รีเซต

ภัยร้ายใกล้ตัว! เปิดข้อมูล 'วัณโรค-โอไมครอน' เทียบอาการคล้ายกันหลายจุด

ภัยร้ายใกล้ตัว! เปิดข้อมูล 'วัณโรค-โอไมครอน' เทียบอาการคล้ายกันหลายจุด
ข่าวสด
1 พฤษภาคม 2565 ( 16:43 )
111
ภัยร้ายใกล้ตัว! เปิดข้อมูล 'วัณโรค-โอไมครอน' เทียบอาการคล้ายกันหลายจุด

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ยังคงมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ซึ่งโอไมครอนสามารถแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็วและสามารถติดเชื้อซ้ำได้อีกครั้ง แต่หนึ่งในภัยร้ายใกล้ตัวที่หลาย ๆ คนไม่ควรมองข้าม คือ วัณโรค ภัยเงียบที่ติดเชื้อร้ายแรงอันดับสอง ซึ่งมีอาการคล้ายคลึงกับอาการของโควิด 19 วันนี้ทางทีมข่าวสดจะขอไขข้อข้องความแตกต่างระหว่างอาการโควิดและวัณโรค

 

วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) เป็นโรคติดเชื้อทางอากาศ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) ที่มักส่งผลกระทบต่อปอดมากที่สุด โดยผู้ป่วยวัณโรค 1 คน สามารถแพร่เชื้อได้ 10 คน และผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะแฝง จะยังมีเชื้อวัณโรคอยู่ในร่างกาย แต่ตัวเชื้อจะอยู่นิ่ง ไม่ทำปฏิกิริยาใด ๆ ต่อร่างกาย

 

อาการน่าสงสัยเป็นวัณโรคปอด: หากมีอาการอย่างน้อย 2 อาการขึ้นไป รีบตรวจหาวัณโรคที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน ตามรายงานของ โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา หากตรวจเจอวัณโรคเร็ว รักษาอย่างถูกวิธี รักษาด้วยยาตรงเวลา ครบกำหนด มีโอกาสหายขาดจากโรควัณโรค ได้มากกว่าร้อยละ 95 โดยอาการวัณโรค ได้แก่

  • มีไข้
  • ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์
  • มีเสมหะปนเลือด
  • เจ็บหน้าอก
  • เหงื่อออกผิดปกติตอนกลางคืน
  • น้ำหนักลด
  • เหนื่อยง่าย
  • อ่อนเพลีย
  • หนาวสั่น
  • ผิวหนังซีด เหลือง

 

โควิด เกิดจากเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่ติดต่อจากคนสู่คนผ่านละอองฝอยทางเดินหายใจ ซึ่งถูกขับขึ้นไปในอากาศเมื่อผู้ติดเชื้อจามหรือไอ หรือผ่านการสัมผัสกับสั่งคัดหลั่ง ซึ่งมีระยะฟักตัวอยู่ระหว่าง 2 -14 วัน อย่างไรก็ตาม โควิดยังไม่มียากป้องกันและยังไม่มีสูตรยามาตรฐาน

โควิดจะมีลักษณะอาการดังนี้

  • มีไข้
  • มีอาการไอ
  • เจ็บคอ
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • มีน้ำมูก
  • ปวดศีรษะ
  • สูญเสียการรับรู้รสชาติ
  • อย่างไรก็ตาม อาการโอไมครอนมีการค้นพบว่ามีอาการเหงื่อออกเยอะตอนกลางคืน อาการปวดหลัง ปวดเมื่อยตามร่างกาย และอาการท้องเสีย

 

การตรวจวินิฉัยวัณโรค ใช้วิธีตรวจเสมหะ ส่งสิ่งตรวจอื่น ๆ ขึ้นกับตำแหน่งของอวัยวะที่มีรอยโรค และและการเอ็กซ์เรย์ทรวงอก ส่วนโควิดจะใช้วิธีตรวจ PCR หรือ ATK

 

การฉีดวัคซีนวัณโรค: วัคซีนบีซีจีซึ่งการฉีดวัคซีนบีซีจีตั้งแต่แรกเกิดช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นวัณโรค แต่ไม่สามารถป้องกันวัณโรคในผู้ใหญ่ได้ โควิด 19 : อยู่ระหว่างการพัฒนาวัคซีนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการวิเคราะห์ อาการ "วัณโรคกับโควิด" เพื่อให้ประชาชนสามารถนำข้อมูลไปเปรียบเทียบและแยกอาการได้ง่ายมากขึ้น โดยอาการของทั้งวัณโรคและโควิด-19 ที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ ไอ ไข้ หายใจถี่ ความเหนื่อยล้า และเบื่ออาหาร

ภาพจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ขอบคุณที่มาจาก Emedicinehealth กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง