รีเซต

นักโภชนาการ ไขข้อสงสัย ‘อาหารแช่แข็ง-สารกันบูด’ กินบ่อยไม่ดีต่อสุขภาพ จริงหรือไม่?

นักโภชนาการ ไขข้อสงสัย ‘อาหารแช่แข็ง-สารกันบูด’ กินบ่อยไม่ดีต่อสุขภาพ จริงหรือไม่?
มติชน
9 มิถุนายน 2563 ( 05:11 )
160
นักโภชนาการ ไขข้อสงสัย ‘อาหารแช่แข็ง-สารกันบูด’ กินบ่อยไม่ดีต่อสุขภาพ จริงหรือไม่?

 

ในสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ทำให้ผู้คนลดการเคลื่อนไหว ทั้งเรื่องการทำงาน และใช้ชีวิต เมื่อออกจากบ้านไปช้อปปิ้งที จึงต้องซื้อของมาตุนทีละมากๆ หนึ่งในนั้นคือ ‘อาหารแช่แข็ง’ ที่สามารถเลือกเก็บไว้รับประทานช่วงเวลาใดก็ได้

 

ทว่าก็มีความเชื่อและมุมมองของหลายคน ต่ออาหารแช่แข็งในทำนองว่า ไม่จำเป็นอย่ากิน เพราะที่สามารถเก็บไว้นานได้ เพราะอุดมไปด้วยสารกันบูดหรือไม่

ดร.ภมรินทร์ ไวเมลืองอรเอก นักวิชาการจาก สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เล่าว่า ในประเด็นที่ว่าการบริโภคอาหารแช่แข็งบ่อยๆ ไม่ดีต่อสุขภาพนั้น ต้องบอกว่าอาหารแช่แข็ง เป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการลดอุณหภูมิลงต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ซึ่งเป็นการใช้ความเย็นในการถนอมอาหาร ดังนั้นสารอาหารต่างๆ จะยังคงอยู่ครบถ้วน

 

และด้วยอุณหภูมิการเก็บรักษาที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ทำให้อาหารประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องเติมสารกันบูด หรือสารกันเสียใดๆ

“โดยทั่วไปผู้บริโภคอาจพบอาหารแช่แข็งได้ 2 ประเภท คือ 1.ประเภทวัตถุดิบทั่วไป เช่น เนื้อสัตว์หรืออาหารทะเลแช่แข็ง หรือผักตัดแต่งแช่แข็ง โดยมากอาหารแช่แข็งในกลุ่มนี้จะถูกนำไปปรุงอีกครั้งหนึ่งก่อนรับประทาน

 

“2.ประเภทอาหารแช่แข็งแบบพร้อมรับประทาน อาหารประเภทนี้ถูกปรุงสุกมาแล้ว และมักจะถูกนำไปอุ่นในเตาไมโครเวฟทั้งภาชนะก่อนรับประทาน ซึ่งอาหารแช่แข็งในกลุ่มนี้จะถูกมองว่าอันตราย อันเนื่องมาจากภาชนะ ซึ่งในความเป็นจริง ภาชนะพลาสติกที่ถูกเลือกนำมาใช้กับอาหารประเภทนี้ จะมีคุณสมบัติที่ทนต่อสภาวะอุณหภูมิต่างๆ ตั้งแต่ที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง จนถึงอุณหภูมิสูงที่ทำให้อาหารร้อนในไมโครเวฟ แต่ภาชนะพลาสติกประเภทนี้ เหมาะกับการใช้ในการอุ่นอาหารเพียงครั้งเดียวเท่านั้น” ดร.ภมรินทร์กล่าว

 

อุ่นใจพร้อมอาหารอุ่นๆ ที่ปลอดภัย

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

– รู้ก่อนกิน หมอชี้อาหารเหลือ-อาหารแช่แข็ง นำมาอุ่นไมโครเวฟ มีผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง