณ์ความเครียด ไม่สามารถเข้าใจได้เท่าผู้ใหญ่ โดยเด็กจะซึมซับ พฤติกรรมเลียนแบบเร็วกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า

 

สัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพจิตของเด็ก

  1. งอแงง่าย เรียกร้องความสนใจมากกว่าปกติ แยกตัวไม่อยากไปโรงเรียน
  2. นอนไม่หลับ หลับไม่ดี ฝันร้าย
  3. หวาดผวา กลัวการแยกจากผู้ปกครอง

 

ผลกระทบที่มีต่อเด็กเมื่อเจอเหตุการณ์รุนแรง เช่น กราดยิงที่หนองบัวลำภู

  1. ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล 
  2. ปัญหาพัฒนาการ เช่น พัฒนาการหยุดชะงัก
  3. ปัญหาการเรียน เช่น หนีเรียน การเรียนตก
  4. ปัญหาพฤติกรรม เช่น ก้าวร้าว เก็บตัว

 

พ่อแม่จะช่วยให้เด็กรับมือกับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรงได้อย่างไร

  1. ให้เด็กได้เล่าและพูดถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านพ้นไป กระตุ้นให้เด็กได้แบ่งปันความคิดและถามคำถามต่างๆ “ถ้าเด็กต้องการเล่า โดยอย่าบังคับ”

  2. ให้เด็กได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ปกครอง ครู หรือผู้ใหญ่ที่ไว้เนื้อเชื่อใจ เพื่อให้เด็กรู้สึกปลอดภัย สงบ เชื่อมต่อ และรู้สึกมีความหวัง

  3. ลดการดูสื่อที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น

  4. เมื่อเด็กพร้อมควรกระตุ้นให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดการผลกระทบบางอย่างที่เกิดขึ้นในสังคม เพื่อให้เด็กมีความรู้สึกว่าตนเองสามารถควบคุมสถานการณ์ได้บ้าง เช่น เป็นอาสาสมัครในการสร้างชุมชนปลอดภัย แต่ควรงดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสถานที่เกิดเหตุ

 

สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ

  1. คำนึงถึงความปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตใจของเด็กเป็นอันดับหนึ่ง
  2. รีบให้เด็กกลับเข้าสู่การใช้ชีวิตปกติ
  3. ผู้ใหญ่จัดการอารมณ์ตนเองเป็นต้นแบบ
  4. มีผู้ใหญ่/ผู้ปกครอง ดูแลใกล้ชิด เป็นที่พึ่งทางจิตใจโดยเฉพาะในครอบครัวที่มีการสูญเสีย
  5. พาทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น ปั้นดิน เล่นทราย ศิลปะ ร้องเพลง

 

สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรทำ

  1. ไม่ถามเด็กให้เล่าถึงเหตุการณ์
  2. งดเอาเด็กมาออกข่าว เสพข่าว
  3. ไม่เอาเด็กมาเป็นเครื่องมือการสร้างภาพกระแสดราม่า

 

หากพบความผิดปกติทางความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมในเด็ก ควรรีบพาไปปรึกษาจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น หรือ โทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323

 

 

 

ข้อมูล กรมสุขภาพจิต

 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง