สายการบินไทยเวียตเจ็ท ลุยขยายเส้นทางข้ามภาคสู่ภูเก็ต เริ่ม 15 ก.ย.
เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2564 สายการบินไทยเวียตเจ็ท เสริมกำลังสนับสนุน “ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ (Phuket Sandbox)” ประกาศขยายเส้นทางบินใหม่ข้ามภูมิภาค ระหว่าง ภูเก็ต สู่ เชียงใหม่ และอุดรธานี พร้อมกลับมาให้บริการเส้นทางบินระหว่าง ภูเก็ต สู่ เชียงราย และ หาดใหญ่ สู่ เชียงราย เดินหน้ามอบตัวเลือกการเดินทางที่คุ้มค่าและสะดวกสบายแก่ผู้โดยสาร เน้นย้ำความสำเร็จในฐานะ “สายการบินโลว์คอสต์ที่เติบโตเร็วที่สุดแห่งปี 2020” (จากนิตยสาร โกลบอล บิสซิเนส เอาท์ลุค กรุงลอนดอน)
เส้นทางบินใหม่ระหว่างภูเก็ต สู่ เชียงใหม่ และ ภูเก็ต สู่ อุดรธานี จะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 15 ก.ย. 2564 และ 1 ต.ค. 2564 ตามลำดับ ขณะที่เส้นทางบินระหว่าง ภูเก็ต สู่ เชียงใหม่ และเส้นทางบินระหว่าง หาดใหญ่ สู่ เชียงราย จะกลับมาให้บริการในเดือนต.ค. 2564
เพื่อเฉลิมฉลองเส้นทางบินใหม่ สายการบินฯ ได้เปิดตัวโปรโมชั่นพิเศษ เสนอบัตรโดยสารราคาพิเศษ เริ่มต้นเพียง 0 บาท (ไม่รวมภาษี ค่าธรรมเนียม และค่าบริการเสริมพิเศษ) สำหรับเดินทางในทุกเส้นทางบนเครือข่ายเส้นทางบินภายในประเทศของสายการบินฯ สามารถจองได้ตั้งแต่วันที่ 16 - 20 ส.ค. 2564 เดินทางได้ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ย. - 31 ธ.ค. 2564 (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เงื่อนไขเป็นไปตามที่กำหนด) ที่ www.vietjetair.com
บัตรโดยสารโปรโมชั่นนี้สามารถจองได้ที่เว็บไซต์ www.vietjetair.com โดยสามารถใช้ได้กับเส้นทางบินภายในประเทศทุกเส้นทางของไทยเวียตเจ็ท ประกอบด้วยเส้นทางบินระหว่างกรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) สู่ เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต กระบี่ อุดรธานี หาดใหญ่ ขอนแก่น นครศรีธรรมราช อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานี เส้นทางข้ามภูมิภาค ระหว่าง ภูเก็ต สู่ เชียงใหม่ เชียงราย อุดรธานี และเส้นทางระหว่าง หาดใหญ่ สู่ เชียงราย บัตรโดยสารโปรโมชั่น สามารถทำการจองผ่านทางเว็บไซต์ www.vietjetair.com หรือจองผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/vietjetthailand (คลิกที่แถบ “จองเลย”) สามารถชำระเงินด้วยบัตรเครดิตและเดบิตวีซ่า, มาสเตอร์การ์ด, เจซีบี, เคซีพี และ อเมริกันเอ็กซ์เพรส หรือบัตรเอทีเอ็มซึ่งออกโดยธนาคารในประเทศไทยซึ่งสามารถทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเตอร์เน็ตได้
ปัจจุบัน สายการบินฯ ยังให้บริการเที่ยวบินขนส่งสินค้าทางอากาศและเที่ยวบินกึ่งพาณิชย์ระหว่างประเทศตามปกติ สายการบินไทยเวียตเจ็ทมุ่งมั่นในการให้บริการด้วยความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้โดยสาร พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารด้วยช่องทางการติดต่อที่สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้นในช่วงการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19