"เห็ดพิษ กับ เห็ดกินได้" มีอะไรบ้าง? ลักษณะแบบไหน ที่ควรหลีกเลี่ยง
เปิดภาพตัวอย่าง "เห็ดพิษ กับ เห็ดกินได้" สังเกตอย่างไร ลักษณะอย่างไรควรหลีกเลี่ยง อะไรคือปัจจัยเสี่ยงในการบริโภคเห็ด
เห็ดพิษ (Mushroom poisoning) ช่วงนี้มีฝนตกลงมาหลายพื้น ทำให้เห็ดหลายชนิดเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะเห็ดป่าในพื้นที่ธรรมชาติ ซึ่งมีทั้งเห็ดกินได้ และ เห็ดพิษ กินไม่ได้ เมื่อเห็ดอยู่ในระยะดอกตูม จะมีความคล้ายคลึงกันมาก อาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิด และนำเห็ดพิษมาปรุงประกอบอาหารได้
สำหรับเห็ดพิษที่เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตส่วนใหญ่ เช่น
1) เห็ดระโงกพิษ หรือบางที่เรียกว่าเห็ดระโงกหิน เห็ดระงาก เห็ดไข่ตายซาก ซึ่งเห็ดชนิดนี้คล้ายคลึงกับเห็ดระโงกขาว ที่กินได้ แต่มีลักษณะต่างกัน คือ เห็ดระโงกพิษ รอบขอบหมวกไม่มีรอยขีด ผิวก้านเรียบหรือมีขนเล็กน้อย ถุงหุ้มโคนรูปถ้วยแนบติดกับโคนก้าน เมื่อผ่าก้านดูจะมีลักษณะตัน
2) เห็ดถ่านเลือด มีลักษณะคล้ายกับเห็ดถ่านเล็กที่กินได้ ขนาดดอกจะเล็กกว่า และไม่มีน้ำยางสีแดงส้ม
3) เห็ดเมือกไครเหลือง ที่ประชาชนมักสับสนกับเห็ดขิง ซึ่งชนิดที่เป็นพิษจะมีเมือกปกคลุมและมีสีดอกเข้มกว่า
4) เห็ดหมวกจีน มีความคล้ายกับเห็ดโคนที่กินได้ เป็นต้น
เห็ดพิษ
-เห็ดโคน
-เห็ดระโงกเหลือง
-เห็ดระโงกหิน
-เห็ดกระโดงตีนตัน
-เห็ดขี้ควาย
-เห็ดตอมกล้วยแห้ง
-เห็ดข่า
-เห็ดมันปูใหญ่
-เห็ดไข่หงส์
-เห็ดไข่
-เห็ดดอกกระถิน
-เห็ดโคนส้ม
-เห็ดเผาะ(มีราก)
-เห็ดขี้วัว
-เห็ดแดงก้านแดง
เห็ดกินได้
-เห็ดกุหลาบ
-เห็ดระโงกขาว
-เห็ดไข่นก
-เห็ดก่อ
-เห็ดกูด
-เห็นตับเต่า
-เห็ดพุงหมู
-เห็ดขาวเหนียว
-เห็ดน้ำแข็ง
-เห็ดเผาะ(ไม่มีราก)
-เห็ดจั่น
-เห็ดไข่
-เห็ดโคน
-เห็ดโคนฟาน
-เห็ดมันปู
-เห็ดหล่มกระเขียว
ปัจจัยเสี่ยงในการบริโภคเห็ด
1. กินร่วมกับแอลกอฮอล์ ทำให้เกิดพิษ เช่น เห็ดน้ำหมึก
2.การกินเห็ดที่ไม่รู้จัก หรือ ไม่แน่ใจว่า กินได้หรือไม่
3.กินดิบทำให้เกิดพิษ เช่น เห็ดน้ำหมาก
4.การต้นเห็ดรวมกับ ข้าวสาร หัวหอม และ เครื่องเงิน แล้วไม่เปลี่ยนสีแสดงว่าเป็นเห็ดกินได้ (เป็นความเชื่อที่ผิด)
อาการหลังทานเห็ดพิษ
เห็ดมีพิษไม่รุนแรง
คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว เกิดภายในไม่กี่นาทีแต่ไม่เกิน 4 ชั่วโมง ส่วนใหญ่หายเองได้เมื่อได้รับการรักษา
เห็ดมีพิษรุนแรง
ตับวาย ไตวาย ชักรุนแรงต่อเนื่อง หมดสติและเสียชีวิตได้ เกิดอาการ 4 ชั่วโมงขึ้นไปหลังรับประทานเห็ด
ลักษณะของเห็ดพิษที่ควรหลีกเลี่ยง
-หมวกเห็ดมีเกล็ดปุ่มปม
-มีสีน้ำตาล หรือ สีสันฉูดฉาด
-มีขนหรือหนามเล็กๆบริเวณโคน
-มีกลิ่นค่อนนข้างแรง เมื่อดอกแก่
-มีวงแหวนใต้หมวก
-เห็ดที่ขึ้นใกล้มูลสัตว์ ขึ้นในบริเวณที่มีการใช้สารเคมี
ภาพจาก กรมควบคุมโรค/TNN Online/AFP