รีเซต

พม่า กับ เมียนมา ประเทศเดียวมีสองชื่อ สื่อถึงการเมืองด้วย

พม่า กับ เมียนมา ประเทศเดียวมีสองชื่อ สื่อถึงการเมืองด้วย
ข่าวสด
5 กุมภาพันธ์ 2564 ( 09:01 )
184

พม่า กับ เมียนมา - เอพี รายงานว่า คำแถลงของ ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ที่เรียก เมียนมา ว่า "พม่า" หรือภาษาอังกฤษ ว่า Burma - เบอร์มา ต่อกรณีจะทบทวนมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจเพื่อตอบโต้การรัฐประหาร เป็นเจตนาที่ต้องการตอกย้ำว่า จะไม่ญาติดีแก่กองทัพเมียนมา

 

อ่านข่าว : เปิดแถลงไบเดนขู่คว่ำบาตร! แซะเรียกเบอร์มาแทนเมียนมา จี้กองทัพคืนอำนาจ

 

ก่อนหน้านี้ “พม่า” เป็นคำเรียกชื่อประเทศที่ใช้กันมานานหลายชั่วอายุคนโดยตั้งชื่อตามกลุ่มชาติพันธุ์ “เบอร์มา” ซึ่งมีความโดดเด่นที่สุด

 

แฟ้มภาพ นางซู จี และ นายพล มิน อ่อง ไหล่ เมื่อปี 2559 FILE - In this May 6, 2016, file photo, Aung San Suu Kyi, left, Myanmar's then foreign minister, walks with Senior Gen. Min Aung Hlaing, right, Myanmar military's commander-in-chief, in Naypyitaw, Myanmar. (AP Photo/Aung Shine Oo, File)

 

แต่ชื่อ "เมียนมา" มาจากกองทัพ ที่ต้องการเปลี่ยนชื่อประเทศ เมื่อปี 2532 หลังการปราบปรามประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยอย่างนองเลือดเมื่อปี 2531 ทำให้ “พม่า” กลายเป็นที่รังเกียจจากนานาชาติ ยากที่จะกู้ภาพลักษณ์คืน

ด้วยความหวังลมๆ แล้งๆ ให้นานาชาติยอมรับ พม่าจึงทิ้งชื่อเก่าที่ใช้มาตั้งแต่สมัยเป็นอาณานิคมซึ่งเจ้าหน้าที่ทางการเห็นว่าชื่อเก่า ไม่ครอบคลุมถึงกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ในประเทศ

 

เหตุปราบปรามประชาชน ปี 2531 / DW

 

ส่วนในประเทศ การเปลี่ยนชื่อไม่มีความหมายอะไรมากนัก ในภาษาพม่า คำว่า “เมียนมา” เป็นคำที่เป็นทางการมากกว่าคำว่า “พม่า” เท่านั้นเอง แต่เปลี่ยนชื่อประเทศที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษมาใช้ “เมียนมา” ซึ่งเป็นตามหลักภาษาศาสตร์ แต่บางคนก็ไม่ยอมใช้ชื่อใหม่ตามที่กองทัพตั้งขึ้น

 

Myanmar nationals living in Thailand hold lit candle, during a protest in front of the Myanmar Embassy in Bangkok, Thailand, Thursday, Feb. 4, 2021. (AP Photo/Sakchai Lalit)

 

สิบกว่าปีมานี้ พม่าเริ่มเปลี่ยนผ่านมาเป็นบอบ “กึ่งประชาธิปไตย” เพราะกองทัพยังคงกุมอำนาจทางการเมือง แต่ผู้นำฝ่ายค้านหลายคนได้รับการปล่อยตัวจากคุกและปล่อยให้เป็นอิสระจากการกักบริเวณภายในบ้าน รวมทั้ง จัดการเลือกตั้งซึ่งเปิดโอกาสให้นางออง ซาน ซู จี นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยได้ขึ้นมาเป็นผู้นำรัฐบาลพลเรือน

ไม่กี่ปีมานี้ หลายประเทศและสำนักข่าวบางแห่ง รวมทั้ง เอพี จึงเริ่มใช้ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของประเทศและ “เมียนมา” กลายเป็นชื่อเรียกสามัญมากขึ้น แต่รัฐบาลสหรัฐ ยังเรียกว่า “พม่า” สลับกับเมียนมา

 

Supporters of Myanmar military wave Myanmar national flags and pictures of Myanmar military Commander-in-Chief Senior Gen. Min Aung Hlaing during a rally supporting military coup in Naypyitaw, Myanmar, Thursday, Feb. 4, 2021. Suu Kyi. (AP Photo)

 

เมื่อปี 2555 นายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในขณะนั้นเยือนเมียนมา และใช้คำเรียกทั้ง พม่า และ เมียนมา เนื่องจากที่ปรึกษาคนหนึ่งของประธานธิบดีแนะว่าเป็น “บวกมากๆ” และเป็น “การรับรู้รัฐบาลเมียนมา”

แต่หลังจากเกิดการรัฐประหารในเมียนมา ทั้งนายแอนโธนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เลี่ยงที่จะเอ่ยชื่อประเทศตามกฎหมาย

 

/////////////

ข่าวที่เกี่ยวข้อง