รีเซต

WEF ชี้ 'การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ' อาจคร่า 14.5 ล้านชีวิตภายในปี 2050

WEF ชี้ 'การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ' อาจคร่า 14.5 ล้านชีวิตภายในปี 2050
Xinhua
17 มกราคม 2567 ( 19:34 )
190

(แฟ้มภาพซินหัว : ทิวทัศน์หิมะปกคลุมเมืองดาวอสของสวิตเซอร์แลนด์ วันที่ 16 ม.ค. 2024)

ดาวอส, 17 ม.ค. (ซินหัว) -- รายงานจากการประชุมสภาเศรษฐกิจโลก (WEF) เมื่อวันอังคาร (16 ม.ค.) ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลให้ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม 14.5 ล้านราย และเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 12.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 444 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2050คำแถลงจากการประชุมข้างต้นระบุว่ารายงานฉบับนี้ร่วมรวบรวมโดยการประชุมฯ และโอลิเวอร์ ไวแมน (Oliver Wyman) บริษัทที่ปรึกษา อ้างอิงแบบจำลองที่พัฒนาโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยวิถีความเป็นไปได้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม 2.5-2.9 องศาเซลเซียสรายงานฉบับนี้วิเคราะห์ผลกระทบที่ตามมาของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จำนวน 6 รายการ ได้แก่ อุทกภัย ภัยแล้ง คลื่นความร้อน พายุโซนร้อน ไฟป่า และระดับน้ำทะเลหนุนสูง โดยอุทกภัยเพียงอย่างเดียวอาจส่งผลให้ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิต 8.5 ล้านรายภายในปี 2050 ซึ่งเป็นความเสี่ยงเสียชีวิตเฉียบพลันสูงสุดอันมีต้นตอจากสภาพภูมิอากาศภัยแล้งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันเกี่ยวพันกับสภาพภูมิอากาศอันดับ 2 ที่อาจคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกราว 3.2 ล้านราย ส่วนคลื่นความร้อนอาจก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากที่สุด คิดเป็นมูลค่าราว 7.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 252 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2050รายงานฉบับนี้เตือนว่าวิกฤตสภาพภูมิอากาศจะทวีคูณความไม่เท่าเทียมทางสุขภาพทั่วโลกและประชากรกลุ่มเปราะบางที่สุดจะได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยภูมิภาคอย่างแอฟริกาและเอเชียใต้จะยังคงเสี่ยงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมาก เพราะมีทรัพยากรจำกัด ทั้งโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นทั้งนี้ การประชุมสภาเศรษฐกิจโลกเรียกร้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั่วโลกดำเนินการเชิงยุทธศาสตร์ขั้นเด็ดขาดเพื่อลดการปล่อยก๊าซมลพิษและลดทอนผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อสุขภาพชายัม บิเชน หัวหน้าศูนย์สุขภาพและการดูแลสุขภาพ และสมาชิกคณะกรรมการบริหารการประชุมฯ กล่าวว่าความคืบหน้าที่สร้างมาก่อนหน้านี้จะสูญเปล่า หากไม่มีการลดปล่อยก๊าซมลพิษและดำเนินมาตรการลดทอนผลกระทบอย่างจริงจังเพิ่มขึ้น รวมถึงดำเนินการสร้างระบบสุขภาพที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่นปรับตามสภาพภูมิอากาศในระดับโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง