อียิปต์พบ 'อุโมงค์หิน' ซุกเศวตศิลาหัวมนุษย์-สฟิงซ์
ไคโร, 4 พ.ย. (ซินหัว) -- เมื่อวันพฤหัสบดี (3 พ.ย.) กระทรวงการท่องเที่ยวและโบราณวัตถุของอียิปต์ ประกาศการค้นพบอุโมงค์หิน ซึ่งอยู่ลึกใต้ผิวดินราว 13 เมตร รวมถึงเศวตศิลาแกะสลักรูปศีรษะ 2 ชิ้น และเครื่องปั้นดินเผาหลายชิ้น ในเมือง อเล็กซานเดรียทางตอนเหนือของประเทศ
แถลงการณ์จากกระทรวงฯ ระบุว่าภารกิจโบราณคดีอียิปต์-โดมินิกัน ค้นพบอุโมงค์ยาว 1,305 เมตร และสูง 2 เมตร ในวิหารทาโปไซริส แม็กนา (Taposiris Magna) ซึ่งเป็นเมืองที่ก่อตั้งโดยฟาโรห์ทอเลมีที่ 2 ฟิลาเดลฟัส ในช่วงระหว่าง 280-270 ปีก่อนคริสตศักราช
อุโมงค์บางส่วนจมอยู่ใต้น้ำของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนเศวตศิลาแกะสลักรูปศีรษะ 2 ชิ้น แบ่งเป็นหนึ่งชิ้นสำหรับบุคคลจากยุคทอเลมี (305-30 ปีก่อนคริสตศักราช) และอีกหนึ่งชิ้นสำหรับตัวสฟิงซ์
อนึ่ง มูฮัมหมัด มุสตาฟา ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี กล่าวกับสำนักข่าวซินหัวว่าแผ่นดินไหวและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่เบื้องหลังการจมน้ำของโบราณวัตถุในเมืองอเล็กซานเดรีย
(ภาพจากกระทรวงการท่องเที่ยวและโบราณวัตถุของอียิปต์ : อุโมงค์หินที่ถูกค้นพบระหว่างการสำรวจทางโบราณคดีในเมืองอเล็กซานเดรียของอียิปต์)[/caption][playlist type="video" ids="318285"]