รีเซต

อุกกาบาต เหนือน่านฟ้า เชียงใหม่คืออะไร?

อุกกาบาต เหนือน่านฟ้า เชียงใหม่คืออะไร?
TrueID
23 มิถุนายน 2564 ( 10:07 )
533

จากข่าวการแตกตื่นทั้งเชียงใหม่ ลำพูน แสงวาบสีเขียว และเสียงบึมดังสนั่นลั่นฟ้าช่วงหัวค่ำ ผ่านไปกว่า 1 ชั่วโมงยังไม่มีการยืนยันว่าเป็นอะไรกันแน่ ผอ.สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชี้หากเป็นอุกกาบาตจะรู้ได้ภายใน 2-3 วัน วันนี้ trueID พาไปรู้จักกับอุกกาบาตว่าคืออะไร และวิธีการทดสอบว่าใช่อุกกาบาตหรือไม่

 

 

อุกกาบาตคืออะไร?

 

คือ หินอวกาศที่ตกลงมาสู่ผิวโลกหรือผิวดาวเคราะห์แล้ว ตอนอยู่ในอวกาศจะเรียกว่าดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) หรือสะเก็ดดาว (Meteoriod) พอเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงประมาณ 40-70 กิโลเมตร/วินาที เกิดการ compression กับอากาศในชั้นบรรยากาศโลก ทำให้อากาศรอบๆ ลุกไหม้เป็นแสงสว่างเรียกว่า ดาวตก (Meteor) จวบจนลงถึงพื้นแล้วจึงเรียกอุกกาบาต อุกกาบาตขนาดเล็กคือหินอวกาศที่ถูกเผาไหม้จนเกือบหมด แต่สำหรับอุกกาบาตที่มีขนาดใหญ่นั้นคือหินอวกาศที่ไม่ถูกเผาไหม้จนหมดทำให้ตกลงมาบนพื้นโลก และเกิดหลุมอุกกาบาต (Crater)

 

 

สาธารณสมบัติ

 

 

ชนิดของอุกกาบาต มีดังนี้

 

  1. C-type อุกกาบาตคาร์บอนมีสีคล้ำ มีองค์ประกอบเป็นคาร์บอน
  2. S-type อุกกาบาตหิน มีองค์ประกอบเป็นซิลิกา
  3. M-type อุกกาบาตโลหะ มีองค์ประกอบเป็นเหล็กและนิเกิล

 

นอกจากอุกกาบาตจะเกิดขึ้นจากสะเก็ดดาวเคราะห์น้อยแล้ว ยังมีอุกกาบาตบนพื้นโลกที่มาจากดวงจันทร์และดาวอังคาร ซึ่งในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการค้นพบอุกกาบาต ALH84001 ซึ่งเป็นสะเก็ดของดาวอังคารที่ตกลงบนน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติก ใน 65 ล้านปีที่ผ่านมา อุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งชนโลกที่ ซิคซูลูบ คาบสมุทรยูคาทาน ประเทศเม็กซิโก ทำให้ไดโนเสาร์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ สูญพันธุ์เป็นจำนวนมาก

 

 

CC BY 2.0

 

 

กระบวนการทดสอบความเป็นอุกกาบาตของวัตถุต้องสงสัย

 

หากคุณคือผู้โชคดีที่เก็บชิ้นส่วนอุกกาบาต (Meteorite) ที่มาจากนอกโลกได้ คำถามคือคุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าชิ้นส่วนดังกล่าวเป็นอุกกาบาตจริง ๆ เนื้อหาต่อไปนี้ขอเสนอวิธีการตรวจสอบความเป็นอุกกาบาตของวัตถุต้องสงสัย  ซึ่งหากลองทดสอบแล้วผลออกมาสอดคล้องตามวิธีด้านล่างนี้ แสดงว่าคุณคือผู้โชคดีคนหนึ่งที่เป็นเจ้าของวัตถุจากอวกาศอายุนับพันล้านปี

 

ภาพโดย Hans Braxmeier จาก Pixabay 

 

ส่วนที่ การพิจารณาจากรูปพรรณสัณฐานของวัตถุต้องสงสัย

 

  1. สังเกตรูปร่างของวัตถุ โดยรูปทรงของอุกกาบาตส่วนใหญ่จะมีลักษณะไม่สมมาตร เนื่องจากขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศจะเกิดความร้อนสูง ส่งผลให้รูปร่างของอุกกาบาตเปลี่ยนไป จากรูปทรงกลมหรือเกือบกลม กลายเป็นรูปทรงไม่สมมาตร ดังภาพที่ 1
  2. สังเกตจากสีผิวชั้นนอกของวัตถุ ผิวของอุกกาบาตที่เพิ่งตกลงบนพื้นโลกจะเป็นสีดำสนิท แต่หากเป็นอุกกาบาตที่ตกอยู่บนพื้นโลกเป็นเวลานานแล้ว จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ซึ่งเป็นสีที่เกิดขึ้นจากสนิม ดังภาพที่ 2
  1. สังเกตจากลักษณะของผิวชั้นนอก ลักษณะผิวของอุกกาบาต โดยเฉพาะอุกกาบาตหินจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากหินทั่วไปคือมี “เปลือกหลอม” (fusion crust) เป็นเปลือกบาง ๆ สีดำประกาย เกิดจากการเผาไหม้ขณะอยู่ในชั้นบรรยากาศ และมักจะมีสีเข้มกว่าหินทั่วไป ส่วนอุกกาบาตเหล็กจะมีสีดำคล้ำและมีร่องรอยปรากฏเป็นร่องหลุมโค้งเว้า (regmaglypt) คล้าย ๆ กับรอยนิ้วโป้งที่เรากดลงบนก้อนดินน้ำมัน ดังภาพที่ 3
  2. ก้อนวัตถุต้องสงสัยต้องไม่มีรูพรุน หรือฟองอากาศอยู่ด้านในเด็ดขาด เนื่องจากอุกกาบาตทุกประเภทก่อตัวขึ้นในอวกาศ ซึ่งในสภาพแวดล้อมนั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่อุกกาบาตจะก่อตัวแล้วมีรูพรุน หากพบก้อนวัตถุที่มีลักษณะรูพรุนอาจจะเป็นตะกรันโลหะจากกระบวนการทางอุตสาหกรรม หรืออาจจะเป็นหินบางประเภทที่พบบนพื้นโลก เช่น หินสคอเรีย (Scoria) เป็นหินภูเขาไฟ มีน้ำหนักเบาสามารถลอยน้ำได้ ดังภาพที่ 4

 

ส่วนที่ การทดสอบด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์อย่างง่าย

 

  1. ตรวจสอบด้วยแม่เหล็ก โดยทั่วไปอุกกาบาตเกือบทุกประเภทจะดูดติดกับแม่เหล็กได้ หากวัตถุนั้นไม่ดูดติดกับแม่เหล็กก็ค่อนข้างมั่นใจได้ว่าไม่ใช่อุกกาบาต แต่ถึงแม้วัตถุสามารถดูดติดแม่เหล็กได้ก็ไม่ได้หมายความว่ามันคืออุกกาบาต 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็สามารถสันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่าอาจจะเป็นอุกกาบาต
  2. ตรวจสอบสีผงโดยนำตัวอย่างไปขูดกับแผ่นกระเบื้องที่ไม่ผ่านการเคลือบ หรือแก้วกาแฟฃเซรามิก หากเป็นอุกกาบาตจริงจะเกิดเพียงรอยขูดสีเทาจาง ๆ เท่านั้น หากเกิดสีผงที่ติดกระเบื้องเป็นน้ำตาลแดงเข้ม สีสนิม หรือสีผงเป็นสีเทาเข้ม ตัวอย่างนั้นอาจจะไม่ใช่อุกกาบาต แต่อาจเป็นฮีมาไทต์ (Hematite) หรือแมกนีไทต์ (Magnetite)
  1. ฝนด้วยตะไบฝนเหล็ก หากสังเกตเห็นโลหะประกายแวววาวกระจายภายในก้อนวัตถุ แสดงว่าวัตถุก้อนนั้นอาจจะเป็นอุกกาบาต ส่วนตัวผู้เขียนจะเลือกทดสอบวิธีนี้เป็นวิธีหลัง ๆ แม้การฝนด้วยตะไบจะช่วยให้เห็นโครงสร้างภายในของวัตถุ แต่จะส่งผลให้ชิ้นส่วนเกิดความเสียหายได้ หากมีความจำเป็นต้องฝนด้วยตะไบจริง ๆ ควรเลือกฝนบริเวณมุมของก้อนวัตถุตัวอย่าง
  2. ทดสอบคุณสมบัติความเป็นนิกเกิลของก้อนวัตถุ อุปกรณ์ที่ใช้ทำการทดสอบ ได้แก่ น้ำส้มสายชู แอมโมเนีย ไดเมทิลไกลออกซีม (Dimethylglyoxime) และสำลีก้าน เริ่มจากนำสำลีก้านจุ่มลงในน้ำส้มสายชูและเกลี่ยให้ทั่วพื้นผิวของก้อนวัตถุ จากนั้นนำสำลีก้านชิ้นเดิมจุ่มลงในไดเมทิลไกลออกซีมและแอมโมเนียตามลำดับ หากสำลีก้าน เปลี่ยนเป็นสีชมพูแสดงว่าวัตถุดังกล่าวมีนิกเกิลเป็นองค์ประกอบสูง ซึ่งเป็นคุณสมบัติหนึ่งของอุกกาบาตทุกประเภทที่ค้นพบ การตรวจสอบอีกวิธีหนึ่ง คือ ให้ผู้ตรวจสอบเตรียมบีกเกอร์ขนาดที่เหมาะสม (เลือกบีกเกอร์ที่สามารถใส่ก้อนวัตถุตัวอย่างลงไปได้) ใส่ชิ้นส่วนอุกกาบาตลงไปจากนั้นเติมน้ำส้มสายชูให้ท่วมก้อนชิ้นส่วน วางทิ้งไว้ประมาณ 5 - 10 นาที จากนั้นเติมแอมโมเนียลงไปในสัดส่วนที่เท่ากับน้ำส้มสายชู และสุดท้ายหยดสารละลายไดเมทิลไกลออกซีมประมาณ 2 - 3 หยด หากสารละลายทั้งหมดในบีกเกอร์เปลี่ยนเป็นสีแดงออกชมพู แสดงว่าชิ้นส่วนตัวอย่างมีปริมาณนิกเกิลเป็นองค์ประกอบสูง มีความเป็นไปได้สูงมากว่าวัตถุก้อนดังกล่าวคืออุกกาบาต ดังภาพ
  3. การหาความหนาแน่นของก้อนวัตถุต้องสงสัย โดยทั่วไปอุกกาบาตเหล็กจะมีควาหนาแน่นมากกว่าดิน หิน และก้อนแร่เหล็กบนโลก หากเทียบในขนาดที่เท่ากันอุกกาบาตจะมีน้ำหนักมากกว่า ซึ่งกระบวนการหาความหนาแน่นสามารถทำเองได้ที่บ้าน โดยเตรียมบีกเกอร์ น้ำกลั่น ตาชั่งดิจิตอล และชิ้นส่วนตัวอย่างที่ต้องการทดสอบให้เรียบร้อยและทำการทดลองตามขั้นตอนดังภาพ

 

 

รับชมภาพยนต์ที่เกี่ยวข้องกับข่าว

 

 

 

ข้อมูล : NARIT , Wikipedia

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง