เอเซีย พลัสส่องหุ้นที่รับผลกระทบจากสหรัฐเก็บภาษีไทย 36%

#ทันหุ้น-ฝ่ายวิจัยบล.เอเซีย พลัส คาดว่าหุ้นที่จะได้รับผลกระทบจากประเด็น TARIFFS
(-) เป็นลบต่อ : หุ้นส่งออกถูกกดดัน DELTA, CCET, KCE, HANA, TU, ITC, COCOCO, SAPPE หุ้นอิงการลงทุน WHA, AMATA, ROJNA
(+) เป็นบวกต่อ : หุ้นได้ประโยชน์ดอกเบี้ยขาลง หุ้นปันผลสูง TIDLOR, MTC, SAWAD, KKP, TISCO, SPALI, LH, SIRI หุ้นปัจจัย 4 DEFENSIVE BDMS, BH, BCH
ฝ่ายวิจัยเอเซีย พลัส ระบุว่า สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีตอบโต้ไทย 36% ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. ถือเป็นปัจจัยเข้ามากดดันซ้ำเติมเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่อ่อนแรงอยู่แล้ว อาจแรงหนักกว่าเดิมในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการลงทุน (I) และการค้าระหว่างประเทศ (NX)
หากสถานการณ์เลขร้ายมากกว่าเดิม อาจเห็นสำนักเศรษฐกิจต่างๆ ทยอยปรับลดคาดการณ์ GDP GROWTH ของไทยในระยะถัดไปได้ อย่างไรก็ตาม ยังคาดหวังว่าจะเห็นนโยบายการเงินและการคลังจะเข้ามาช่วยลดผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้น ผ่านการปรับลดดอกเบี้ย อีกราว 1-2 ครั้ง รวมถึงหวังพึ่งการใช้จ่ายภาครัฐฯ เพิ่มสูงขึ้น
ในมุมตลาดหุ้นกำไรบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มทิอิงกับการส่งออกไปสหรัฐ 4 กลุ่ม หลัก AGRI, FOOD, PETRO, ETRON มีสัดส่วน 3.3% ของ MARKETCAP,3.1% ของรายได้ และ 1.1% ของกำไร (ด้วยสมมุติฐานส่งออกไปสหรัฐประมาณ 18% ของรายได้) ดังนั้น DOWNSIDE ต่อตลาดฯ ในเชิงตัวเลขสำหรับประเด็นนี้กดดัน SET INDEX ให้ลดลงได้ราว -3% สำหรับประเด็นการส่งออกไปสหรัฐหดหายไปจาก 4 กลุ่มนี้
กลยุทธ์การลงทุนแนะหลบเข้าหุ้นดอกเบี้ยขาลง และหุ้นอิงปัจจัย 4 ได้แก่หุ้น MTC, SAWAD, TISCO, SPALI, SIRI, BDMS, BH, BCH
เมื่อวานนี้ สหรัฐส่งจดหมายไปยังหลายประเทศถึงอัตราภาษีการค้าที่จะมีผลตั้งแต่ 1 ส.ค.68 ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ได้อัตราภาษีใกล้เคียงช่วงประกาศภาษีการค้าตอบโต้ และภาษีที่ประกาศอยู่ในระดับ 25-40% สูงกว่าเวียดนามที่ 20%โดยอัตราภาษีของประเทศต่างๆที่ประกาศมาเบื้องต้น 14 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น (25%), เกาหลีใต้ (25%), มาเลเซีย(25%), คาซัคสถาน (25%), แอฟริกาใต้ (30%), ลาว (40%), พม่า (40%), ตูนิเซีย (25%), บอสเนีย (30%), อินโดนีเซีย(32%), บังกลาเทศ (35%), เซอร์เบีย (35%), กัมพูชา (36%), ไทย (36%) แต่หากรวมภาษีจากกลุ่ม BRICS ที่จะโดนเพิ่ม 10% ทำให้ไทยเคราะห์ร้ายถูกเก็บแพงกว่าประเทศอื่นๆ ดังรูปด้านล่าง
ซึ่งวัตถุประสงค์หลักเชื่อว่าสหรัฐฯ ต้องการกดดันให้ประเทศต่างๆ ผ่อนคลายเพิ่มเติมต่อการนำเข้าสินค้าสหรัฐฯรวมถึงไทยที่อาจถูกกดดันให้นำเข้าสินค้าต่างๆเพิ่มขึ้น ซึ่งที่ไทยเสนอให้สหรัฐฯ คือ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม,พลังงาน, เครื่องบิน BOEING และอาจต้องให้อัตราภาษีนำเข้ากับสินค้าสหรัฐฯ 0% ในหลายรายการ
ดังนั้นด้วยความเสี่ยงของ TRADE TARIFF สหรัฐฯกับประเทศต่างๆ ที่อยู่ในช่วงการเจรจาก่อนถึงวันมีผลบังคับใช้ จะเพิ่มระดับความกังวลต่อโอกาสเกิดเศรษฐกิจถดถอยอีก 1 ปีข้างหน้า ในหลายประเทศ นำโดยสหรัฐฯ อยูที่ 40% (เดิม20%), ญี่ปุ่นอยู่ที่ 35% (เดิม 30%) รวมถึงไทยอยูที่ 30% (เดิม 10%) ซึ่งมาจากปัญหาเงินเฟ้อ ที่มีโอกาสเร่งตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังปี 2568 ในหลายประเทศ
Tag
ยอดนิยมในตอนนี้
