รีเซต

ฉางเอ๋อ 5 ลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ เจาะเก็บ "ดิน-หิน" เล็งส่งกลับโลก

ฉางเอ๋อ 5 ลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ เจาะเก็บ "ดิน-หิน" เล็งส่งกลับโลก
ข่าวสด
2 ธันวาคม 2563 ( 22:30 )
253
ฉางเอ๋อ 5 ลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ เจาะเก็บ "ดิน-หิน" เล็งส่งกลับโลก

ฉางเอ๋อ 5 - วันที่ 2 ธ.ค. ซินหัว และ ซีเอ็นเอ็น คาวมสำเร็จของจีนในการนำยานอวกาศหุ่นยนต์สำรวจดวงจันทร์ ฉางเอ๋อ 5 ลงจอดบนบริเวณที่ไม่เคยสำรวจมาก่อน และเจาะลงไปในพื้นผิวดังกล่าวเพื่อเก็บตัวอย่างดินและหินจนถึงวันพฤหัสบดีที่ 3 ธ.ค. ภายใต้การควบคุมภารกิจบนภาคพื้นดิน ถือเป็นความพยายามครั้งแรกที่จะเก็บหินจากดวงจันทร์จากหลายประเทศนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970

 

 

องค์การอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) รายงานว่า ยานอวกาศฉางเอ๋อ-5 ของจีน ลงจอดบนพื้นผิวที่ด้านใกล้ดวงจันทร์ เมื่อช่วงดึกวันอังคารที่ 1 ธ.ค. และส่งภาพถ่ายกลับมายังศูนย์ควบคุมภาคพื้นดิน เมื่อ 23.11 น. ตามเวลาปักกิ่ง ยานอวกาศลงจอดบนพื้นที่กำหนดล่วงหน้า ใกล้กับลองจิจูด 51.8 องศาตะวันตก และละติจูด 43.1 องศาเหนือ

 

ฉางเอ๋อ 5 ประกอบด้วยโมดูลโคจร ลงจอด พุ่งขึ้น และส่งกลับ ขึ้นสู่อวกาศ เมื่อวันที่ 24 พ.ย. จากนั้นเมื่อ 22.57 น. วันอังคารที่ 1 ธ.ค. ตามเวลาปักกิ่งจีน การทำงานแบบประสานกันของโมดูลพุ่งขึ้น-ลงจอดของฉางเอ๋อ 5 ที่ความสูงเหนือพื้นผิวดวงจันทร์ราว 15 กิโลเมตรได้

 

XINHUA

 

จังหวะลงจอดด้วยเครื่องยนต์แรงขับแบบแปรผันจนความเร็วสัมพัทธ์ในแนวดิ่งกับดวงจันทร์ลดลงจาก 1.7 กิโลเมตรต่อวินาทีเหลือศูนย์ ก่อนที่ยานสำรวจได้รับการปรับและเคลื่อนเข้าใกล้พื้นผิวดวงจันทร์

 

หลังจากที่ยานสำรวจตรวจจับและระบุสิ่งกีดขวางที่ปรากฏอัตโนมัติแล้ว จึงเลือกพื้นที่เหมาะสมและลงจอดทางเหนือของจุดเกิดการก่อตัวของภูเขาไฟ มอนส์ รึมเคอร์ (Mons Rümker) ในแอ่งขนาดใหญ่ โอซีเอนัส พรอสซาเลรัม (Oceanus Procellarum) หรือเรียกกันในชื่อ มหาสมุทรพายุ (Ocean of Storms) ที่ด้านใกล้ของดวงจันทร์

 

XINHUA

 

CNSA ระบุว่ากล้องของฉางเอ๋อ-5 ได้บันทึกภาพขณะยานทำการลงจอดไว้ ด้านศูนย์ควบคุมภาคพื้นดินได้สั่งการให้โมดูลลงจอดตรวจสอบสถานะและการตั้งค่าต่างๆ เพื่อเตรียมออกปฏิบัติการบนพื้นผิวดวงจันทร์ราว 48 ชั่วโมง

 

คาดว่าตัวอย่างดินและหินคาดจะมีน้ำหนักราว 2 กิโลกรัม และจะปิดผนึกลงภาชนะในยานฉางเอ๋อ 5 จากนั้น โมดูลพุ่งขึ้นจะทำหน้าที่พาฉางเอ๋อ 5 ทะยานจากพื้นผิวดวงจันทร์ และผนวกเข้ากับการทำงานแบบประสานกันของโมดูลโคจร-ส่งกลับ

XINHUA

 

หลังจากที่ตัวอย่างดินและหินถูกส่งต่อไปยังโมดูลส่งกลับแล้ว โมดูลพุ่งขึ้นจะแยกจากโมดูลโคจร-ส่งกลับ โมดูลโคจรทำหน้าที่ส่งตัวอย่างกลับมาผืนโลก ส่วนโมดูลส่งกลับถูกกำหนดพายานกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศและลงจอดที่อำเภอซื่อจื่อหวัง ในเขตปกครองตนเองมองโกเลีย ทางตอนเหนือของจีน

 

หากประสบความสำเร็จ ภารกิจดังกล่าวจะทำให้จีนเป็นชาติที่สามของโลกที่เก็บตัวอย่างวัตถุจากดวงจันทร์ ต่อจาก สหรัฐอเมริกา ที่นักบินอวกาศนำหินและดิน น้ำหนัก 382 กิโลกรัม กลับมาสู่โลก เมื่อปี 2512-2515 ในโครงการอพอลโล และ อดีตสหภาพโซเวียต หรือ รัสเซีย ในปัจจุบัน ที่นักบินอวกาศที่เก็บตัวอย่างวัตถุกลับมาสู่โลก น้ำหนัก 170.1 กรัม ในปี 2519

 

XINHUA

 

นักวิทยาศาสตร์จีนจะนำตัวอย่างดินและหินมาวิเคราะห์โครงสร้างคุณสมบัติกายภาพและองค์ประกอบวัตถุของดินบนดวงจันทร์ อาจไขคำถามต่างๆ เช่น ระยะเวลาที่ดวงจันทร์ยังเคลื่อนไหวเนื่องจากภูเขาไฟภายในดวงจันทร์ และช่วงเวลาที่ สนามแม่เหล็ก จะสลายตัว ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการปกป้องสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบจากรังสีดวงอาทิตย์

 

 

 

 

 

ใต้ภาพ
+++
ภาพถ่ายที่ศูนย์ควบคุมการบินและอวกาศปักกิ่ง ในกรุงปักกิ่ง วันที่ 1 ธ.ค. 2020 แสดงให้เห็นยานอวกาศฉางเอ๋อ-5 ลงจอดบนดวงจันทร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง